กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกวุฒิสภา
คำสำคัญ:
กระบวนการ, การเข้าสู่ตำแหน่ง, ที่มาสมาชิกวุฒิสภาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดของระบบรัฐสภาในฐานะองค์กร ฝ่ายนิติบัญญัติภายใต้หลักประชาธิปไตย และหลักอำนาจอธิปไตย รวมทั้งบทบัญญัติรัฐธรรมนูญไทย และต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งของวุฒิสภา ซึ่งเป็นสถาบันที่มีความสำคัญต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบของสภาคู่
เมื่อทำการศึกษาจึงพบว่า ระบบรัฐสภาของไทยได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จากการบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้สมาชิกวุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง ทำให้ความชอบธรรมของวุฒิสภามีความชัดเจนในที่มาของอำนาจในฐานะที่เป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย รัฐธรรมนูญของไทยที่ผ่านมามีการบัญญัติเกี่ยวกับการเข้าสู่ตำแหน่งของวุฒิสภาในหลายรูปแบบ แตกต่างกัน บางฉบับบัญญัติให้มาจากการเลือกตั้ง หรือบางฉบับบัญญัติให้มาจากการแต่งตั้ง รวมทั้งบางฉบับบัญญัติให้มาจากการเลือกตั้งและสรรหา
ดังนั้น ผู้วิจัยเห็นว่า การดำรงอยู่ของสถาบันวุฒิสภายังคงมีความสำคัญต่อระบอบการเมืองการปกครองของไทย และควรให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติรัฐธรรมนูญให้อำนาจของวุฒิสภา โดยพิจารณาถึงกระบวนการที่มาของการเข้าสู่ตำแหน่งให้มีความสัมพันธ์กับอำนาจหน้าที่ ซึ่งจะทำให้สามารถอธิบายความเชื่อมโยงกับอำนาจอธิปไตยของประชาชนภายใต้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง
References
ฌอง ฌากส์ รุสโซ.สัญญาประชาคมหลักแห่งสิทธิทางการเมือง. วิภาดา กิตติโกวิท แปลและเรียบเรียง. กรุงเทพมหานคร: ทับหนังสือ, 2550.
เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์. การปกครองสหรัฐอเมริกา. พระนคร: โรงพิมพ์สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2512.
บรรเจิด สิงคะเนติ. หลักการพื้นฐานของสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน, 2543.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. ระบบการควบคุมฝ่ายปกครองในประเทศอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2537.
พิชัย อิสรภักดี. ระบบการเมืองเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร: สรเมืองการพิมพ์, 2528.
มนตรี รูปสุวรรณ. กฎหมายรัฐสภา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2535.
วิทยา นภาศิริกลกิจ. ระบบการเมืองอังกฤษ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2515.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. กฎหมายรัฐธรรมนูญ 2548. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมชาย ภาคภาสน์วิวัฒน์และรุ่งพงษ์ ชัยนาม. การเมืองการปกครองของฝรั่งเศส. กรุงเทพมหานคร: (ม.ป.ท.). (ม.ป.ป.)
สมบูรณ์ สุขสำราญ. การเมืองการปกครองสหราชอาณาจักร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
สุรินทร์ สุทธิธรรมดำรง. วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา. วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัญฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
หยุด แสงอุทัย. คำบรรยายกฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, พ.ศ. 2515.
อมร จันทรสมบูรณ์. การปฏิรูปการเมือง คอนสติติวชั่นแนลลิสม์ ทางออกของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง จำกัด, 2539.
อมร รักษาสัตย์. รัฐธรรมนูญฉบับประชาชนพร้อมบทวิจารณ์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พ.ศ. 2543.
ปัทมา สูบกำปัง. “บทบาทของวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543.
สุรินทร์ สุทธิธรรมดำรง. “วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา.” วิทยานิพนธ์นิติ ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536.
Bill Coxall and Lynton Robins. Contemporary British Politics.
C. Herman Pritchett .The American Constitutional System. New York: Mcgraw-Hill, Inc., 1976.
Christoph Degenhart. Staatsrecht I. 9 Aufl.
George S. Blair. American Legislatures Structure and Process. New York, Harper & Row. 1967.
Kishimoto Kaichi. Polities in Modern Japan. Tokyo: Japan Echo Inc., 1982.
Paul Silk and Rhodri Walters. How Parliament Works.
Pieroth/Schlink. Grundrechte-Staatsrecht.II . 9 Aufl.
Pritchett. The American Constitutional System.
Raymond M.Lachr and J William Thers. Conrgess: Power and Purpose on Capital. Californai, Allyn and Bacon, 1967.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น