บทวิเคราะห์แนวคิดพหุนิยมกฎหมายของเมอรี่ มุมมองจากรากฐานทางพุทธศาสนากับสังคมวิทยาของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม (เพ็งที) นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

พหุนิยมกฎหมาย, พระพุทธศาสนากับกฎหมาย, สังคมวิทยากฎหมาย

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ เป็นเรื่องพหุนิยมทางกฎหมายของเมอรี่ได้นำเสนอที่มาของพัฒนาการทางกฎหมายกับความสัมพันธ์ทางสังคม หรือความหลากหลายของกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการบัญญัติกฎหมายของรัฐควรมีหลักการอย่างไร และแนวคิดพหุนิยม       ทางกฎหมาย โดยแบ่งเป็น 2 ยุค คือ 1) ยุคเก่า ยุคคลาสิค ยุคสมัยใหม่ และยุคปัจจุบัน 2) ยุคกฎหมายพื้นเมือง กฎหมายที่รัฐบัญญัติ และกฎหมายของนักกฎหมาย

ทั้งนี้ เมอรี่ให้ความเห็นว่ากฎหมายควรยึดตามวัฒนธรรม รากเหง้าของสังคม กฎหมายควรพัฒนามาจากศีลธรรม จารีต และประเพณีของสังคม ซึ่งได้สอดคล้องกับสังคมวิทยาของประเทศไทยที่ได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา เพราะระบบกฎหมายไทยตั้งแต่กรุงสุโขทัยถึงยุคก่อนปฏิรูปกฎหมายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 กฎหมายกับธรรมะเป็นอย่างเดียวกัน และในปัจจุบันได้นำแนวคิดทางพระพุทธศาสนามาบัญญัติเป็นกฎหมาย เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461, มาตรา 1563, มาตรา 1562 เป็นต้น หรือในหลักการของศีล 5 ที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ในหลักกฎหมายอาญา

 ดังนั้น พหุนิยมทางกฎหมายของเมอรรี่ จึงมีเจตนารมณ์ให้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ ใช้กลไกทางกฎหมายเป็นตัววางโครงสร้างของสังคมเพื่อพัฒนาประเทศ ซึ่งกฎหมายนั้นจะต้องมีความสอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยาของแต่ละสังคม และรากเหง้าทางศีลธรรม วัฒนธรรม จารีตประเพณี ซึ่งวิถีของสังคมไทยล้วนได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา หากนำแนวคิดพระพุทธศาสนาเรื่อง ทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส มาเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายย่อมเป็นกฎหมายที่มีความสอดคล้องกับสภาพสังคมวิทยาของไทย จะส่งผลให้เป็นกฎหมายที่พัฒนาประเทศทางด้านวัตถุ  และจิตใจควบคู่กันไปด้วย

References

กิตติศักดิ์ ปรกติ. การปฏิรูประบบกฎหมายไทยภายใต้อิทธิพลยุโรป. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหา นคร: วิญญูชน, 2553.

คำบรรยายรายชั่วโมงวิชานิติปรัชญา มหาวิทยาลัยรามคำแหง ครั้งที่ 2-4 ปีการศึกษา 2/2554. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์แนะแนวกฎหมายนิติสาส์น (ลุงชาวใต้), 2554.

จรัญ โฆษณานันท์. ปรัชญากฎหมายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2550.

ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา, 2552.

ประชา หุตานุวัตร. พุทธศาสนากับความยุติธรรมทางสังคม และสังคมที่พึ่งปรารถนา ในทัศนะของชาวพุทธ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง, 2533.

ปิยนาถ บุนนาค. ประวัติศาสตร์ไทยสมัยใหม่ (ตั้งแต่การทำสนธิสัญญาบาวริง ถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516). พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546.

พระพรหมคุณาภรณ์. นิติศาสตร์แนวพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2555.

พระพรหมคุณาภรณ์. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. ค้นวันที่ 2 ตุลาคม 2559 จาก http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=161.

พระไตรปิฎกฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ราชบุรีดิเรกฤทธิ์. พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวง. เล็คเชอร์. กรุงเทพมหานคร: โสภณพิพรรฒธนาการ, 2468.

วีรวัลย์ งามสันติกุล และวินัย พงศ์ศรีเพียร. นิติปรัชญาไทย ประกาศพระราชปรารภ พระธรรมสารทและ On the Laws of Mu’ung Thai or Siam. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

แสวงบุญ เฉลิมวิภาส. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2554.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุลและกรรณิกา จรรย์แสง. ร. แลงกาต์ กับไทยศึกษา : รวมบทความแปล และบทความศึกษาผลงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ : ศูนย์ข้อมูลเพื่อการค้นคว้าวิจัยฝรั่งเศส-ไทยศึกษา, 2548.

สมยศ เชื้อไทย. นิติปรัชญาเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2554.

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. ปาฐกถาพิเศษ ใน การสัมมนาร่วมระหว่างไทยและญี่ปุ่น เรื่องกฎหมายเศรษฐกิจกับการพัฒนา. โรงแรมรีเจนท์ กรุงเทพมหานคร: 2 – 3 ธันวาคม, 2542.

Sally Engle Merry, “Legal Pluralism” Law and Society Review Vol. 22, No. 5 (1988). P. 869 - 896.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2020