ปัญหาทางกฎหมายในการบังคับใช้ตามพระราชบัญญัติสถานบริการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
คำสำคัญ:
กิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ, กิจการนวดและสปา, กฎหมายที่เกี่ยวกับสถานบริการเพื่อสุขภาพบทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับสถานบริการเพื่อสุขภาพ เนื่องจากกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพเป็นกิจการด้านบริการที่สร้างงานและสร้างรายได้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก เป็นกิจการที่ได้รับความเชื่อมั่นจากผู้รับบริการทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมายาวนาน ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติสถานบริการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 เป็นกฎหมายหลักที่ใช้ในการกำกับดูแลเป็นการเฉพาะ
เมื่อทำการศึกษาจึงพบว่า ผู้ประกอบกิจการโดยเฉพาะกิจการนวดและสปา ยังขาดความเข้าใจในตัวกฎหมายบางข้อ ซึ่งในบท ความนี้มีทั้งผลที่ได้จากการสำรวจ ถึงความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการที่มีต่อกฎหมายฉบับดังกล่าว และวิเคราะห์ถึง การนำกฎหมายมาใช้ในทางปฏิบัติ มีการนำกฎหมายต่างประเทศมาเปรียบเทียบ เพื่อนำความรู้ที่ได้มาทบทวนกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่
ผู้ศึกษาเห็นว่า ยังมีความบกพร่องในคำนิยาม และกิจการบางประเภทที่กฎหมายยังไม่ครอบคลุม จึงควรแก้ไขคำนิยามตามพระราชบัญญัติสถานบริการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559
References
ผศ.ดร.นพ.กฤษณ์ พรพิรุณ, “งานประชุมวิชาการ Spa Manager Symposium จัดโดยศูนย์บริการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,” ห้องประชุมปรีดีพนมยงค์ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, วันที่ 16 พฤษภาคม 2562.
พระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509
Health Spa Act 1999 Section 702. 003 (2), (3), (4), (5), (6).
Health Spa Act 1999 Section 702. 101, 102, 103, 104, 106.
United Kingdom Spa Association (UKSA), https://www.spa-uk.org/about-us/our-mission (accessed April 18, 2020).
บุคลานุกรม
นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์. สัมภาษณ์โดย พินิจ ทิพย์มณี. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 26 พฤศจิกายน 2562.
นายสาโรจน์ ยอดประดิษฐ์. นายภัทระ แจ้งศิริเจริญ สัมภาษณ์โดย พินิจ ทิพย์มณี. ห้องประชุม 3/3 อาคารสำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 30 ตุลาคม 2562.
นายสาโรจน์ ยอดประดิษฐ์. สัมภาษณ์โดยพินิจ ทิพย์มณี. ห้องประชุม 3/3 อาคารสำนักอธิการบดี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. 30 ตุลาคม 2562.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร ทั้งนี้ ข้อมูล เนื้อหา และข้อคิดเห็นที่ปรากฏในบทความเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว กองบรรณาธิการไม่มีความจำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
เนื้อหา ข้อมูล รูปภาพ และองค์ประกอบอื่น ๆ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารฯ อยู่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น การนำไปเผยแพร่ ดัดแปลง หรือใช้ประโยชน์ในลักษณะใด ๆ ไม่ว่าเป็นบางส่วนหรือทั้งหมด ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารก่อน