ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ขรรค์เพชร ชายทวีป คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

วินัยไม่ร้ายแรง, การลงโทษ, ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา, ไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ ได้ศึกษาถึงปัญหาของบทบัญญัติว่าด้วยวินัยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาซึ่งเป็นกระบวนการทางนิติธรรม (judicial due process) ที่เป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่จึงต้องบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ประกาศให้ทราบถึงการอันพึงปฏิบัติหรือห้ามมิให้ปฏิบัติ และกำหนดโทษของการฝ่าฝืน ทั้งกำหนดวิธีการดำเนินการทางวินัย เพื่อลงโทษผู้กระทำผิดเอาไว้ 

เมื่อทำการศึกษาถึงวินัยของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาตามพระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2547 ที่บังคับใช้กับข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย พบว่า บทบัญญัติมาตรา 38 มาตรา 39 วรรคแรก วรรคสอง และวรรคสี่ มาตรา 40 วรรคแรก มาตรา 41 วรรคแรก มาตรา 43 และมาตรา 44 วรรคแรก ได้บัญญัติถึงการอันพึงปฏิบัติและการอันห้ามมิให้ปฏิบัติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนเหตุของกฎหมาย แต่ไม่ได้บัญญัติส่วนของผลทางกฎหมายเอาไว้ ต่างจากบทบัญญัติว่าด้วยวินัยในมาตราอื่น และในกฎหมายเกี่ยวกับวินัยของข้าราชการประเภทอื่น บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่สอดคล้องกับระบบคุณธรรม และไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ ซึ่งเป็นหลักกฎหมายมหาชนที่พัฒนาขึ้น เพื่อมุ่งจำกัดอำนาจของผู้ปกครองให้อยู่ภายใต้กฎหมาย หากลงโทษผู้ฝ่าฝืน คำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าวย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากขัดกับหลักไม่มีกฎหมายไม่มีอำนาจ

ดังนั้น เพื่อให้บทบัญญัติดังกล่าวสอดคล้องกับหลักนิติธรรมและหลักนิติรัฐ จึงเสนอให้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าว ด้วยการเพิ่มข้อความส่วนที่เป็นผลทางกฎหมายไว้ในมาตราดังกล่าว หรือเพิ่มเป็นมาตราใหม่ให้ครอบคลุมบทบัญญัติในหมวดนั้นทั้งหมวด

References

คณะอนุกรรมการวิชาการและคณะอนุกรรมการบรรณาธิการในคณะกรรมการว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ, “หลักนิติธรรม”, กรุงเทพฯ: บริษัทพีเอสพริ้นติ้งดีไซน์ จำกัด, 2558.
ประวีณ ณ นคร, “หน่วยที่ 10 วินัยและคุณธรรมของข้าราชการ : เอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารงานบุคคลภาครัฐ”, นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2543.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม”, ในจุลนิติ, หน้า 50 , [Online}, Available URL: http://web.senate.go.th/lawdatacenter/includes/FCKeditor/upload/Image/b/b142%20jul_91.pdf
วรเจตน์ ภาคีรัตน์, “กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป”, กรุงเทพ: สำนักพิมพ์นิติราษฎร์, 2554.
สมยศ เชื้อไทย, “คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป”, พิมพ์ครั้งที่ 25, กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2562.
L. L. Fuller, “The Morality of Law”, Revised Edition, New Haven: Yale University Press, 1969.
K. Doehring, “Allgemeine Staaslehre”, Heideberg:Mueller, 2004.
Leon C. Megginson, “Personnel and Human Resources Administration”, 3rd edition, Homewood, III : Richard D. Irwin, 1977.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2020