มาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นมลพิษ

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

ละเมิด, การเยียวยา, ฝุ่นมลพิษ, การละเมิดทางสิ่งแวดล้อม, PM2.5

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาเรื่องมาตรการทางกฎหมายในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นมลพิษ ซึ่งรวมถึงฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) สำหรับประเทศไทย เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า สิทธิในสิ่งแวดล้อมที่ดีและสิทธิ    ในอากาศที่สะอาด นับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ดังนั้น เมื่อเกิดการกระทำกิจการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ผู้เสียหายและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นมลพิษ จึงมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา อันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน   จากการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อเป็นการอำนวยความยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากฝุ่นมลพิษอย่างเป็นรูปธรรม

ผู้วิจัยได้ศึกษาจึงพบว่า ความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมมีความแตกต่างจากความเสียหายในคดีละเมิดทั่วไป การเยียวยาการละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นการเยียวยาสิทธิของบุคคลทั่วไป จึงไม่สามารถที่จะนำมาชดเชยให้แก่ผู้เสียหายในคดีละเมิดต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสม

ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ รัฐควรตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดต่อสิ่งแวดล้อมโดยตรง เพื่อให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาความเสียหายอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม และควรส่งเสริมให้มีการตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานรัฐโดยเอกชน ด้วยการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีสิทธิฟ้องร้องหน่วยงานของรัฐที่ละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยไม่จำต้องมีความเสียหายโดยตรง รวมถึง ควรส่งเสริมให้มีมาตรการทางแพ่ง มาตรการทางปกครอง และมาตรการการเยียวยาโดยรัฐตามหลักความรับผิด โดยปราศจากความผิด หากมีความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อมหาชน

References

คดีหมายเลขแดงที่ ส.9/2562.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15876/2556.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8309/2548.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861/2540.

ธนวัชร กิติโกมลสุข. “การกำหนดค่าเสียหายเชิงลงโทษในกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม.” วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.

ธนันธร มหาพรประจักษ์. “ส่องมาตรการจัดการปัญหามลพิษของต่างประเทศ.” https://www.thairath.co.th/business/economics/1998193 (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563).

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535

พิพากษ์ เกียรติกมเลศ. “ปัญหาอำนาจฟ้องและเขตอำนาจศาลคดีสิ่งแวดล้อมของศาลยุติธรรมและศาลปกครอง.” วารสารมหาจุฬานาครทรรศ์ 5, ฉ.3 (2561): 573-577.

ไพจิตร ปุญญพันธุ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะละเมิด. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ, 2558.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

วินัย เรืองศรี. “ลักษณะและขอบเขตคดีสิ่งแวดล้อมในศาลยุติธรรม.”

http://division.dwr.go.th/bmpc/wpcontent/uploads/2018/07 (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563).

ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธุ์. คำอธิบายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่งและลาภมิควรได้ พร้อมคำอธิบายในส่วนของพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 และกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2553.

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ และคณะ. “การวิเคราะห์กฎหมายด้วยวิธีทางเศรษฐศาสตร์ : การคิดค่าเสียหายในคดีละเมิด ภายใต้โครงการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์กฎหมายด้วยวิธีทางเศรษฐศาสตร์.” https://tdri.or.th/2012/09/i27 (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563).

อภิรัฐ ดีทองอ่อน. “มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมมลพิษทางอากาศอันเกิดจากการเผาในที่โล่งในภาคเกษตรกรรม.” วารสารบัณฑิตศึกษานิติศาสตร์ 11, ฉ.2 (2561): 494.

อรุบล โชติพงศ์. “ปัญหามลพิษทางอากาศในประเทศจีน.” วารสารสิ่งแวดล้อม 22, ฉ.1 (2561): 54-63.

อุดมศักดิ์ สินธิพงษ์. “รัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม.”

https://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_10/pdf/aw13.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563).

Atkinson N.. “Strict Liability for Environmental Law: The Deficiencies of the Common Law.”

http://www.jstor.org/stable/44247918 (accessed September 15, 2020).

Bentata Pierre, and Faure Michael G. “The Role of Environmental Civil Liability: An Economic Analysis of the French Legal System.” (October 2, 2013). Environ mental Liability, Law, Policy and Practice, vol. 20 (4), 2012, 120-128.

Eyenga. Georges Renaud. “Human Rights and Environmental Justice: Everlas ting Struggle.”

https://papers.ssrn.com/sol3/papers.cfm?abstract_id=3352265 (accessed March 14, 2019).

Faure Michael G, and Jing Liu. “Compensation for Environmental Damage in China: Theory and Practice.”

https://ssrn.com/abstract=2510741 (accessed September 10, 2020).

Ferrey Steven. “Allocation and Uncertainty in the Age of Superfund: A Critique of the Redistribution of CERCLA Liability.” https://ssrn.com/abstract=3659658 (accessed September 20, 2020).

Greenbaum R., and Peterson. “The Clean air act amendments of 1990: citlIzen suits and how they work.” http://www.jstor.org/stable/44164339 (accessed October 15, 2020).

John C., and Anjier, v.. “Baber: Absolute Liability for Environmental Hazards.”

https://digitalcommons.law.lsu.edu/lalrev/vol49/iss5/7 (accessed October 15, 2020).

Livermore, Michael A; & Revesz, Richard L.. “Environmental Law and Economics.” (The Oxford Handbook of Law and Economics: Volume 2: Private and Commercial Law, 2014).

Michael G. Faure. “Economic Analysis of environmental Law.” https://doi.org/10.4000/economiepublique.1592 (accessed October 15, 2020).

Munir Muhammad. History and Evolution of the Polluter Pays Principle: How an Economic Idea Became a Legal Principle?, (International Islamic University, Islamabad - Department of Law, 2013).

Puncreobutr Vichian, Waiyakarn Somjate, Dhamacharoen Ampon,and Singh Hemant Kumar. “The Cause Source and Preventive Ways of PM2.5 Dust in Bangkok, Thailand.” http://dx.doi.org/10.2139/ssrn.3329098 (accessed October 15, 2020).

United Nations. “Transforming our World: The 2030 Agenda for Sustainable Development.”

https://sdgs.un.org/2030agenda (accessed October 21, 2015).

Yang Tseming. “Environmental Regulation, Tort Law, and Environmental Justice: What Could Have Been.” Wash burn Law Journal 41, No. 3, (2013).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06/29/2021