มาตรการส่งเสริมการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่เกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อการจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
คำสำคัญ:
มาตรการ, การป้องกันอาชญากรรม, เกาะเต่า, การจัดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการส่งเสริม การป้องกันอาชญากรรม เพื่อหาแนวทางและเสนอแนะการส่งเสริมการป้องกันอาชญากรรมในพื้นที่เกาะเต่า เพื่อการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน เนื่องจากเกาะเต่ามีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก จนทำให้เกิดปัญหาความปลอดภัย ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว จากปัญหาดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงมาตรการในการป้องกันอาชญากรรมที่ขาดประสิทธิภาพ
ผู้วิจัยได้ศึกษาพบว่า ด้านสภาพแวดล้อมยังเป็นพื้นที่สูงชันและป่าทึบทำให้เป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอาชญากรรม การมีส่วนร่วมของประชาชนยังขาดความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม ตลอดจนการสอดส่องดูแลยังไม่ทั่วถึง การป้องกันการกระทำผิดซ้ำที่ยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และขาดกระบวนการตรวจสอบ การลดโอกาสในการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรมยังขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และการบังคับใช้กฎหมาย การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสกระทำผิดยังขาดการออกตรวจพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ และมีบุคลากรไม่เพียงพอ ส่วนการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากร คือ ควรเพิ่มทักษะและกำลังเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงาน ตลอดจนการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการป้องกันอาชญากรรมร่วมกัน
ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุง คือ ต้องประชาสัมพันธ์และให้ความรู้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวให้รู้จักวิธีการป้องกันตนเอง เทศบาลตำบลเกาะเต่าต้องร่วมมือกับหน่วยงานในภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนในการปรับปรุงพื้นที่และสภาพแวดล้อม สถานีตำรวจภูธรเกาะเต่า ควรมีการเพิ่มกำลังพลให้เหมาะสมกับพื้นที่และมีการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำกรอบแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมบรรจุในแผนยุทธศาสตร์
References
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, “สถิตินักท่องเที่ยวภายในประเทศ (จำแนกตามภูมิภาคและจังหวัด),” https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=438&filename=index. (สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2561).
สำนักงานสถิติจังหวัดสุราษฎร์ธานี, “วิเคราะห์และสรุปสถานการณ์จากชุดข้อมูลกลางของจังหวัดสุราษฎร์ธานี,” http://surat.nso.go.th/images/attachments/article/266/Report_Travel60.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561).
สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา,
“โครงการศึกษาความเหมาะสมในการประกาศเขตการพัฒนาการท่องเที่ยวและการรับฟังความคิดเห็นในการกำหนดเขตพัฒนาการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานครและหมู่เกาะทะเลใต้ (เกาะสมุย เกาะพะงันและเกาะเต่า),”
https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/policy/article_attach/03ExecutiveSummaryProjectProprietyTourismAreaBkkAndGroupOfIslands2559.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2561).
Envirosell Thailand, “เอ็นไวโรเซล บริษัทวิจัยยักษ์ใหญ่ของโลก เผยผลสำรวจ กรณีคดีเกาะเต่า ยันเมืองไทยยังน่าเที่ยว แต่ติดลบเรื่องภาพลักษณ์คนไทย,” https://www.brandbuffet.in.th/2014/10/envirosell-survey-koh-tao/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561).
สถานีตำรวจภูธรเกาะเต่า, สถิติคดีอาญาของสถานีตำรวจภูธรเกาะเต่าในปีงบประมาณ 2558-2559, (สุราษฎร์ธานี: สถานีตำรวจภูธรเกาะเต่า, 2558), 1.
เทศบาลตำบลเกาะเต่า, “ประวัติความเป็นมา,” http://www.kohtao.go.th/history.php, (สืบค้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2561).
สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะเต่า, แผนพัฒนาการท่องเที่ยวเทศบาลตำบลเกาะเต่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 (พ.ศ.2560-2562). (สุราษฎร์ธานี: สำนักงานเทศบาลตำบลเกาะเต่า, 2560), 4.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น