วิเคราะห์การใช้สิทธิประกันสังคมกรณีรักษาพยาบาลระหว่างประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้หลักปฏิบัติทางกฎหมาย
คำสำคัญ:
การใช้สิทธิประกันสังคม, เคลื่อนย้ายแรงงาน, รักษาพยาบาล, อาเซียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงสิทธิประกันสังคมที่เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานตามหลักสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ โดยมุ่งศึกษาสิทธิประกันสังคมของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิในการรักษาพยาบาล ตามกฎหมายของสมาชิกประเทศสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปรียบเทียบกับประชาคมยุโรป สหภาพยุโรป ราชอาณาจักรนอร์เวย์ และสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยศึกษาสิทธิประกันสังคม การใช้สิทธิ การจัดเก็บเงินสมทบ และการเรียกประโยชน์ทดแทน คืนจากประเทศที่ใช้สิทธิ และนำมาเป็นต้นแบบ เพื่อพัฒนาให้ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีข้อตกลง ความร่วมมือ หรือสนธิสัญญา เกี่ยวกับการใช้สิทธิประกันสังคมระหว่างประเทศสมาชิกในกรณีรักษาพยาบาล
เมื่อศึกษาจึงพบว่า ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ไม่อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวใช้สิทธิประกันสังคม กรณีรักษาพยาบาลในประเทศสมาชิกที่แรงงานมีฝีมือหรือมีวิชาชีพเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงาน แม้ว่าสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จนมีการออกความร่วมมือว่าด้วยการค้าบริการและข้อตกลงยอมรับร่วมในเรื่องคุณสมบัติของนักวิชาชีพอาเซียน (Mutual Recognition Arrangement) แต่ไม่มีการตรากฎหมายเพื่อรองรับการใช้สิทธิประกันสังคม กรณีรักษาพยาบาลของแรงงานมีฝีมือหรือมีวิชาชีพที่เคลื่อนย้ายไปทำงาน
ดังนั้น เพื่อคุ้มครองสิทธิของแรงงานต่างด้าวที่เคลื่อนย้ายไปทำงานยังประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศสมาชิกที่มีความพร้อมรับแรงงานที่เคลื่อนย้ายไปทำงานและมีความพร้อมให้แรงงานต่างด้าวใช้สิทธิประกันสังคมกรณีรักษาพยาบาลได้ ควรจัดทำข้อตกลง ความร่วมมือ หรือสนธิสัญญา โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะต้นจัดทำข้อตกลง ความร่วมมือ สนธิสัญญาแบบทวิภาคี ระยะปลายจัดทำความตกลงกลาง เพื่อบังคับใช้กับประเทศสมาชิกทุกประเทศ
References
กฎบัตรสมาคมแห่งประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้, ข้อ 21.
กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคมแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, มาตรา 9.
ข้อบังคับเลขที่ 883/2004 (REGULATION (EC) No.883/2004 OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL of 29 April 2004)
ข้อบังคับเลขที่ 987/2009 เพื่อบังคับใช้ข้อบังคับเลขที่ 883/2004 (Regulation (EC) No 987/2009 of the European Parliament and of the Council of 29 April 2004 on the procedure for implementing Regulation (EC) No 883/ 2004 coordination of social security systems)
พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533, มาตรา 54.
ระบบความมั่นคงทางสังคมของทวีปยุโรป. สำนักงานประกันสังคม: ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ กองแผนงานและสารสนเทศ, มีนาคม 2547.
รายงานการศึกษาดูงานของคณะกรรมการประกันสังคม ณ ราชอาณาจักรนอร์เวย์ ระหว่างวันที่ 10-17 กันยายน 2548 เรื่องการประกันสังคมและการคุ้มครองชาวต่างชาติที่อาศัยในราชอาณาจักรนอร์เวย์และชาวนอร์เวย์ที่เดินทางไปทำงาน ณ ต่างประเทศ, กองแผนงานและสารสนเทศ สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน.
สราวุธ ไพฑูรย์พงษ์. “ประกันสังคมในอาเซียนกับไทย.” หนังสือพิมพ์มติชน https:// tdri.or.th/2014/02/social-security-in-thailand-and-asean/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2557).
A.I.Ogus,B.C.L.,M.A. The Law of Social Security. (London: Butterworths, 1978).
Assurance maladie d’un Francais vivant a l’etranger/service-public.fr https://www.editions-tissot.fr/droit-travail/content (accessed March 28, 2020).
Assurance maladie d’un Francais vivant a l’etranger/service-public.fr https://www.editions-tissot.fr/droit-travail/content (accessed March 28, 2020).
Cambodia Law on Social Security Schemes, 2019 article 5-8.
Decision No S1 of 12 June 2009 Concerning the European Health Insurance Card in (REGULATION (EC) No.883/2004 OF THE EUROPEAN PARLIA MENT AND OF THE COUNCIL of 29 April 2004)
Gabriela Pikorova, DECISION No S3of 12 June 2009 defining the benefits covered by Articles 19(1) and 27(1) of Regulation (EC) No 883/2004 of the European Parliament and of the Council and Article 25(A)(3) of Regulation (EC) No 987/2009 of the European Parliament and of the Council p. C106/40.
Law of the Republic of Indonesia Number 40 of 2004 concerning the National Social Security System, article 11.
Laws of Brunei Chapter 167 Employee Trust Part 3, article 17.
Laws of Malaysia Act 4 Employees Social Security Act, 1969.
Mark Levin and Kenichi Hirose, Coordination of Social Security System in the European Union, Geneva: International Labour Organization, 2010.
Myanmar The Social Security Law, 2012 article 13.
Regulation (European Economic Community (EEC)) No 1408/71, article 21-22.
Republic Act No.1161 June 18, 1954 “Social Security Law”
Slavina Spasova,Denis Bouget and Bart Vanhercke, Sick pay and sickness benefit schemes in the European Union, 2016.
The Statutes of the Republic of Singapore Central Provident Fund Act (Chapter 36).
Vietnam Law on Social Insurance, 2014 article 3.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น