การกำหนดหน้าที่ในการเปิดเผยนิติสัมพันธ์และความรับผิดของผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ในการโฆษณาสินค้าและบริการ

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ มีบัว อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ดร.นัดดาภา จิตต์แจ้ง อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

การเปิดเผยนิติสัมพันธ์และความรับผิด, ผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์, การโฆษณาสินค้าและบริการ, ผู้ติดตาม, ความรับผิดทางอาญาของผู้รับรองสินค้า

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่ในการเปิดเผยนิติสัมพันธ์ และความรับผิดของผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ในการโฆษณาสินค้าและบริการ 2) เพื่อวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบหน้าที่ในการเปิดเผยนิติสัมพันธ์ และความรับผิดของผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ในการโฆษณาสินค้า และบริการของประเทศสหรัฐอเมริกากับประเทศไทย และ 3) เพื่อสังเคราะห์หน้าที่ในการเปิดเผยนิติสัมพันธ์และความรับผิดของผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ในการโฆษณาสินค้าและบริการ

 ผลการศึกษา พบว่าประเทศไทยยังมิได้กำหนดหน้าที่ในการเปิดเผยนิติสัมพันธ์เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้า หรือบริการระหว่างผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์และเจ้าของสินค้าหรือบริการไว้โดยเฉพาะ เพียงแต่คุ้มครองด้านการโฆษณาในลักษณะข้อความที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค หรือเป็นข้อความที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมส่วนรวมเท่านั้น รวมไปถึงมิได้กำหนดความรับผิดแก่บุคคลที่เจตนาปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งเกี่ยวกับการรับจ้างไว้โดยตรง ทำให้ผู้ติดตามเกิดความเข้าใจว่าการโฆษณาคุณสมบัติสินค้าหรือบริการนั้นเกิดจากความสมัครใจ จนส่งผลให้เกิดการจูงใจและตัดสินใจซื้อสินค้าหรือเข้ารับบริการนั้น

ดังนั้น จึงควรกำหนดหน้าที่แก่ผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคมออนไลน์ในการเปิดเผยข้อมูล หรือนิติสัมพันธ์ให้มีความชัดเจนว่าการโฆษณาสินค้า หรือบริการใดเป็นการรับจ้างจากเจ้าของสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ผู้ติดตามทราบและเป็นข้อมูลตัดสินใจ รวมไปถึงกำหนดความรับผิดแก่บุคคลที่ฝ่าฝืนไว้โดยเฉพาะ และแต่งตั้งคณะทำงานในการควบคุมหรือตรวจสอบการโฆษณาสินค้าหรือบริการ เพื่อคุ้มครองผู้ติดตามให้ได้รับความเป็นธรรมต่อไป

References

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 เล่ม 2. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2562.

คณพล จันทน์หอม. คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2561.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญาภาค 2 ตอน 2 และภาค 3. กรุงเทพฯ: เนติบัณฑิตยสภา, 2545.

ณรงค์ ใจหาญ. กฎหมายอาญาว่าด้วยโทษและวิธีเพื่อความปลอดภัย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2543.

ณัฐวัฒน์ สุทธิโยธิน, “หน่วยที่ 6 ทฤษฎีการลงโทษ,” https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/41716_6.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563).

ณัฐวัฒน์ สุทธิโยธิน. “หน่วยที่ 2 ทฤษฎีความรับผิดทางอาญา.” https://www.stou.ac .th/Schools/Slw/upload/41716_2.pdf. (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563).

ทพพล น้อยปัญญา. “ผู้มีอิทธิพลทางสื่อสังคม.” https://thaipublica.org /2017/11/toppol7/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564).

ธนวัฒ พิสิฐจินดา. “ความรับผิดในทางอาญา: ศึกษากรณีองค์ประกอบของความผิดต่อชีวิต.” บทบัณฑิตย์ 74, 2 (2561).

ประมวลกฎหมายอาญา.

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522.

ภิเษก ชัยนิรันดร์. 2553. อ้างถึงใน พัทธมน ศรีสอน. “การเลือกใช้ผู้มีอิทธิพลในการวางแผนสื่อโฆษณาบนสื่อสังคม (เฟซบุ๊ก).” สารนิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต, คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

ลดาอำไพ กิ้มแก้ว. “ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจซื้อของผู้บริโภคจากสื่อโฆษณาประเภทวีดีโอผ่านผู้มีอิทธิพลบนสังคมออนไลน์.” สารนิพนธ์บริหาร ธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.

สำนักเลขาธิการวุฒิสภา. กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซ บุ๊ก (Facebook). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการวุฒิสภา, 2561.

หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญาภาค 2-3. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์, 2553.

Federal Trade Commission Act.

Safko, L., & Brake, D. The Social Media Bible: Tactics, Tools & Strategies for Business Success. New Jersey: John Wiley & Sons, Inc, 2009.

The Growth Master. “ความแตกต่างของ Influencer ทั้ง 5 ประเภท.”https://www.facebook.com/readthegrowthmaster/posts/142791438 4070215/. (สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/14/2022