มาตรการคุ้มครองสิทธิในการทำงานของผู้สูงอายุตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศญี่ปุ่น

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมลวรรณ อยู่วัฒนะ
อาจารย์ชื่นชีวิน ยิ้มเฟือง

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิในการทำงานของผู้สูงอายุตามกฎหมายไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายประเทศญี่ปุ่น


เมื่อศึกษาจึงพบว่า ประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นต่างให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิด้านแรงงานผู้สูงอายุให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบการมีการจ้างงานผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ตามบทบัญญัติของ The Employment Measure Act 2007 ยังมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการห้ามเลือกปฏิบัติทางอายุในการรับสมัครบุคคลเข้าทำงาน ลูกจ้างจะต้องได้รับโอกาสในการจ้างงานโดยไม่คำนึงถึงอายุ  รัฐจะเข้ามาช่วยเหลือและประสานเกี่ยวกับการจ้างงานไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านศูนย์ทรัพยากรมนุษย์ผู้สูงวัย “Silver Human Resource Center”  และในกรณีที่มีการจ้างแรงงานผู้สูงอายุ ตาม Law Concerning Stabilization of Employment of Older Persons Act 1971 ยังกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานประจำปีเพื่อรายงานต่อรัฐมนตรีเกี่ยวกับรายละเอียดในการจ้างงาน อายุการเกษียณตามเกณฑ์ภาคบังคับ  การจ้างงานต่อเนื่องภายหลังการเกษียณอายุและรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อให้ห้ลูกจ้างได้รับการประกันการจ้างงานและป้องกันการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม


ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานในส่วนของการใช้แรงงานผู้สูงอายุเป็นหมวดเฉพาะต่างหากจากหมวดอื่น 2) ควรมีการจัดตั้งส่วนงานเฉพาะเพื่อทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือ ดูแลเกี่ยวกับการจ้างงานผู้สูงอายุ ทั้งคอยติดตามตรวจสอบการใช้แรงงานผู้สูงอายุให้ได้รับการปฏิบัติตามสิทธิที่เหมาะสม 3) ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะและประเภทและข้อกำหนดเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้างผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2560.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติและองค์การเฮล์พเอจ อินเตอร์เนชั่นแนล. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร สูงวัยในศตวรรษที่ 21: การเฉลิมฉลองและความท้าทาย. กรุงเทพฯ: กรมกิจการผู้สูงอายุ 2564.

กิจบดี ก้องเบญจภุช. กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2555.

ธีระ ศรีธรรมรักษ์. กฎหมายแรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2547.

ปภาศรี บัวสรรค์. กฎหมายแรงงานและประกันสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2554.

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนพิเศษ 316 ง ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2562.

พรเพ็ญ ไตรพงษ์. “มาตรการทางกฎหมายในการจ้างแรงงงานผู้สูงอายุในภาคเอกชน.” ดุษฎีนิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2561.

พระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 639) พ.ศ. 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 26 ก ลงวันที่ 27 มีนาคม 2560.

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.

อัญชลี ค้อคงคา. สหภาพแรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2544.

Japan International Labour Foundation. “Revised Act for Stabilization of Employment of Older Persons Comes into Force.” https://www. jilaf.or.jp/eng/mbn/201 3/122.html (accessed June 15, 2021).

Law Concerning Stabilization of Employment of Older Persons Act 1971.

Minimum Wage Act 1959, Act No. 137 of April 15, 1959.

Ryoko Sakuraba. “The Amendent of the Employment Measure Act: Japanese Anti-Age Discrimination Law.” https://www.jil.go.jp/english/JLR/do cuments/2009/JLR22_sakuraba.pdf (accessed July 15, 2021).

The Employment Measure Act 2007.

Tokyo Intercultural Portal Site. “Pension Insurance.” https://tabunka.tokyo-tsunagari.or.jp/guide_eng/life/01.html (accessed June 20, 2021).

Trading Economic. “Japan Minimum Hourly Wages.” https://tradingecono mics.com/japan/minimum-wages (accessed June 15, 2021).