แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทยสมัยโบราณ

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์สัจจวัตน์ เรืองกาญจน์กุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์กฎหมาย, กระบวนการยุติธรรม, สมัยโบราณ

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังของกระบวนการยุติธรรมของไทยในสมัยโบราณว่า มีหลักการหรือที่มาอย่างไร มีคำกล่าวในภาษาไทย เช่นว่า “พวกตีนโรงตีนศาล” หรือ “คนหัวหมอ” โดยคำเหล่านี้เป็นคำกล่าวที่เกี่ยวข้องกับการฟ้องร้องดำเนินคดี มีความหมายในทำนองลบมากกว่าบวก การดำเนินคดีเป็นความกันนี้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งกระบวนการยุติธรรม คือ กระบวนการเพื่อยุติความขัดแย้งของคนในสังคม

โดยในสมัยอดีตของไทยสมัยโบราณกฎหมายที่ใช้ส่วนใหญ่ พบว่าได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียผ่านมอญ ผ่านพม่า ซึ่งปรากฎอยู่ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นหลักการคำสอนที่นำมาบัญญัติเป็นกฎหมายเพื่อใช้ในการปกครองตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา และพบเป็นหลักการสำคัญอยู่ในกฎหมายตราสามดวงช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ทั้งนี้การศึกษา วิเคราะห์ แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทยสมัยโบราณนี้ สะท้อนภาพลักษณ์ประวัติศาสตร์กฎหมายไทยและบริบทกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบันให้เด่นชัดมากขึ้น

จากแนวคิดดังกล่าวสะท้อนให้เห็นรากฐานของประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในอีกมิติหนึ่งที่ยังเชื่อมโยงอยู่กับแนวคิดของศาสนาและยังคงกลิ่นอาย และมีอิทธิพลต่อกระบวนการยุติธรรมไทยในปัจจุบัน และหากในสถานการณ์ปัจจุบันผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคดีหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้นำหลักการเหล่านี้มาใช้ ก็จะได้ประโยชน์มากเพราะจะเป็นการกำกับให้การดำเนินกระบวนการยุติธรรมเกิดความชอบธรรมอย่างแท้จริง

References

กฎหมายและการยุติธรรมของไทยสมัยโบราณ. http://valuablebook2.tkpark. or.th /2015/13/document3.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564).

กมลทิพย์ คติการ. “แผนแม่บทกระบวนการยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 2547-2549 นวัตกรรมของการบริหารงานยุติธรรมไทย.” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต 2, ฉ.1 (มกราคม-เมษายน 2549): 2.

กฤษฎา บุณยสมิต. กฎหมายตราสามดวง : แว่นส่องสังคมไทย. (ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ลำดับที่ 2 โครงสร้างกฎหมายตราสามดวง: การพิจารณาใหม่). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2547.

คึกฤทธิ์ ปราโมทย์. “ปาฐกถาเรื่องระบอบศักดินาในประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2505 ณ ห้องประชุมตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”. ใน ชุมนุมภาษาไทย พ.ศ. 2505-05, พระนคร: โรงพิมพ์ไทยพาณิชยการ, 2506.

ดวงจิตต์ กำประเสริฐ. ประวัติศาสตร์กฎหมาย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2542.

ดิเรก ควรสมาคม. “นิติศาสตร์ไทย : บทวิเคราะห์จากรากฐานในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์.” วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 25, ฉ.2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2558): 2.

บทลงโทษสุดโหดในกฎหมายตราสามดวง ที่ความตายเรียก “พี่”, https://www.silpa-mag.com/history/article_34958 (สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2564).

ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1 เล่ม 1.

พงษ์นรินทร์ ศรีประเสริฐ. กระบวนการตรวจสอบความจริงในคดีอาญา ศึกษาจากกฎหมาย ตราสามดวง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2544.

พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค.

พระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1.

ราชบัณฑิตยสถาน. “พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย.” http://dictionary.sanook.com /search/dict-th-th-royalinstitute (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565).

วินัย ชวนประพันธ์. “ระบบศักดินากับการบริหารราชการ.” วิทยานพิพนธ์รัฐประศาสน ศาสตรบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2510.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. กฎหมายตราสามดวง : แว่นส่องสังคมไทย. (ผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ลำดับที่ 1 สถานภาพการศึกษากฎหมายตราสามดวง). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2547.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการไทย : ปัญหา แนวทางแก้ไข และแนวโน้มของกฎหมายในอนาคต. กรุงเทพฯ : นิติธรรม, 2547.

ศศิกานต์ คงศักดิ์. “หลักอินทภาษ”. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร 21-22, 3 (2544-2545): 114-156.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี และธณิกานต์ วรธรรมานนท์. “การวิเคราะห์อัคคัญญสูตร”. ดำรงวิชาการ 16, ฉ. 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2560): 161.

ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. “200 ปี กฎหมายตราสามดวง.” https://www.krisdika.go.th/data/activity/act40.pdf (สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564).

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส และสมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงภูวเนตรนริทรฤทธิ์, คำทฤษฎี, ใน หนังสือที่ระลึกงานพระราชทางเพลิงศพนายเกรียง กีรติกร วัดเทพ ศิรินทราวาส (กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2533).

สายป่าน ปุริวรรณชนะ. “อาณาจักรสุโขทัย : การประกอบสร้างประวัติศาสตร์จากตำนานและความเชื่อของคนไทย.” วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์, 35 ฉ.1 (มกราคม-มิถุนายน 2559): 143.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. “200 ปี กฎหมายตราสามดวง.” http://web.krisdika. go.th/pdfPage.jsp?type=act&actCode=40 (สืบค้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564).

สุทัศน์ สิริสวย. พระราชกรณียกิจของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชในการตั้งสถาบันการปก ครองของชาติไทย. ใน อนุสรณ์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช. จังหวัดสุโขทัย, 2513).

สุเมฆ จีรชัยสิริ. “กฎหมายตราสามดวง.” https://parliamentmuseum.go.th/ar63-Law-enact.html (สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565).

เสถียร ลายลักษณ์. ลักษณะวิวาท. ประชุมกฎหมายประจำศก เล่ม 1 (กฎหมายตราสามดวง ตอน 1, 2478).

A.L. Basham. The Wonder that was India. Calcutta: Fontana Books, 1982).

L.N. Rangarajan. Kautilya: The Arthashastra. New Dalhi: Penguin Books, 1987).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

05/14/2022