กฎหมายและความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเทศบาลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
คำสำคัญ:
กฎหมาย, สวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ, เทศบาลตำบลลำใหม่บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการเกี่ยวกับกฎหมายและสวัสดิการของผู้สูงอายุ แนวทางการกำหนดโครงสร้างของกฎหมายผู้สูงอายุในเทศบาล ลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา เป็นวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามความต้องการสวัสดิการสังคม จากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 198 คน
ผลการวิจัยพบว่า สวัสดิการผู้สูงอายุในเทศบาลลำใหม่ที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานตามสิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุพึงจะได้รับตามกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุ แต่เนื่องจากผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่ทราบถึงสวัสดิการที่ตนพึง จะได้รับจึงทำให้เกิดความต้องการสวัสดิการสังคมในด้านต่าง ๆ คือ สวัสดิการด้านสุขภาพอนามัย สวัสดิการด้านที่อยู่อาศัย และสวัสดิการด้านการทำงานและการมีรายได้ จึงต้อง มีแนวทางการกำหนดโครงสร้างของกฎหมายผู้สูงอายุเพื่อการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ เทศบาลลำใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ควรมีการมุ่งเน้นในการจัดสวัสดิการขั้นพื้นฐานให้แก่ผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างเหมาะสมและทั่วถึง เช่น การให้บริการด้านสุขภาพนอกพื้นที่เพื่อตรวจเยี่ยมและให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ , การสำรวจความเป็นอยู่สภาพที่พักอาศัยและระบบสาธารณูปโภคของผู้สูงอายุในพื้นที่ และ จัดทำแผนงานหรือโครงการในการอบรมส่งเสริมด้านอาชีพเพื่อ ยกระดับอาชีพผู้สูงอายุให้สามารถสร้างรายได้สามารถพึ่งพาตนเองได้
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. “สิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุ.” https://www.dop.go.th/th /benefits/3/765 (สืบค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564).
กิตติสุดา กิตติศักดิ์กุล และ เกียรติพร อำไพ. “มาตรการคุ้มครองทางกฎหมายเรื่องการจ้างผู้สูงอายุในแรงงานกึ่งฝีมือและแรงงานไร้ฝีมือ.” วารสารรัชต์ภาคย์. (2562): 179.
เทวัญ อุทัยวัฒน์. “สังคมสูงวัยสู่อนาคตประเทศไทย.” https://www.thaipost.net/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2564).
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
สำนักงานสถิติยะลา. “บทวิเคราะห์และสรุปสถานการณ์ผู้สูงอายุ.” http://yala.nso.go.th/ (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564).
ฮักส์ อินชัวรันซ์ โบรกเกอร์. “อายุใกล้ 60 รีบเช็ค เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน กรณีเกษียณอายุ.” https://www.hugsinsurance.com/article/compensation-und er-labor-retirement-law (สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2564).
Chantarawitoon,N. Labour, Law: Theory and Problems, (Bangkok: Thamma sart Press, 1987), อ้างใน Rajajapark Journal Vol.13 No.30 (July-Septe mber 2019), 179.
Gambarjan, E. Age Discrimination in European Union. the Netherlands and the Russian Federation.Master’s thesis. Faculty of Law, University of Tilburg, 2010.
Sindecharak.T & Netiparatanakul.P, Self-employed Workers' Prepara tion for Aging among Thailand's Aging Society, (Bangkok: Thammasat Univer sity, 2012).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น