ความรับผิดทางแพ่งกรณีรถหายในห้างสรรพสินค้า
คำสำคัญ:
คำสำคัญ : ความรับผิดทางแพ่ง, รถหาย, สิทธิไล่เบี้ย, ค่าสินไหมทดแทน, ห้างสรรพสินค้าบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารมีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ เพื่อศึกษาบริบท สภาพแวดล้อมกรณีรถหายในห้างสรรพสินค้าและกฎหมายความรับผิดกรณีรถหายในห้างสรรพสินค้า ตลอดถึงศึกษาแนวทางพัฒนาปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับในความรับผิดกรณีรถหายในห้างสรรพสินค้า
ผลวิจัยพบว่า ห้างสรรพสินค้ามีหน้าที่จัดการดูแลรักษาความปลอดภัยทรัพย์สินของผู้มาซื้อสินค้า จะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดและมีประสิทธิ ภาพ เมื่อมีเหตุรถหายในห้างสรรพสินค้าถือว่าเป็นการงดเว้นหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของลูกค้าจึงเป็นความรับผิดในทางละเมิด และไม่สามารถอ้างการปิดประกาศยกเว้นความรับผิด เป็นเหตุให้ตนหลุดพ้นความรับผิดได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากห้างสรรพสินค้าจัดให้มีผู้ประกอบการรายอื่นเช่าพื้นที่ บุคคลเหล่านี้ถือว่าไม่ใช่ลูกค้าของห้างสรรพสินค้า ดังนี้ ห้างสรรพสินค้าไม่ต้องรับผิด
งานวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าควรจัดทำ ดังนี้ (1) ชื่อ “ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดทางแพ่งกรณีรถหายในห้างสรรพสินค้า” (2) กำหนดหลักเกณฑ์ว่า “ห้างสรรพสินค้ามีหน้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังดูแลทรัพย์สินของลูกค้าเช่นเดียวกับผู้มีอาชีพเช่นนั้น” (3) การปิดประกาศยกเว้นความรับผิดในกรณีรถของลูกค้าหายในห้างสรรพสินค้า ก็ไม่เป็นเหตุให้หลุดพ้นจากความรับผิดแต่อย่างใด (4) กำหนดให้พนักงานรักษาความปลอดภัยต้องรับผิดตามสัญญา และ (5) กำหนดให้ห้างสรรพสินค้าต้องจัดให้มีการทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองวินาศภัยในกรณีที่รถของลูกค้าหาย
References
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 38/2496
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2538
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 370/2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9278/2542
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11605/2553
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2556
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2558
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3251/2559
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7078/2560
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 743/2561
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 915/2561
จิตติ ติงศภัทย์. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียงมาตราว่าด้วย จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้ ละเมิด บรรพ 2 มาตรา 395-452. กรุงเทพฯ: เดือนตุลา, 2557.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์.
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522.
ไพจิตร ปุญญพันธุ์. คำสอนชั้นปริญญาโท : กฎหมายเปรียบเทียบไทยกับประมวลกฎหมายประเทศ. พิมพ์ครั้ง 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2546.
ลิขิต น้าประเสริฐ. “บทบรรณาธิการ.” https://www.autoinfo.co.th/article/10880/ (ค้นเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561).
ศนันท์กรณ์ (จำปี) โสตถิพันธ์. ละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. พิมพ์ครั้ง 4. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2555.
สุมาลี วงษ์วิฑิต. กฎหมายว่าด้วยละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548.
บุคลานุกรม
ธรรมศักดิ์ แสงจันทร์. สัมภาษณ์โดย เพชร ขวัญใจสกุล. สำนักงานอัยการจังหวัดนาทวี. 25 มกราคม 2564
บุญสวัสดิ์ ชวลิตกุล. สัมภาษณ์โดย เพชร ขวัญใจสกุล. สำนักกฎหมายบุญสวัสดิ์ ชวลิตกุล. 24 พฤศจิกายน 2563
ศุภชัย คำคุ้ม. สัมภาษณ์โดย เพชร ขวัญใจสกุล. กรมสอบสวนคดีพิเศษ. 26 มกราคม 2564
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น