ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง กรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี
คำสำคัญ:
การคุ้มครองสิทธิ, ไต่สวนมูลฟ้อง, พนักงานอัยการ, ผู้ถูกกล่าวหาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง (2) ศึกษาการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในชั้น
ไต่สวนมูลฟ้องกรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี (4) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการไต่สวนมูลฟ้องกรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดี
ผลการวิจัยพบว่า (1) แนวคิดการคุ้มครองและการจำกัดสิทธิเสรีภาพของบุคคล หลักการตรวจสอบค้นหาความจริง หลักการกลั่นกรองมูลคดี หลักฟังความทุกฝ่าย เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง (2) การคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องของประเทศไทย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิได้รับการกลั่นกรองมูลคดีโดยศาล สิทธิการเสนอพยานหลักฐาน และสิทธิการอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่ง และ (3) การไต่สวนมูลฟ้องกรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ของประเทศไทยซึ่งมีความแตกต่างกับของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และประเทศสหรัฐอเมริกา ยังคงมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจดุลพินิจไม่ไต่สวนมูลฟ้องโดยไม่เหมาะสม การจำกัดสิทธินำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อศาล และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของผู้ถูกกล่าวหา
ผู้วิจัยเห็นว่า ควรแก้ไขการไต่สวนมูลฟ้องกรณีพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ในส่วนการกำหนดอำนาจดุลพินิจไม่ไต่สวนมูลฟ้อง และการกำหนดสิทธิของจำเลยในการเสนอพยานหลักฐานและอุทธรณ์คำสั่ง
References
Chiraniti Havanon. (2000). Criminal Procedure Rights according to the Consti tution. Bangkok: Winyuchon.
Code of Criminal Procedure. (1935). Royal Gazette, 52(0A), 682, 683, 685, 686, 696.
Code of Criminal Procedure. (1956). Royal Gazette, 73(16A), 134.
Freckmann, A., Anke, L., Wegerich, J., & Thomas, C. (1999). The German legal system. London: Sweet & Maxwell.
Kanueng Luechai. (2005). Criminal Procedure Law, Vol. 2. Bangkok: October Printing.
Kunlapol Phonwan. (1978). Laws and Natural Rights. Journal of Public Prosecutor, 6(2), 23.
Lafave, K., Wayne, R., Israel, P., Jerold, H., & Nancy, J. (2000). Criminal procedure (3rd ed.). St,Paul, Minn: West Publishing.
Narong Jaiharn. (2020). Principles of Law and Criminal Procedure, Vol. 2 (6th Edition). Bangkok: Winyuchon.
Smith, O., & Christopher, E. (2003). Criminal procedure. Belmont Calif U.S.A: Wadsworth.
Thira Suteewarangkun. (1999). Protection of Rights and Liberties of Individuals Recognized by the Constitution. Journal of Law , 14 (29), 590.
Wipha Pinweera. (2008). The Role of the Court in Criminal Proceedings. Master of Laws Thesis (Laws). Bangkok: Thammasat University.
Wisarn Panthuna. (1978). Criminal Procedure in the United States. Dulpaha, 5 (25), 39-49.
Worapoj Wisarutpit. (2000). Rights and Freedoms under the Constitution. Bangkok: Winyuchon.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่น หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ หรือเพื่อกระทำการใดๆจะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารนิติศาสตร์และสังคมท้องถิ่นก่อนเท่านั้น