อิทธิพลการกำกับดูแลกิจการต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET100)

Main Article Content

กาญจน์เกล้า แสงเพชร

บทคัดย่อ

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างการกำกับดูแลกิจการกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100) จำนวน 80 บริษัท ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ และมีอิทธิพลในทิศทางเดียวกันกับมูลค่ากิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ การเจริญเติบโตของบริษัทและสัดส่วนผู้ถือหุ้น 5 รายแรก และยังพบว่าอายุของประธานฝ่ายบริหาร และสัดส่วนคณะกรรมการตรวจสอบ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ และมีอิทธิพลในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่ากิจการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่าแนวคิดบรรษัทภิบาล และทฤษฎีตัวแทนสนับสนุนการอธิบายกลไกการกำกับดูแลกิจการที่สะท้อนพฤติกรรมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร และส่งผลต่อมูลค่าของกิจการ ซึ่งมีประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หรือนักลงทุนที่สามารถใช้ปัจจัยจากการศึกษาครั้งนี้มาช่วยในการประเมินประสิทธิภาพในการทำงานของฝ่ายบริหาร และตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธัญยฉัตร กลิ่นขจรชินสิริ, ธารินี พงศ์สุพัฒน์ และอภิชาติ พงศ์สุพัฒน์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ของธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น, 7(3), 46-61.

นภดล ร่มโพธิ์. (2561). พัฒนาองค์กรและชีวิตด้วยแนวคิด OKRs. กรุงเทพฯ: อักษรสัมพันธ์.

ภัทรพงศ์ เจริญกิจจารุกร และสุรนัย ช่วยเรือง. (2560). โครงสร้างองค์กรและผลคะแนนการกำกับดูแลกิจการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมกับผลการดำเนินงานเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในอาเซียน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(147), 64-79.

วราภรณ์ ว่องประชานุกูล และการุณ สุขสองห้อง. (2562). การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการจ่ายเงินปันผลและโครงสร้างผู้ถือหุ้น. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 87-107.

วิวัฒน์วงศ์ บุญหนุน, กาญจน์เกล้า พลเคน, เกษม เปนาละวัด และวนัสนันท์ งวดชัย. (2562). การวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลตอบแทนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาหลักทรัพย์ หมวดธุรกิจธนาคาร ก่อน-หลัง เดือนกันยายน 2561. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(19), 19-28.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ [สำนักงาน ก.ล.ต.]. (2565). Index Monthly Report ดัชนีราคา SET100. ค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จากhttps://www.set.or.th/th/market/index/set100/overview.

อุบลวรรณ ขุนทอง และโสวัตรธนา ธารา. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างผู้ถือหุ้นแบบกระจุกของกลุ่ม ครอบครัวกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอไอ (MAI). ใน อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 61: รอดหรือซึมยาว. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี 2560. (หน้า 240 – 253). กรุงเทพฯ : ฝ่ายวารสารเศรษฐศาสตร์รามคำแหง คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เอกวิทย์ จิตต์ธรรม และณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล. (2555). ปัจจัยด้านทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณภาพการใช้บริการรถตู้ กรณีศึกษา: จุดเชื่อมต่อการขนส่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 5(1), 50-56.

Bouwens, J. & Van Lent, L. (2017). Assessing the performance of business unit managers. Journal of accounting research, 45(4), 667-697.

Dang, C., Zhichuan, F., & Yang, C. (2018). Measuring firm size in empirical corporate finance. Journal of banking & finance, 86(1) 159-176.

Donaldson, L., & Davis, J. H. (1991). Stewardship theory or agency theory: CEO governance and shareholder returns. Australian journal of management, 16(1), 49-64.

Han, K.C. & Suk, D.Y. (1998). The effect of ownership structure on firm performance: Additional evidence. review of financial economics, 7(2), 143-155.

Jensen, M.C., & Meckling, W.H. (1976). Theory of the firm: managerial behavior, agency costs and ownership structure. Journal of financial economics, 3(4), 305-360.

John, K. & Senbet, L.W. (1998). Corporate governance and board effectiveness. Journal of banking & finance, 22(4), 371-403.

Kaplan, R.S., & Norton, D.P. (1996). The balanced scorecard - measures that drive performance. Harvard business review, 70(1) 71–79.

Matoke, V.N., & Omwenga, J. (2019). Audit quality and financial performance of companies listed in nairobi securities exchange. International journal of scientific and research publications, 6(11), 372-381.

Naimah, D. & Hamidah, D. (2017). The role of corporate governance in firm performance. SHS web of conferences, 34(1),13 03.

Panditharathna, K. & Kawshala, H. (2017). The Relationship between corporate governance and firm performance. Management and administrative sciences review, 6(2), 73-84.

Saha, N.K., Moutushi, R.H., & Salauddin, M. (2018). Corporate governance and firm performance: the role of the board and audit committee. Asian journal of finance & accounting, 10(1), 210-226.

Thanatawee, Y. (2014). Institutional ownership and firm value in Thailand. Asian journal of business and accounting, 7(2),1-22.