สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์บทเพลงสำคัญของวงดนตรีจีนไตรสรณะพุทธสมาคม จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
วงดนตรีจีน, สังคีตลักษณ์ดนตรีจีน, การวิเคราะห์ดนตรีจีนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์บทเพลงสำคัญของวงดนตรีจีนไตรสรณะพุทธสมาคม จังหวัดชลบุรี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย
1. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านดนตรีวิทยาและมานุษยดนตรีวิทยา 2. นักดนตรีจีนที่มีประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และเกี่ยวข้องกับวงดนตรีจีนฯ โดยการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ เชื่อมโยง และนำเสนอข้อมูลรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า วงดนตรีจีนไตรสรณะพุทธสมาคมมีบทเพลงสำคัญที่ใช้ประกอบพิธีศพของชาวจีน ทั้งหมด 4 บทเพลง ได้แก่ 1. ฉิ่งโป๊ยเซียน 2. ยี่จับสี่ห่าว 3. โอยไน่ตี๊-ปอถะ 4. อิ๋งเล้งก๊วยฉิกจิวป๋อเกี๊ยว
1) สังคีตลักษณ์มีโครงสร้างรูปแบบไบนารีและสโตรฟิค ความเร็วเพลงจังหวะก้าวเดิน อยู่ในอัตราจังหวะสองและสี่ธรรมดา แต่ละประโยคเพลงใช้ชุดเสียงแตกต่างกันไป ปรากฏชุดเสียงกงเป็นหลัก ดำเนินทำนองด้วยขั้นคู่ M2, m3 และทำนองกระโดดด้วยขั้นคู่ P4, P5, M6 และ m6 ใช้เทคนิคหลัก ได้แก่ การสร้างอัตลักษณ์ การขยายส่วนด้วยการเพิ่มค่าโน้ต การย่อส่วนด้วยการลดค่าโน้ต การซีเควนซ์ การแปรทำนอง การซ้ำทำนอง โดยใช้โน้ตนอกคอร์ดร่วม 2) การดำเนินคอร์ดแตกต่างกันในแต่ละบทเพลง ได้แก่ การดำเนินคอร์ดแบบวงกลมการเคลื่อนที่แบบขนาน การเปลี่ยนศูนย์กลางของเสียง การใช้คอร์ดดิมินิชท์และโครมาติก 3) รูปแบบจังหวะที่ใช้ประกอบบทเพลง โครงสร้างจังหวะหลักมี 2 รอบซ้ำวนไปมาเป็นจังหวะหลักของทั้งเพลง โดย 4 ห้องเป็นชุดของรูปแบบจังหวะ 1 รอบ มี 2 รูปแบบ ได้แก่ อัตราจังหวะสองและสี่ธรรมดา โดยส่วนใหญ่สัดส่วนโน้ตรอบที่ 1 อยู่ในสัดส่วนโน้ตตัวดำสลับกับโน้ตเขบ็ต 1 ชั้น รอบที่ 2 อยู่ในสัดส่วนผสมกับโน้ตที่ถูกพัฒนาขึ้น
References
Barton, Jintana. “A Comparative Study of Chinese Musical Activities in Chinese and Thai Cultural Contexts.” MANUSYA: Journal of Humanities 10, no. 2 (2007): 1-14.
Duan, Lisheng. Thai History in Chinese Aspect. Bangkok: Phirap, 1997. (in Thai)
Haydon, Glen. Introduction to Musicology: A Survey of the Fields, Systematic and Historical, of Musical Knowledge and Research. New York: Prentice-Hall, 1946.
Helmholtz, Hermann. On the Sensations of Tone as a Physiological Basis for the Theory of Music. Austin: Cambridge: Cambridge University Press, 2009.
Huang, Hsun-Pin. “Theory and Practice in the Traditional Chinese music: Observations and Analysis.” PhD diss., The Graduate Council of the University of North Texas, 1994.
May, Elizabeth. Music of Many Cultures: An Introduction. Berkeley: University of California Press, 1980.
Merriam, Alan Parkhurst. The Anthropology of Music. Chicago: Northwestern University Press, 1964.
Mugglestone, Erica, and Guido Adler. “Guido Adler's ‘The Scope, Method, and Aim of Musicology’ (1885): An English Translation with an Historico-Analytical Commentary.” Yearbook for Traditional Music 13, (1981): 1-21.
Nettl, Bruno. “The Western Impact on World music. Change, Adaptation, and Survival.” Yearbook for Traditional Music 19, (1987): 117-120.
Pancharoen, Natchar. Form and Analysis. Bangkok: Chula Book Center, 2017. (in Thai)
Pidokrajt, Narongchai. “Ethnomusicology.” Parichart Journal 8, no. 1 (April-September 1994): 5-11. (in Thai)
Premananda, Weerachat. Philosophy and Techniques of Song Composition of Thai contemporary song. Bangkok: Chulalongkorn University, 1994. (in Thai)
Schneider, Albrecht. “Comparative and Systematic Musicology in Relation to Ethnomusicology: A Historical and Methodological Survey.” Ethnomusicology 50, no. 2 (Spring/Summer 2006): 236-258.
Shi, Jiazi. “East Meets West: A Musical Analysis of Chinese Sights and Sounds, by Yuankai Bao.” PhD diss., Louisiana State University and Agricultural and Mechanical College, 2016.
Skinner, George William. Chinese Society in Thailand: An Analytical History. New York: Cornell University, 1962.
Trakulhun, Wiboon. Western Music Theory. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House, 2021. (in Thai)
Watson, James Lopez. “The Structure of Chinese Funerary Rites: Elementary Forms, Ritual Sequence, and the Primacy of Performance.” In Death Ritual in Late Imperial and Modern China, Edited by James L. Watson and Evelyn S. Rawski, 3-19. Berkeley and Los Angeles: University of California Press, 1988.
Williams, Paul, and Patrice Ladwig. Buddhist Funeral Cultures of Southeast Asia and China. New York: Cambridge University Press, 2012.

Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์ของบทความเป็นของเจ้าของบทความ บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นทัศนะของผู้เขียน
กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่รับผิดชอบต่อบทความนั้น