ตำนานหนองเล็งทราย : อนุภาคและบทบาทที่มีต่อชุมชนบ้านสันขวาง ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

จิรภิญญา คำเผ่า
ตุลาภรณ์ แสนปรน

บทคัดย่อ

ตำนานหนองเล็งทราย อนุภาคและบทบาทที่มีต่อชุมชนบ้านสันขวาง ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนุภาคในตำนานหนองเล็งทรายที่เกิดขึ้นในพื้นที่ชุมชนบ้านสันขวาง ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา และศึกษาบทบาทหน้าที่ของตำนานหนองเล็งทรายที่มีต่อชุมชนบ้านสันขวาง ตำบลศรีถ้อย อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีอนุภาค และกรอบทฤษฎีบทบาทหน้าที่


ทั้งนี้ผู้วิจัยศึกษารวบรวมตัวบทตำนานหนองเล็งทราย จากตำนานประเภทลายลักษณ์ และมุขปาฐะสามารถรวบรวมตัวบทได้ 3 เรื่อง 6 สำนวน ได้แก่เรื่อง 1. ตำนานหนองเล็งทรายล่ม ตัดตอนจากเหตุการณ์ตำนานเชียงแสนฉบับพระธรรมวิมลโมลี (2538 : 174-106) (ลายลักษณ์ 1 สำนวน) 2. นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยา (ลายลักษณ์ 1 สำนวน) และสอดคล้องกับข้อมูลมุขปาฐะ พระโสภณพัฒโนดม(นามเดิมศรีเหลา) (1 สำนวน) 3. ตำนานหนองเล็งทราย(ดอนแม่หม้าย) ข้อมูลมุขปาฐะ (3 สำนวน) แหล่งข้อมูล นายยอดชัย มะโนใจ นายก๋องแก้ว ใจวงค์  และนายเหลา มะโนใจ


จากการศึกษาพบว่า อนุภาคของตำนานหนองเล็งทรายมี 2 อนุภาค ได้แก่ อนุภาคเหตุการณ์ และอนุภาคสถานที่โดยอนุภาคเหตุการณ์ ที่พบคือ เหตุการณ์กินปลาไหลเผือก เหตุการณ์เมืองล่ม พบว่าลักษณะที่ใช้ร่วมกัน คือ อนุภาคของสัตว์สีเผือก เหตุการณ์ภัยธรรมชาติ มีเหตุการณ์ที่คล้ายกัน เริ่มด้วยการกล่าวถึงสภาพบ้านเมือง วิถีชีวิต หลังจากนั้นชาวเมืองไปหาปลาไหลเผือก นำมาถวายท่านเจ้าเมือง หรือนำมาแบ่งให้คนในชุมชนกินทั่วทั้งเมือง หลังจากนั้นบ้านเมืองล่มสลายกลายเป็นบึง ลักษณะที่แตกต่างกัน คือ เหตุการณ์ของแม่หม้ายโมโหเอาเท้าเหยียบหัวปลาไหลเกิดอาเพศ แผ่นดินถล่มจมกลายเป็นบึง และอนุภาคสถานที่ คือ ศาลเจ้าพ่อหนองเล็งทราย บทบาทหน้าที่ต่อชุมชนบ้านสันขวาง มี 3 บทบาท ได้แก่ บทบาทตำนานกับการอธิบายพิธีกรรม บทบาทในการถ่ายทอดเรื่องราวท้องถิ่นของตนในรูปแบบจิตรกรรมฝาผนัง บทบาทด้านความเชื่อพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ก๋องแก้ว ใจวงค์. สัมภาษณ์. (13 ธันวาคม 2562).

ประจักษ์ สายแสง. (ม.ป.ป.). เท่าที่จำได้. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป

พระธรรมวิมลโมลี. (2538). ตำนานเมืองเชียงแสน. กรุงเทพฯ: ศิลปะวัฒนธรรมพิฆเณศพริ้นติ้ง เซนเตอร์.

พระมหาศรีบรรดร ถิรธัมโม. (2546). นิทานพื้นบ้านเมืองพะเยา. พะเยา: กอบคำการพิมพ์.

พระโสภณพัฒโนดม. สัมภาษณ์. (2 พฤศจิกายน 2562).

ยอดชัย มะโนใจ. สัมภาษณ์. (16 พฤศจิกายน 2562).

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เหลา มะโนใจ. สัมภาษณ์. (13 ธันวาคม 2562).

อนันต์ ลากุล. (2560). ตำนานเมืองล่มในภาคอีสาน ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรม ความเชื่อกับท้องถิ่น. ศิลปศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.