จริยธรรมการตีพิมพ์บทความในวารสารมังรายสาร
          เพื่อให้การดำเนินการของวารสารมังรายสารเป็นไปตามมาตรฐานวิชาการระดับชาติและนานาชาติ กองบรรณาธิการจึงกำหนดจริยธรรมสำหรับบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ และผู้ประเมินบทความ ดังนี้


บทบาทและหน้าที่ของบรรณาธิการวารสาร (Duties of Editors)

          1. บรรณาธิการมีหน้าที่พิจารณาและตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อเผยแพร่ในวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร โดยปราศจากอคติในเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้นิพนธ์
          2. บรรณาธิการต้องไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบทความที่ส่งมาพิจารณาตีพิมพ์แก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงเวลาของการประเมินบทความ
          3. บรรณาธิการต้องตัดสินใจเกี่ยวกับบทความแต่ละบทความด้วยความเที่ยงธรรม โดยพิจารณาจาก
              3.1 ความสำคัญ
              3.2 ความใหม่
              3.3 ความชัดเจน
              3.4 ความสมเหตุสมผลของการศึกษา
              3.5 ความสัมพันธ์กับขอบเขตของวารสาร
          4. บรรณาธิการต้องดำเนินการทุกขั้นตอนของกระบวนการประเมินบทความอย่างมีคุณภาพภายในระยะเวลาที่เหมาะสม
          5. บรรณาธิการต้องเลือกผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญและเหมาะสมกับสาขาของบทความนั้นๆ
          6. บรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสาร รวมทั้งพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอย่างต่อเนื่อง


บทบาทและหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Duties of Authors)

          1. ผู้นิพนธ์ต้องรับรองว่าผลงานที่ส่งมาเป็นผลงานใหม่และไม่เคยตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
          2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ส่งบทความเดียวกันไปยังวารสารมากกว่าหนึ่งแห่งในเวลาเดียวกัน
          3. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งที่มาของข้อมูลที่นำมาใช้อ้างอิงในบทความอย่างครบถ้วนและถูกต้องตามหลักวิชาการ
          4. ผู้นิพนธ์ต้องเขียนบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบที่วารสารกำหนด
          5. ผู้นิพนธ์ที่มีชื่อปรากฏในบทความทุกคนต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในการดำเนินการวิจัยจริง
          6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการวิจัยและระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
          7. ผู้นิพนธ์ต้องแก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความและบรรณาธิการ


บทบาทและหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Duties of Reviewers)

          1. ผู้ประเมินบทความต้องรักษาความลับและไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณา
          2. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งบรรณาธิการหากพบว่าบทความมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงหรือเหมือนกับบทความอื่นๆ
          3. ผู้ประเมินบทความต้องปฏิเสธการประเมินบทความหากมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์
          4. ผู้ประเมินบทความต้องประเมินบทความในสาขาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาให้ข้อเสนอแนะด้วยความเที่ยงธรรม
          5. ผู้ประเมินบทความต้องระบุผลงานวิจัยที่สำคัญและสอดคล้องกับบทความที่กำลังประเมินแต่ผู้นิพนธ์ไม่ได้อ้างถึง
          6. ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งบรรณาธิการทันทีหากพบว่าตนเองไม่มีความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะประเมินบทความ
          7. ผู้ประเมินบทความต้องส่งผลการประเมินตามกำหนดเวลา หากมีเหตุขัดข้องต้องแจ้งบรรณาธิการทันที


การคัดลอกผลงาน (Plagiarism)

          1. บทความทุกบทความที่ส่งมาตีพิมพ์จะต้องได้รับการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) โดยใช้โปรแกรมที่น่าเชื่อถือ
          2. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานในระหว่างการประเมินบทความ บรรณาธิการจะยุติการพิจารณาบทความทันที
          3. หากตรวจพบการคัดลอกผลงานภายหลังจากการตีพิมพ์บทความแล้ว บทความนั้นจะถูกถอดถอนออกจากวารสาร (Retraction)


การเผยแพร่

          1. วารสารจะเผยแพร่บทความที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านและได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์แล้วเท่านั้น
          2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากกองบรรณาธิการและได้รับการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ประเมินบทความแล้ว


การเก็บรักษาข้อมูล

          1. กองบรรณาธิการจะเก็บรักษาข้อมูลของผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความไว้เป็นความลับ
          2. กองบรรณาธิการจะเก็บรักษาผลการประเมินบทความไว้อย่างน้อย 3 ปี