พลังชีวิตภาษาปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

นัฐกานต์ ปุดสวย
ขนิษฐา ใจมโน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง พลังชีวิตภาษาปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ภาษาและทัศนคติของผู้พูดภาษาปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง  2) ศึกษาการดำรงอยู่ของภาษาปกาเกอะญอที่ปรากฏในชุมชนบ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และ 3) ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องต่อการดำรงอยู่ของภาษาปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลาง ตำบลบ้านดง อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง


          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสอบถามและสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้อาวุโส (55-65 ปี) จํานวน 30 คน 2) กลุ่มผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน (35-45 ปี) 3) จำนวน 30 คน กลุ่มเด็กและเยาวชน (15-25 ปี) จำนวน 30 คน และ 4) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จํานวน 5 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการอธิบายและการพรรณนาวิเคราะห์


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บอกภาษาในทุกช่วงอายุยังคงใช้ภาษาปกาเกอะญอในชีวิตประจำวันมากที่สุด และเลือกใช้ภาษาปกาเกอะญอในบทบาททั้งแวดวงการใช้ภาษาในชุมชนและแวดวงการใช้ภาษานอกชุมชน มีการใช้ภาษาปกาเกอะญอในการสนทนาภายในกลุ่ม และใช้ภาษาไทยมาตรฐานหรือภาษาไทยถิ่นเหนือเมื่อต้องสนทนาภายนอกกลุ่มกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาแม่เดียวกัน


          2) การดำรงอยู่ของภาษาปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลาง ปรากฏใน 4 ด้าน คือ บทเพลง ศาสนา การศึกษา และ วัฒนธรรมพื้นบ้าน การดำรงอยู่ของภาษาที่ปรากฏมีความสัมพันธ์กับความเชื่อ วิถีชีวิต และการใช้ชีวิตประจำวันของคนในชุมชน โดยมีภาษาเป็นตัวเชื่อมค่านิยม วัฒนธรรม ประเพณี และเชื่อมความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ชาวปกาเกอะญอในชุมชนบ้านกลางจึงมีความผูกพัน ภูมิใจและหวงแหนภาษาของตนเอง และยังคงอนุรักษ์ภาษาถิ่นของตนในธำรงอยู่ในสังคมต่อไป


          จากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันของการใช้ภาษาในชุมชนบ้านกลางจึงถูกจัดไว้ในกลุ่ม 6a (มีพลัง) ในมาตร EGIDS โดยมีข้อเสนอแนะว่า ชาวบ้านควรจะรักษาภาษาปกาเกอะญอให้คงอยู่เช่นนี้ต่อไป อนุรักษ์ ส่งเสริม และพัฒนาเผยแผ่ภาษาให้ขยายกว้างขึ้น เพื่อให้ภาษาปกาเกอะญอเลื่อนขึ้นไปอยู่ในกลุ่ม 5 (ภาษาเขียน) และเพื่อให้มีการใช้ภาษาพูดและภาษาเขียนอย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คำแสน มะโน. ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้านบ้านกลาง. สัมภาษณ์, 25 สิงหาคม 2562.

คำแสน มะโน. บทเพลงในหนังสือเพลงภาษาปกาเกอะญอ. สัมภาษณ์, 11 มกราคม 2563.

ทวีวัฒน์ ชมพูทอง. บทเพลงวันคริสต์มาส. สัมภาษณ์, 19 กุมภาพันธ์ 2563.

นฤมล ลภะวงศ์ และอนุรักษ์ ปัญญานุวัฒน์ (2557). กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกล่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองมณฑา ตําบลแม่วิน อําเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ ,10(2), 44-55. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org.

สุทธิณี พรหมกันดร (2560). การใช้ภาษาและพลังชีวิตภาษาที่มีการพลัดถิ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษาภาษาอีสาน ในจังหวัดพะเยา. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(2), 86-116. สืบค้นจาก https://www.tci- thaijo.org.

สมคิด ปินตา. บทเพลงในหนังสือเพลงภาษาปกาเกอะญอ. สัมภาษณ์, 11 มกราคม 2563.

ศิวนันท์ มะโน. วัฒนธรรมพื้นบ้านปกาเกอะญอ. สัมภาษณ์, 18 กุมภาพันธ์ 2563.

ศรีจันทร์ มะโน. บทเพลงในหนังสือเพลงภาษาปกาเกอะญอ. สัมภาษณ์, 12 มกราคม 2563.