การศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมค่าวของแม่ครูจันทร์ดี จันทร์หนิ้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมค่าวของ แม่ครูจันทร์ดี จันทร์หนิ้ว มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาศิลปะการใช้ภาษา ด้านการใช้คำ เช่น การใช้คำซ้อน การใช้คำซ้ำ การใช้คำเรียกขาน ศึกษาด้านการใช้ความเปรียบ เช่น การใช้ความเปรียบแบบอุปมาอุปไมย การใช้ความเปรียบแบบอุปลักษณ์ การใช้ความเปรียบแบบสัญลักษณ์ และศึกษาด้านลีลากลอน เกี่ยวกับรสในวรรณคดีที่แม่ครูจันทร์ดีได้ประพันธ์ไว้ในวรรณกรรมค่าว การศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในวรรณกรรมค่าวของ แม่ครูจันทร์ดี จันทร์หนิ้ว ที่ผู้วิจัยได้รวบรวมมาศึกษานั้นมีทั้งหมดจำนวน ๗ เรื่อง คือ คือ ๑) ค่าวฮ่ำสอนลูกผู้หญิง ๒) ค่าวคนจ๋นพัดถิ่น ๓) ค่าวห่วงทรัพยากร ๔) ค่าวทำบุญฮ่วมน้อง ๕) ค่าวฮ่ำกำปอน ๖) ค่าวความสามัคคี ๗) ค่าวส่งความสุขในวันปี๋ใหม่ วรรณกรรมค่าวของ แม่ครูจันทร์ดี จันทร์หนิ้ว จึงนับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจและควรค่าแก่การการศึกษาด้านการใช้ภาษา เพราะ ภาษาที่ใช้ส่วนใหญ่จะผสมผสานระหว่างภาษาคำเมืองมีความเป็นเอกลักษณ์กับภาษากลาง จึงทำให้สามารถเข้าใจได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังสอดแทรกแนวคิด หลักความเปรียบแฝงความหมายของหลักคำสอนแนวปฏิบัติในทางที่ดีงามแก่บุคคลทุกเพศทุกวัยให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม สิ่งเหล่านี้จึงสามารถนำไปปรับใช้ได้กับทุกยุคทุกสมัย วรรณกรรมค่าวจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ควรจะมองข้ามหากแต่เราควรที่จะรู้จักอนุรักษ์สืบสานไว้เพื่อที่จะได้นำมาเป็นมรดกทางด้านของภาษาให้บุคคลชนรุ่นหลังได้สามารถศึกษาต่อไปไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา ปราบปัญจะ. (๒๕๕๓). การศึกษาลีลาการใช้ภาษาและกลวิธีการเขียนของ ว.วชิรเมธี. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ
เนตรทราย คงอนุวัฒน์. (๒๕๕๐). ศึกษาศิลปะการใช้ภาษาในนวนิยายของวัฒน์ วรรลยางกูล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. กรุงเทพฯ
บุญเกิด รัตนแสง. (๒๕๕๓). เกร็ดวรรณคดี.(พิมพ์ครั้งที่ ๑) กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์
ปราโมทย์ สกุลรักความสุข. (๒๕๕๐). ความเปรียบเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ในวรรณคดียอพระเกียรติฯ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ
พระครูสถิต จิตตสังวร. (๒๕๕๕). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คร่าวร่ำคำสอนเจ้าราช. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่
เริงชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๓). หลักการประพันธ์. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์
เริงชัย ทองหล่อ. (๒๕๕๗). ภาษาไทย ม.๔-๖. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์
วิเชียร เกษประทุม. (๒๕๕๘). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) กรุงเทพฯ: เพิ่มทรัพย์การพิมพ์
หทัยวรรณ ไชยะกุล. (๒๕๕๕). วรรณกรรมล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่
หทัยวรรณ ไชยะกุล. (๒๕๕๘). ฉันทลักษณ์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) เชียงใหม่: มิ่งเมือง
อุดม รุ่งเรืองศรี.(๒๕๔๖). วรรณกรรมล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ ๑) กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย