อำนาจของภาษาที่มีต่อวาทกรรม: อำนาจของวาทกรรมชาตินิยมในเพลงปลุกใจ

Main Article Content

ปิยมาศ มาวงศ์

บทคัดย่อ

 


      บทความวิจัยเรื่องนี้ทำขึ้นเพื่อเผยแพร่อำนาจของภาษาที่มีต่อวรรณกรรม ชาตินิยม อุดมการณ์ ที่สื่อออกมาในรูปแบบของเพลงปลุกใจที่ทำให้คนไทยหรือบุคคลที่รักในความเป็นชาตินิยม รักในอุดมการณ์ของตนเอง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้อำนาจทางวาทกรรมมีอิทธิพลต่อจิตใจและการแสดงของตัวบุคคล


       วิธีการเก็บข้อมูลโดยศึกษาเอกสารและข้อมูลเบื้องต้นที่เกี่ยวข้องกับวาทกรรม วิจัย วิทยานิพนธ์ที่บ่งบอกถึงวาทกรรมต่าง ๆ เช่น วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ประเด็นหาสังคม  ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเกี่ยวข้องกับวาทกรรม วาทกรรมประกอบสร้างสังคมและวัฒนธรรม  วาทกรรมมีหน้าที่ด้านอุดมการณ์ เป็นต้น ข้อมูลถูกนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลทางด้านวาทกรรมที่มีอยู่ในเพลงปลุกใจ


      ผลการศึกษาสรุปได้ว่า อำนาจของภาษาวาทกรรมที่ส่งผลต่อจิตใจของมนุษย์มีทั้งระดับสูงและต่ำ ระดับสูงจะเป็นลักษณะภาษาวาทกรรมที่เป็นทางการ ให้ความรู้สึกจริงจังและเป็นหลักการ ส่วนระดับต่ำจะเป็นแบบไม่เป็นทางการสื่อผ่านวรรณศิลป์และท่วงทำนองเพลง วาทกรรมเหล่านี้เป็นการสื่อสารที่ให้ทั้งความน่าเชื่อถือและความพึงพอใจ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นอีกว่าเพลงปลุกใจทำให้สังคมไทยให้ความสนใจเรื่องความคงอยู่ ความมั่นคงของชาติ รักชาติ อุดมการณ์ ความเป็นคนไทย ความรักความสามัคคีของคนในชาติ และสิ่งเหล่านี้เอื้อประโยชน์กลับมาสู่รัฐบาลในลักษณะของ “รัฐบาลนิยม” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมากจาก “วาทกรรมภาษาชาตินิยม”

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

แก้ว อัจฉริยะกุล เอื้อ สุนทรสนาน. (2542). เพลง กสิกรไทย. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/pkkasetkol/ksikr-thiy.

ธงชัย หวานแก้ว. (2522). การปลูกฝังความรักชาติตามที่ปรากฏในบทละครพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ณัฐพร พานโพธิ์ทอง. (2556). วาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ตามแนวภาษาศาสตร์: แนวคิดและการนำมาศึกษาวาทกรรมในภาษาไทย. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิมพาภรณ์ บุญประเสริฐ. (2555). วาทกรรมชาตินิยมของรัฐบาลไทย ตั้งแต่ พ.ศ.2475-2550. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ภาษาไทย) สาขาภาษาไทย ภาควิชาภาษาไทย. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรเพ็ญ ฮั่นตระกูล. (2546). พัฒนาการของลัทธิชาตินิยม, วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 26(1), น. 11-57

ยืนยง โอภากุล. (2559). เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว. สืบค้นจาก https://xn--72c9bva0i.meemodel.com/เนื้อเพลง/ขวานไทยใจหนึ่งเดียว_คาราบาว

ศศิ เสตะจันทร์. (2537). การแพร่ประชาธิปไตยของรายการสนทนาทางวิทยุระหว่าง นายมั่น ชูชาติ กับ นายคง รักไทย ช่วง พ.ศ.2484-2486. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2552). จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. เชียงใหม่: พิมลักษณ์