พิธีสารเพื่อการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทางอากาศ เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร ค.ศ.2000 และปัญหากฎหมาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับพิธีสารเพื่อการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ซึ่งพบว่าพิธีสารนี้มีปัญหาทางกฎหมายต่อการปรับใช้ในแต่ละรัฐภาคี จึงต้องหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพิธีสารพร้อมเสนอแนวทางในการอนุวัติการกฎหมายภายในประเทศให้รองรับพิธีสาร ซึ่งงานวิจัยนี้เป็นการค้นคว้าจากหนังสือ และบทความจากฐานข้อมูลทั้งใน และต่างประเทศเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์
จากการศึกษาพบว่าสถานการณ์ของการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้น โดยการกระทำความผิดมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่มีความเชื่อมโยงทั่วโลก ซึ่งพบว่าพิธีสารนี้มีปัญหาทางกฎหมายทั้งเรื่องตัวบทบัญญัติ เช่น การกำหนดคำนิยามของการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน นอกจากนี้ยังพบปัญหาในทางปฏิบัติ เช่น เรื่องมาตรการป้องกัน และมาตรการความร่วมมือ เรื่องการคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหาย และเรื่องการปรับใช้พิธีสาร สำหรับกรณีประเทศไทยนั้นได้ร่วมลงนามในพิธีสารหากแต่ยังมิได้ให้สัตยาบัน จึงมีความจำเป็นต้องตรวจสอบ และแก้ไขปัญหากฎหมายภายในประเทศ ทั้งนี้ปัจจุบันประเทศไทยได้มีร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน พ.ศ.... ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาความเห็นชอบ จึงไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย อย่างไรก็ตามการศึกษานี้ได้ทำการเปรียบเทียบกฎหมายเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุง หรือแก้ไขกฎหมายทั้งร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐาน พ.ศ.... และพระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยปัจจุบันประเทศไทยใช้พระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ในการพิจารณาคดีความผิด ทั้งนี้ผู้เขียนได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแต่ละฉบับให้สมบูรณ์ที่สุด พร้อมทั้งเลือกฉบับกฎหมายที่จะใช้ปรับปรุงแก้ไขให้เป็นกฎหมายภายในประเทศเพื่ออนุวัติการกฎหมายให้สอดคล้องกับพิธีสาร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กรวิไล เทพพันธุ์วิไล. (2558). ความผิดฐานปลอมหนังสือเดินทางในมิติป้องกันปราบปรามและคุ้มครอง, 6 กันยายน 2563. https://prachatai.com/journal/2014/07/54792
ธนวรรณ เตชะวิจิตร์. (2552). พันธกรณีของประเทศไทยในกรณีที่เข้าเป็นภาคีพิธีสารเพื่อการต่อต้านการลักลอบขนผู้โยกย้ายถิ่นฐานทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ค.ศ. 2000 เพิ่มเติมอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะองค์กร ค.ศ. 2000. ปริญญานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นริศ วงศ์ตระกูล. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายสหภาพยุโรปกับกฎหมายของประเทศสมาชิก และการยอมรับกฎหมายสหภาพยุโรปของเบลเยี่ยมและเยอรมัน, 5 กุมภาพันธ์ 2564. http://oia.coj.go.th/th/file/get/file/20190208e4da3b7fbbce2345d7772b0674a318d5133451.pdf
ประธาน วัฒนวาณิชย์. (2548). รายงานสรุปผลการวิจัยเรื่องการใช้ถ้อยคำในอนุสัญญาฯสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามาติที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรและพิธีสารแนบท้าย. กรุงเทพฯ: สถาบันกฎหมายอาญา สำนักงานอัยการสูงสุด.
ปิยวรรณ สัชทอง. (2549). เหยื่อในความผิดฐานค้ามนุษย์. นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.
เพชรณพัฒน์ ศรีวุทธิยประภา. (2561). หลักเกณฑ์ในการพิจารณาความเป็นสนธิสัญญา ของตราสารระหว่างประเทศ. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 16(3), 116-127.
สิริรัฐ สุกันธา. (2557). การเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามสัญชาติพม่าในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สำนักงานคดีค้ามนุษย์ สำนักงานอัยการสูงสุด. (2562). เปรียบเทียบการค้ามนุษย์ และการลักลอบขนผู้ย้ายถิ่นฐาน, 30 กันยายน 2562. http://www.caht.ago.go.th/index.php/22?showall= &limitstart=
Abdelnaser Aljehani. (2015). The Legal Definition of the Smuggling of Migrants in Light of the Provisions of the Migrant Smuggling Protocol. The Journal of Criminal Law, 79(2), 122-137.
Andreas Schloenhardt. (2017). Barriers to Ratification of the United Nations Protocol Against the Smuggling of Migrants. Asian Journal of International Law, 7(1), 13-38.
Andreas Schloenhardt. (2016). National Laws Relating to Smuggling of Migrants In Council of Europe Member States. European Committee on Crime Problems, 27–30 June 2016. Council of Europe. Strasbourg: CDPC.
Anne Gallagher. (2002). Trafficking Smuggling and human rights: tricks and treaties, 10 November 2022. https://www.fmreview.org/development-induced-displacement/Gallagher.
C. Brolan. (2002). An Analysis of the Human Smuggling Trade and the Protocol against the Smuggling of Migrants by Land, Air and Sea (2000) from a Refugee Protection Perspective. International Journal of Refugee Law, 14(4), 561-596.
Freddy Gazan and others. (2004). LEGISLATIVE GUIDES FOR THE IMPLEMENTATION OF THE UNITED NATIONS CONVENTION AGAINST TRANSNATIONAL ORGANIZED CRIME AND THE PROTOCOLS THERETO. New York: United Nations
J. Kelly. (2010). People Smugglers: Saviours or Criminals? A Report on 16 Convicted People Smugglers in Australia between 2001-2006. Sydney: Australian Lawyers for Human Rights.
Milan Remac and Gertrud Malmersjo. (2016). Combatting migrant smuggling into the EU Briefing Implementation Appraisal. European Parliamentary Research Service, April 2016. Brussels: European Parliamentary.
Natalia Ollus. (2004). Protocol Against the Smuggling of Migrants by Land, Air and Sea, Supplementing the United Nations Convention Against Transnational Organized Crime: A Tool for Criminal Justice Personnel. WORK PRODUCT OF THE 122ND INTERNATIONAL TRAINING COURSE, 2 September-24 October 2004. UNAFEI Tokyo. Tokyo: UN.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2011). In-Depth Training Manual on Investigating and Prosecuting the Smuggling of Migrants. Vienna: United Nations.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2012). International Framework for Action To Implement the Smuggling of Migrants Protocol. Vienna: Vienna International Center.
United Nations Office on Drugs and Crime. (2015). UNODC AND THE SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS, 23 มีนาคม 2566. https://www.unodc.org/documents/SDGs/UNODC-SDG_brochure_LORES.pdf