การพัฒนารูปแบบการสอน 5 REs ตามแนวคิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์ร่วมกับอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสามารถเชิงพุทธิปัญญาด้านความตั้งใจ

Main Article Content

สุจินตา คำเงิน
ลำไย สีหามาตย์
สุวิทย์ อุปสัย
วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอน 5 REs ที่ใช้แนวคิดประสาทวิทยศึกษาศาสตร์และอภิปัญญาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ และความสามารถเชิงพุทธิปัญญาด้านความตั้งใจสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน 5 REs ที่ส่งผลต่อความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษและความสามารถเชิงพุทธิปัญญา ด้านความตั้งใจของนักเรียน วิธีดำเนินการวิจัยและพัฒนาแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาความต้องการจำเป็น/สังเคราะห์แนวคิด/ทฤษฎี/พัฒนาร่างต้นแบบรูปแบบการสอน ระยะที่ 2 นำร่างรูปแบบการสอนไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างขนาดเล็กและหาดัชนีประสิทธิผล ระยะที่ 3 ศึกษาผลการใช้ของรูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง Pretest-Posttest Control Group Design กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ ปีการศึกษา 2565 ภาคเรียนที่ 1 โดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองจำนวน 31 คน ได้รับรูปแบบการสอนที่พัฒนาขึ้น และกลุ่มควบคุมจำนวน 34 คน ได้รับการสอนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบปฏิบัติด้านการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษ และ 4) แบบวัดความตั้งใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติ Hotelling T2


ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสอน 5 REs ที่พัฒนาแล้ว มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นไฝ่รู้ (Reception) 2) ขั้นฝึกฝน (Rehearsal) 3) ขั้นสร้างความรู้จากสถานการณ์ใหม่ (Refreshing) 4) ขั้นฝังใจจำ (Recalling) และ 5) ขั้นตรวจสอบและประเมินผล (Refection) โดยนำมาสร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 80.79/83.29 2. ผลการใช้รูปแบบการสอน 5 REs พบว่า ค่าเฉลี่ยความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และค่าเฉลี่ยความสามารถเชิงพุทธิปัญญาด้านความตั้งใจของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน. (2561). การวิจัยและพัฒนา.วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 8(2), 30-41.

กาญจนาพร รุจิโฉม. (2561). การสื่อสารภาษาอังกฤษของคนไทยกับการดำเนินชีวิตในศตวรรษที่ 21. วารสารศิลปะการจัดการ. 2(3), 199-210.

กิตติศักดิ์ วรรณทอง, ทัศนีย์ บุญเติม และปณคพร วรรณานนท์. (2556). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ สมรรถนะสมองเชิงพุทธิปัญญาและผลงานสร้างสรรค์ของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการใช้สื่อพหุผัสสะที่ใช้ความรู้ประสาทวิทยาศาสตร์เป็นฐาน ประกอบการสอน.วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 8(2), 1-13.

เจนจิรา วิยาสิงห์.(2561). การศึกษาความสามารถเชิงพุทธิปัญญาความสามารถเชิง Metacognition และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่อของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้รูปแบบการสอนCMEN.วารสารประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 8-22.

ชัชรีย์ บุนนาค.(2562). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทย และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ ปี 2564 – 2568. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2. “Graduate School Conference 2018”, 15 พฤศจิกายน 2562 ณ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

นิภาวรรณ นวาวัตน์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ร่วมกันด้วยการเสริมศักยภาพที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนเพื่อการสื่อสารภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต,สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน (ภาษาอังกฤษ) บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ปัณฑ์นพ ผจญทรพรรค, ณัฐวุฒิ โพธิ์ทักษิณ และนรินทร์ มุกมณี. (2564). ปัญหาการเรียนภาษาอังกฤษของคนไทย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 6(3), 911-920.

เผชิญ กิจระการ และสมนึก ภัททิยธนี. (2545). ดัชนีประสิทธิผล. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 8(2), 30-36.

ฤทธิไกร ไชยงาม,กันยารัตน์ ไวคำ และหทัย ไชยงาม. (2561).ปัญหาและแนวทางการแก้ไขเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนภาษาอังกฤษของชุมชนเรียนรู้ทางวิชาชีพครูผู้สอนภาษาอังกฤษในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,12(2), 7-17.

วาสนา รุ่งอนุรักษ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้เชิงออกแบผสมผสานกับประสาทวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือการทำงานของสมองและผลการเรียนรู้วิชาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่. (2564). สารสนเทศทางการศึกษา ปีการศึกษา 2564. เอกสารหมายเลข 1/2564 .กลุ่มส่งเสริมการศึกษาทางไกลเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

สุวิทย์ อุปสัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิด constructivism และmetacognition ร่วมกับความรู้ประสาทวิทยศึกษาศาสตร์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถด้านคำศัพท์วิทยาศาสตร์สุขภาพ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิมล ว่องวานิช .(2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anderson ,M.C. (2008). Working memory as a predictor of written arithmetical skills in children: The importance of central executive functions. British Journal of Educational Phychology. 78(2), 181-203.

Baker, L., & Brown, A. L. (1984). Metacognitive skills and reading. In P. D. Pearson,R. Barr,M.L.Kamil and P.Mosenthal (Eds.),Handbook of Reading Research(pp.353-394). New York : Longman.

Bertrand,R, & Camos,V.(2015).The role of attention in preschoolers’ working memory. Cognitive Development, 33(1),14-27.

Cambell, Donald T. & Stanley, Julian T. (1969). Experimental and Quasi-Experimental Designs for Research. Boston: Houghton Mifflin Company.

Education First. (2018). The world’s largest ranking of countries and regions by English skills. Retrieved May 15, 2022, from https://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2018/ef-epi-2018-english.pdf

Education First. (2021). The world’s largest ranking of countries and regions by English skills. Retrieved May 15, 2022, from EF Website: https://www.ef.com/assetscdn/WIBIwq6RdJvcD9bc8RMd/cefcom-epi-site/reports/2021/ef-epi-2021-english.pdf

Flavell, J. H. (1985). Cognitive development (2nd ed.). Englewood Cliffs: NJ Prentice-Hall.

Jacquemot.C & Scott, K.S. (2006). What is the relationship between phonological short-term memory and speech processing? Trends in Cognitive Sciences. 10(11),480-486.

Joyce,B and Weil,M. (2009). Model of Teaching.7th ed. Boston: Pearson Education.

O’Neil;&Abedi. (1996). Reliability and Validity of a State Metacognition Inventory: Potential for Alternative Assessment. The Journal of Education Research,89(4): 234-235

Oxford, R.L. (1990). Language learning strategies: What Every Teacher should know. Boston: Heinle & Heinle.

Sarter, M., Bruno, J. P., Givens, B. (2003). Attentional functions of cortical cholinergic inputs: What does it mean for learning and memory?. Neurobiology of learning and memory, 80(3), 245-256.

Slavin, R. E. (2003). Educational psychology: Theory and practice. Boston, Mass.: Allyn and Bacon.

Srikoon,S.,Bunterm,T.,Netthanomsak,T.,Ngang,T.K. (2017). A Comparative Study of the Effects of the Neurocognitive-based Model and the Conventional Model on Learner Attention, Working Memory and Mood. Malaysian Journal of Learning and Instruction, 14(1), 83-110.