เลือดข้นคนจาง : การวิเคราะห์ผลกระทบที่เพศชายได้รับจากสังคมชายเป็นใหญ่

Main Article Content

พันวัสสา แก้วกำเนิด
สิทธานุช พูลผล
จตุวิทย์ แก้วสุวรรณ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบที่เพศชายได้รับ จากสังคมชายเป็นใหญ่ ผ่านบทละครโทรทัศน์เรื่อง เลือดข้นคนจาง (2561) โดยวิเคราะห์ตัวละครชาย 4 ตัว ได้แก่ ประเสริฐ เมธ พีท และก๋วยเตี๋ยว ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ที่วิเคราะห์บทละครตามทฤษฎีชายเป็นใหญ่ และแนวคิดจิตวิเคราะห์ พบว่า ผลกระทบที่เพศชายได้รับจากสังคมชายเป็นใหญ่ แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ แบ่งตามความอาวุโส และแบ่งตามเพศสภาพ ซึ่งผลกระทบที่ได้รับโดยแบ่งตามความอาวุโส ปรากฏในด้านของเพศชายที่มีอายุมากกว่า เช่น ตั่วซุง จะมีความอาวุโสมากกว่าพี่น้องเพศชายในรุ่นเดียวกัน รวมถึงการส่งต่อความคาดหวังอันเป็นผลมาจากการเลี้ยงดู โดยครอบครัวของลูกชายคนโตมักตั้งความคาดหวังในการดำเนินชีวิตมากกว่าครอบครัวของลูกชายคนเล็ก และผลกระทบที่ได้รับโดยแบ่งตามเพศสภาพ มีทั้งผลกระทบที่เพศชายมีต่อเพศชายด้วยกันเอง ผลกระทบที่เพศชายได้รับจากเพศหญิงที่มีความอาวุโสกว่า และผลกระทบที่มาจากความสนใจในครอบครัว ซึ่งผลกระทบทั้งหมดเกิดจากแนวคิดปิตาธิปไตย ในครอบครัวที่กดทับกันมารุ่นสู่รุ่น และการกดทับนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้อีกฝ่ายพัฒนาตนเองไปในทางที่ดีขึ้นหรือในทางกลับกัน ก็กดทับเพื่อให้อีกฝ่ายอยู่ต่ำกว่านั่นเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกษม ปราณีธยาศัย. (2544). ผู้ชายในครอบครัวจีน กรณีศึกษา : ครอบครัวคนจีนแต้จิ๋วใน ตำบลมหาชัย อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2555). ปิตาธิปไตย : ภาพสะท้อนแห่งความไม่เสมอภาคระหว่างชายหญิงในสังคมเอเชีย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 4(2), 30-46.

เดโช สวนานนท์. (2519). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ธนวัฒน์ ปัญญานันท์ และ ถิรวัฒน์ วรรณพฤกษ์. (2565). ผีผู้ชายกับความอ่อนแอของความเป็นชายในสังคมปิตาธิปไตยไทย กรณีศึกษา ภาพยนต์เรื่องโรงแรมผี (2545) เดอะเลตเตอร์ เขียนเป็นส่งตาย (2549) และผีไม้จิ้มฟัน (2550). วารสารการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 10(1), 325-354.

ธนสิน ชุตินธรานนท์. (2564). บทรำพึงในนวนิยายไทยเรื่องเลือดข้นคนจาง. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 9(2), 160-175.

พลากร เจียมธีระนาถ. (2554). วาทกรรมชายเป็นใหญ่ในภาพยนต์ไทยที่ให้ความสำคัญแก่สตรี. ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พาฝัน หน่อแก้ว. (2565). ‘มายาคติ’ และ ‘ความเชื่อ’ ในโลกชายเป็นใหญ่ ที่ยังคงตีตรากดขี่ความเท่าเทียม ทางเพศ. สืบค้น กุมภาพันธ์ 22, 2565 จาก https://themomentum.co/feature-myths-of-gender-equality/

มิเชล ซิมบาลิส โรซัลโด. (1974). ทฤษฎีเกี่ยวกับ ผู้หญิงวัฒนธรรมและสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม.

เสนาะ เจริญพร. (2548). ผู้หญิงกับสังคมในวรรณกรรมไทยยุคฟองสบู่. กรุงเทพฯ: มติชน.

Bhasin, Kamla. (1993). What is Patriarchy. New Delhi.

Freud, Sigmund. (1921). Group Psychology and The Analysis of the Ego Sigmund Freud. New York: Bantam Books.