พฤติกรรมสารสนเทศของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนเพื่อเสริมสร้างพฤฒิพลังในตนเองสำหรับประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

โชคธำรงค์ จงจอหอ
สุวิทย์ วงษ์บุญมาก

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ใน 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ความต้องการสารสนเทศ (2) การแสวงหาสารสนเทศ และ (3) การใช้สารสนเทศและปัญหาในการใช้สารสนเทศ เพื่อเสริมสร้างพฤฒิพลังในตนเองให้กับประชากรผู้สูงอายุในจังหวัดกำแพงเพชร เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ กึ่งโครงสร้าง การเลือกผู้ให้ข้อมูลหลักใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและตีความข้อสรุปแบบอุปนัย สำหรับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่นำมาใช้ในการวิจัย คือ ทฤษฎีพฤติกรรมสารสนเทศซึ่งเป็นแนวคิดที่ศึกษาพฤติกรรมทั้งมวลของผู้ใช้สารสนเทศ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 18 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ระหว่าง 30-39 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร และมีประสบการณ์ในการให้บริการผู้สูงอายุมาแล้วไม่ต่ำกว่า 11 ปี สำหรับผลการศึกษาพฤติกรรมสารสนเทศ พบว่า (1) ผู้ให้ข้อมูลหลักต้องการสารสนเทศเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับการให้บริการเข้าถึงสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุมากที่สุด (2) การแสวงหาสารสนเทศผู้ให้ข้อมูลหลักได้ใช้หลากหลายช่องทาง ได้แก่ หนังสือ วารสาร เว็บไซต์ คลิปวิดีโอ แพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้สารสนเทศเกี่ยวกับผู้สูงอายุ รวมไปถึงสอบถามตัวผู้สูงอายุเองเพื่อให้สามารถออกแบบกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้พฤฒิพลังและกิจกรรมการพัฒนาอาชีพเสริม ให้กับตรงกับความต้องการของผู้สูงอายุมากที่สุด (3) การใช้สารสนเทศ ผู้ให้ข้อมูลหลักได้ใช้สารสนเทศตาม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการให้บริการสารสนเทศสำหรับผู้สูงอายุ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และด้านการสนับสนุนอาชีพเสริมสำหรับผู้สูงอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bates, M. J. (2010). Information behavior. In M. J. Bates and M. N. Maack (Eds.), Encyclopedia of Library and Information Sciences (3rd ed.). New York: CRC Press.

Butler, R. (2019). Health information seeking behaviour: the librarian's role in supporting digital and health literacy. Health information and libraries journal, 36(3), 278-282.

Case, D. O. and Given, L. M. (2016). Looking for information: A survey of research on information seeking, needs, and behavior (4th ed.). UK: Emerald.

Cheunwattana, A. (2021). Information Behavior and Services. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]

Chongchorhor, C., and Wongboonmak, S. (2023). A Current Condition and Approaches of Public Libraries for Promoting Active Aging of Senior Population in Kamphaeng Phet Province. TLA Bulletin (Thai Library Association), 67(1), 40–60. [In Thai]

Fisher, K. E. and Julien, H. (2009). Information Behavior. In Annual Review of Information Science and Technology. Medford, NJ: Information Today.

Leckie, G. J., Pettigrew, K. E., and Sylvain, C. (1996). Modeling the information seeking of professionals: a general model derived from research on engineers, health care professionals, and lawyers. Library Quarterly, 66(2), 161-193.

Luo, L. and Park, V.T. (2013). Preparing public librarians for consumer health information service: A nationwide study, Library and Information Science Research, 35(4): 310-317.

Prasartkul, P. (2014). Situation of Thai Elderly 2013. Bangkok: Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. [In Thai]

Puttapithakporn, S. (2011). Information Behavior in Information Organization and Retrieval. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University. [In Thai]

Saiyarod, P. (2018). Aging Society. In Panyakaew, W. (Eds.), Introduction to Sociology (4th ed.). Chiang Mai: Chiang Mai University. [In Thai]

Savolainen, R. (2009). Information use and information processing: Comparison of conceptualization. Journal of Documentation, 66(2), 187-207.

Srisakda, R. and Boonchauy, K. (2017). The Operations of Songkhla Provincial Public Library Based on Governmental Measures to Be Ready for the Era of Aging Society. Journal of Humanities and Social Sciences, Thaksin University, 12(1), 165–179. [In Thai]

Sukkharom, T. (2019). The Development of Dhamma Books Service Usage of Elderlies in Mueang District, Surat Thani Province. Narkbhutparitat Nakhon Si Thammarat Rajabhat University, 11(1): 63-70. [In Thai]

Upatum, P. (2020). Information Service for Empowering the Elderly. Suthiparithat journal, 36(96): 223-232. [In Thai]

Von Hoerde, P. (2023). Factors affecting elderly people to participate “Careers future book promotion activity” at Phuket Knowledge Park. TLA Bulletin (Thai Library Association), 67(1), 141–156. [In Thai]

Wareesa-ard, A. and Warunyanugrai, S. (2018). Health Information Illiteracy: Problems of Library Staffs and Role of Librarians in Health Information Literacy Instruction. TLA Bulletin (Thai Library Association), 62(1), 16–29. [In Thai]

Wilson, T. D. (2000). Human information behaviour. Informing Science, 3(2), 49-55.