กระบวนการจัดการเรียนรู้ S.M.A.R.T. Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองของนิสิตระดับอุดมศึกษาในห้องเรียนอัจฉริยะ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ S.M.A.R.T. model และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้ S.M.A.R.T. model ในห้องเรียนอัจฉริยะ กลุ่มเป้าหมายคือนิสิตระดับปริญญาตรี ที่ลงเรียนรายวิชาเลือกเสรี สสน 02 ออกแบบความรัก จำนวน 60 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย กระบวนการจัดการเรียนรู้ S.M.A.R.T. model ในห้องเรียนอัจฉริยะ และแบบสอบถามความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองในห้องเรียนอัจฉริยะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (𝑥̅) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการเรียนรู้ S.M.A.R.T. model ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ การกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน (S: Stimulation) การสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ (M: Motivation) การเรียนรู้เชิงรุก (A: Active learning) การนำเสนอ (R: Report) และ การถ่ายโยงการเรียนรู้ (T: Transfer of learning) โดยผลจากการวิจัยพบว่ากระบวนการจัดการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเอง S.M.A.R.T. model มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.70/83.86 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ และ 2) หลังกระบวนการจัดการเรียนรู้ S.M.A.R.T. model ในห้องเรียนอัจฉริยะ พบว่ากลุ่มเป้าหมายมีความสามารถในการเรียนรู้ด้วยการกำกับตนเองในห้องเรียนอัจฉริยะ สูงกว่า ก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
ชูชีพ อ่อนโคกสูง. (2550). จิตวิทยาศัพท์. กรุงเทพฯ: ภาควิชาแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นิตญา ก่อมขุดทด และสุริยะ พุ่มเฉลิม. (2561). การจัดการเรียนการสอนรูปแบบห้องเรียนอัจฉริยะในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร. ตรัง วิจัย ประจำปี 2561.
ภูชิศ สถิตพงษ์. (2562). ห้องเรียนอัจฉริยะ: นวัตกรรมการศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(3), 237.
ภัทราภรณ์ สังข์ทอง. (2550). พัฒนาการของการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ที่มีการรับรู้ความสามารถของตนเองต่างกัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี เขต 1. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2551). เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ Mentor Coached Think-pair-Share เพื่อ เพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการเรียนรู้ออนไลน์, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 18(1), 99 - 105.
สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม “คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้” วัยที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2558 คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.
เอื้ออารี ทองแก้วจันทร. (2022). การพัฒนาความสามารถในการผลิตสื่อสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้การเรียนรู้จากการทำงานแบบผสมผสานและเสริมศักยภาพด้วยเทคโนโลยี. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 17(1), 312-325.
Bandura, A. (1977). Social learning theory New theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Fatimah Aljuaid. (2021). Self-efficacy and self-regulation as predictors of academic motivation among undergraduate students at Andrews University. Andrews University.
McCabe, L. A., Cunnington, M., และ Brooks-Gunn, J. (2003). The development of self-regulation in young children: Individual characteristics and environmental contexts. In R. F. Baumeister & K. D. Vohs (Eds.), Handbook of self-regulation: Research, theory, and applications, (340–356). https://psycnet.apa.org/record/2004-00163-016
Zimmerman, B. J. (1989). A social cognitive view of self-regulated academic learning. Journal of Educational Psychology, 81(3), 329–339. https://doi.org/10.1037/0022-0663.81.3.329