กลวิธีการใช้ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในคำปราศรัย ของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในคำปราศรัย ของ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง โดยศึกษาจากคำปราศรัยในโอกาสสำคัญต่าง ๆ ที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย จำนวน 1 เล่ม ได้แก่ เรื่อง ความคิดและวาทะสี จิ้นผิง สำนักพิมพ์แสงดาว ปีที่พิมพ์ 2558 โดยคัดเลือกคำปราศรัยในช่วงปี พ.ศ. 2555-2557 จำนวน 79 คำปราศรัย ที่มีการใช้ภาพพจน์ชัดเจนและเป็นคำปราศรัยในโอกาสสำคัญระดับประเทศและระหว่างประเทศ การวิจัยนี้ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ (Qualitative Content Analysis) ผ่านการจำแนกประเภท วิเคราะห์ความหมาย และตีความการใช้ภาพพจน์
ผลการวิจัยพบว่า คำปราศรัยของประธานาธิบดี สี จิ้นผิง มีการใช้ภาพพจน์ 4 ประเภทหลัก ได้แก่ 1) อุปมา ที่เปรียบเทียบแนวคิดนามธรรมกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การเปรียบสันติภาพ กับอากาศและแสงแดด 2) อุปลักษณ์ ที่แสดงถึงพลังและความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลง เช่น การเปรียบกระแสโลกกับพายุ 3) บุคลาธิษฐาน ที่ให้คุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตแก่สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น การเปรียบสงครามเป็นปีศาจและฝันร้าย และ 4) สัญลักษณ์ ที่ใช้อธิบายอัตลักษณ์และจุดยืนของประเทศ เช่น การใช้ DNA และสายเลือดเป็นสัญลักษณ์แทนรากเหง้าของประชาชาติจีน
การใช้ภาพพจน์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นกลยุทธ์การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดแนวคิดและนโยบายที่ซับซ้อนให้เข้าใจได้ง่าย รวมทั้งสะท้อนวิสัยทัศน์และนโยบายสำคัญของจีนในด้านการพัฒนาประเทศ การรักษาสันติภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการสื่อสารทางการเมือง การเรียนการสอนด้านภาษาและการสื่อสาร และการวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
ชาญวิทย์ ทัดแก้ว. (2565). จีนในยุคสี จิ้นผิง: การเมือง เศรษฐกิจ และการต่างประเทศ. ศูนย์จีนศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. นาคร.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2536). แลลอดวรรณกรรมไทย. โอเดียนสโตร์.
พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2552). ความเปรียบเทียบในวรรณกรรมแปลงพงศาวดารจีน ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2541). วิเคราะห์แนวคิดทางการเมืองในวรรณกรรมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475-2519: รายงานการวิจัย.ภาควิชาภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2562). การจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order) กับการปรับตัวทางการศึกษาของประเทศไทย. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 37(2), 59-66.
ศิริลักษณ์ บัตรประโคน. (2548). ทัศนะทางการเมืองและกลวิธีการนำเสนอที่ปรากฏในรวมเรื่องสั้นชุด "หลังอานบุรี" ของวินทร์ เลียววาริณ ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สี จิ้นผิง. (2559). ยุทธศาสตร์การบริหารประเทศ. มติชน.
อดิสรณ์ ประทุมถิ่น. (2563). กลวิธีการนำเสนอเนื้อหาเพื่อสื่อแนวคิดในพุทธธรรมของพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ) วัดท่าซุง จังหวัดอุทัยธานี ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
อดิสรณ์ ประทุมถิ่น, พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์, และพรหมพิสิฐ พันธ์จันทร์. (2561). วิเคราะห์การใช้ภาพพจน์เพื่อถ่ายทอด พุทธธรรมคำสอนด้านการเจริญพระกรรมฐานของพระราชพรหมยาน. มังรายสาร, 6(2), 17-26.
อักษรศรี พานิชสาส์น. (2562). The rise of CHINA จีน คิดใหญ่ มองไกล. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อักษรศรี พานิชสาส์น. (2566). ครบรอบ 10 ปี BRI: จีนคิดการใหญ่อะไร. 18 ตุลาคม 2566. สำนักข่าวอิศรา. https://www.isranews.org/article/isranews-article/123005-Aksornsri-2.html
Fairclough, N. (1995). Section A: Language, ideology and power. In Critical discourse analysis: The critical study of language (pp. 1-81).