ทุนทางสังคมวัฒนธรรมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาติพันธุ์ ในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางสังคมวัฒนธรรม ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น และภูมินิเวศชุมชนที่สามารถนำมาบริหารจัดการท่องเที่ยวของกลุ่มชาติพันธุ์ในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว รวมทั้งการพัฒนากลไกความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนชาติพันธุ์ในประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มนักท่องเที่ยว และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนทั้ง 4 แห่งในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาว ซึ่งประกอบด้วยบ้านน้ำห้า-ท่าแส บ้านเวียงเหนือ บ้านเพียงงาม และบ้านน้ำดี ตลอดจนการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่ชุมชน และการศึกษาดูงาน
ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนในแขวงหลวงน้ำทา สปป.ลาวทั้ง 4 หมู่บ้านต่างเป็นชุมชนที่มีศักยภาพทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรมนุษย์ และทุนทางสังคมวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของชุมชน รวมถึงองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาในมิติต่างๆที่เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างครบถ้วน รวมทั้งมีการบริหารจัดการการท่องเที่ยวภายในชุมชน และปรับใช้องค์ความรู้ด้านต่างๆ กับการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ซึ่งศักยภาพและทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนสามารถนำไปใช้ในการสร้างโปรแกรมการท่องเที่ยวภายในชุมชน และสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายความสัมพันธ์กับเครือข่ายการท่องเที่ยวในชุมชนใกล้เคียงในสปป.ลาว และประเทศไทย ส่วนกลไกความร่วมมือเพื่อเชื่อมโยงการท่องเที่ยวระหว่างชุมชนกับประเทศเพื่อนบ้านต้องใช้การประสานงานและความช่วยเหลือจากเครือข่ายองค์กรภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา ผลวิจัยยังชี้ให้เห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมยังใช้เป็นเครื่องมือและยุทธศาสตร์เชิงรุกในการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อความยั่งยืนของการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้ด้วย ที่สำคัญชุมชนจะต้องมีส่วนร่วมในการวิจัยและสร้างกลไกภายในชุมชนและสร้างข้อตกลงที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาการท่องเที่ยวในอนาคต
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
ชูกลิ่น อุนวิจิตร. (2557). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชูกลิ่น อุนวิจิตร.( 2551). การสร้างโปรแกรมท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองนักท่องเที่ยวบนเส้นทาง R3A. รายงาน
ผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์ เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชูกลิ่น อุนวิจิตร. (2554). การพัฒนาชุมชนต้นแบบของการท่องเที่ยวโดยชุมชน จังหวัดเชียงราย. รายงานวิจัยฉบับ
สมบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ชูศักดิ์ วิทยาภัค. (2554). การท่องเที่ยวกับการพัฒนา : พินิจหลวงพระบางผ่านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. เชียงใหม่ : ศูนย์วิจัยและบริการวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (ม.ป.ป). ก้าวต่อไป การท่องเที่ยวไทยในเวทีอาเซียน. สำนักประสานงานการพัฒนาและจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
ดำรง อุทยานิน. (2548). เกิดเป็นกำมุ. ปราณี วงษ์เทศ (แปล). กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.
พจนา สวนศรี. (2554). “การท่องเที่ยวโดยชุมชนกับความเป็นวิชาการ” ใน สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิชาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
ปทุมพร แก้วคำและคณะ. (2553). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวของชุมชนท้องถิ่น อำเภอเชียงแสนเพื่อเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน. สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด และคณะ. (2549). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง 2. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มิ่งสรรพ์ ขาวสอาดและคณะ. (2551). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น่ำโขง 3. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2556) . “มนุษยมิติและความเป็นชุมชนในศตวรรษที่ 21” ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา (บรรณาธิการ) ด้วยรัก เล่มที่ 3 ความเป็นครบครัวและชุมชนในสังคมไทย. รวมบทความในโอกาสศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา อายุ 72 ปี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สร้างสรรค์, หน้า 467-489.
สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555). อาเซียน รู้ไว้ ได้เปรียบแน่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
องค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) . (2555). หลักเกณฑ์ กระบวนการและประเภทของการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. สืบค้นเมื่อ30 กันยายน 2555, จาก http://www.dasta.or.th/th. .
Berkes, F.(2006). Common property resources: ecology and community-based sustainable development. Belhaven Press, online: HUhttp://www.cababstractsplus.org/ abstracts%5C/ Abstract.aspx?AcNo=19906709140U