การวิเคราะห์ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่ง: กรณีศึกษาบทเพลงของนักร้องหญิง ต่าย อรทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อจำแนกประเภทและอธิบายชนิดของภาษาภาพพจน์ที่ใช้ในบทเพลงของ ต่าย อรทัย และศึกษาภาษาภาพพจน์ในบทเพลงของต่าย อรทัย โดยวินิจฉัยในตัวของวัฒนธรรมและความหมายแฝงตามพื้นฐานของความสัมพันธ์ของวิถีการดำเนินชีวิต.โดยได้ทำการศึกษาตัวอย่างบทเพลงของ ต่าย อรทัยทั้งหมด 100 เพลง ซึ่งบทเพลงทั้งหมดถูกวิเคราะห์บนพื้นฐานของสองคุณลักษณะเด่นคือ ชนิดของภาษาภาพพจน์และความหมายทางวัฒนธรรม
ผลการศึกษาพบว่า ภาษาภาพพจน์ที่ปรากฏมีทั้งหมด 15 ชนิด ได้แก่ คำอุปมา คำซ้ำ คำสัมผัสสระ คำพาดพิง คำอธิษฐาน คำจินตภาพ คำอัตนัย การสร้างคำ คำสัญลักษณ์ คำสัมผัสอักษร คำประชดประชัน คำเปรียบเปรย คำที่ใช้ถ้อยคำขัดกัน, คำถามเชิงโวหาร และ คำอติพจน์ ชนิดของภาษาภาพพจน์ที่พบมากเป็นสามอันดับแรกคือ คำอุปมา คำซ้ำและคำสัมผัสสระ ซึ่งแต่ละชนิดพบมากถึงร้อยละ 31.79 ร้อยละ 22.14 และ ร้อยละ 10.00 ตามลำดับ นอกจากนี้ บทเพลงที่ขับร้องโดย ต่าย อรทัย ยังสะท้อนให้เห็นในด้านของเศรษฐกิจและสังคม วิถีการดำเนินชีวิต ความรักและความเชื่อทางศาสนาของสังคมไทยอีกด้วย การศึกษาดังที่ได้กล่าวมานี้ เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาเพลงลูกทุ่ง หรือ ภาษาภาพพจน์ รวมถึงสามารถนำไปประยุกต์ใช้สำหรับการศึกษาในเพลงประเภทอื่น ๆ หรือใช้ศึกษาบทเพลงของนักร้องคนอื่นๆได้ นอกจากนี้ การศึกษานี้ ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจถึง ความหมายแฝงและความหมายทางวัฒนธรรมของบทเพลงต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้งอีกด้วย
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Lakoff George and Johnson Mark. (2003). Metaphors we live by. London: The university of Chicago press.
Holmes, D. (1996). Concept of Figurative Language. AI. Richmond, London. pp.318.
https://en.wikipedia.org/wiki/Netherlandish_Proverbs
https://th.wikipedia.org/wiki/ต่าย_อรทัย
Palmer, B.C., & Brooks, M.A. (2004). Reading until the cows come home: Figurative language and reading
comprehension. Journal of Adolescent & Adult Literacy, 47, 370-379.
Phra San Sovanannbanha. (2014). Retrieved from http://gerneralenglish.blogspot.com/2014/02/blog-post.html.