การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชนต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชนต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชนต้นน้ำแม่ลาว และ 3) เพื่อพัฒนาการพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชนต้นน้ำ แม่ลาว จังหวัดเชียงราย ประชากรที่ศึกษาได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน นักเรียน ครูผู้สอนวิชาสังคม ผู้นำชุมชน ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 87 คน นักเรียนในตำบลแม่เจดีย์ใหม่ จำนวน 340 คน ในการศึกษาวิจัยได้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยแบบสร้างข้อสรุปโดยการจำแนกประเภทข้อมูล นอกจากนี้ ยังเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)ในการสร้างรูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) และตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน
ผลการวิจัย พบว่า บริบทการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเยาวชน ชุมชนต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย พบว่า ชุมชนต้นน้ำแม่ลาวมีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้เยาวชนมีส่วนร่วมเล็กน้อย ในขณะที่โรงเรียนมีการส่งเสริมกิจกรรมการพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะตามหลักสูตร แต่ยังไม่ได้มีการบูรณาการรายวิชาร่วมกัน และ มีการให้เยาวชนร่วมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ อาทิ สำรวจชุมชน เก็บขยะ ทำน้ำหมัก บวชป่า เป็นต้น ในด้านครอบครัวมีการคัดแยกขยะในเบื้องต้น และสอนให้เยาวชนช่วยกันใช้น้ำและไฟฟ้าอย่างประหยัด ทั้งนี้ บางครอบครัวมีการร่วมกิจกรรมปลูกป่า ทำแนวกันไฟ และสร้างฝายชะลอน้ำ เป็นต้น ด้านปัจจัยที่มีผลต่อจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของเยาวชนชุมชน ต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านการเรียนรู้ด้วยตนเอง ปัจจัยด้านครอบครัว ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิต สามารถทำนายจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 64.10 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ในด้านชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกสาธารณะในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ของเยาวชนชุมชนต้นน้ำแม่ลาว จังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 6 ชุดกิจกรรม ได้แก่ ชุดกิจกรรมพัฒนาความรู้ ประกอบด้วย กิจกรรมเสริมความรู้ กิจกรรมพัฒนากระบวนการคิด ชุดกิจกรรมพัฒนาเจตคติ ประกอบด้วย กิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วม กิจกรรมสำรวจชุมชน และชุดกิจกรรมพัฒนาพฤติกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมพัฒนาคุณค่าในตัวเอง และกิจกรรมพัฒนาความคิดบวกเชิงสร้างสรรค์
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
เจษฎา หนูรุ่น. (2551). ปัจจัยจิตลักษณะที่ส่งผลต่อจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนสาธิต ในสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต(การวิจัยและสถิติทางการศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : แคแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.
นลินี อินดีคำ. (2551). ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่องสารรอบตัวสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
นิคม สนั่นเครื่อง. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม.
นิวัติ เรืองพานิช.(2546). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข. กรุงเทพฯ: กรีนปัญญาญาณ.
ผ่องศรี นิภาเกษม. (2541). การประเมินการจัดการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาตามหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533) ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานประถมศึกษาอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง.
การค้นคว้าแบบอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พรพิชญ์ วิริยากุลภัทร์. (2553). ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนธิดาแม่พระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนว สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พิริยา นิลมาตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตสำนึกสาธารณะของนักเรียนช่วงชั้นที่ 4 สำนักงานเขตพื้นการศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนัส สุวรรณ. (2539). นิเวศวิทยาของมนุษย์ (Human Ecology).กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์
วรรณภา นิติมงคลชัย. (2551). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานสิ่งแวดล้อมศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานในระบบและนอกระบบ .วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่11. 2555-2559. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2557, จาก http://www.nesdb.go.th/Default.axpx?tabid395.
หฤทัย อาจปรุ. (2544). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำ รูปแบบการดำเนินชีวิตและความสามารถในการเรียนรู้ด้วยตนเอง กับการมีจิตสำนึกสาธารณะของนักศึกษาพยาบาล.วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต (พยาบาลศึกษา) กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรมหาวิทยาลัย. เอกสารอัดสำเนา.
Kohlberg, Lawrence. (1976). Moral Stage and Moralization : The Cognitive Development and Behavior. Ed. by Thomas Lickona, NewYork : Holt Rinehart and Winston.