การวิเคราะห์โครงสร้างข่าวซาร์สจากหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่

Main Article Content

Ma Li Sha

บทคัดย่อ

  งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างของข่าวเกี่ยวกับโรคซาร์สในประเทศจีนในหนังสือพิมพ์จีนสำหรับชาวจีน และรายงานข่าวซาร์สในประเทศจีนสำหรับชาวต่างชาติในหนังสือพิมพ์จีนฉบับภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติ และเพื่อเปรียบเทียบและเปรียบต่างของข่าวในภาษาจีนสำหรับชาวจีน และในภาษาอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติ การเก็บข้อมูลเก็บจากข่าวที่นำเสนอในหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่ที่นำเสนอข่าวทั้งสองภาษา โดยเก็บภาษาละ 20 ชิ้นข่าว แล้วนำมาวิเคราะห์หาโครงสร้างในการเขียนข่าวโดยใช้ทฤษฎีของภาเตีย (Bhatia.1993) ในการวิเคราะห์หา การนำเสนอเรื่อง (Move) และขั้นตอนในการนำเสนอเรื่อง (Steps)
   ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์โครงสร้างข่าวซาร์สจากหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่สำหรับผู้อ่านชาวจีนที่เขียนเป็นภาษาจีนนั้นประกอบด้วยการนำเสนอเรื่องทั้งหมด 5 ลำดับดังนี้ การนำเสนอเรื่องที่ 1: การนำเสนอกรณีข่าวซาร์สที่เกิดขึ้น การนำเสนอเรื่องที่ 2: การถกเรื่องของซาร์สที่เกิดขึ้นตามพาดหัวข่าว การนำเสนอเรื่องที่ 3: การอ้างถึงประเด็นข่าวซาร์สที่เกิดขึ้น การนำเสนอเรื่องที่ 4: การรายงานข้อมูลการติดต่อในประเทศจีน โดยมีขั้นตอนภายในดังนี้คือ ขั้นตอนที่ 1: การให้ข้อมูลอัตราการเสียชีวิตจากโรคซาร์ส ขั้นตอนที่ 2: การนำเสนอความตื่นกลัวของประชาชนและประเด็นที่แปลกของโรคซาร์ส ขั้นตอนที่ 3: การนำเสนอชัยชนะจากการต่อสู้กับเชื้อโรคซาร์ส การนำเสนอเรื่องที่ 5: การเสนอแนะวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคซาร์ส โดยมีขั้นตอนการนำเสนอภายในคือ ขั้นตอนที่ 1: ที่มาของซาร์ส ขั้นตอนที่ 2: วิธีป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคซาร์ส
   ผลการวิจัยยังพบว่า การวิเคราะห์โครงสร้างข่าวซาร์สจากหนังสือพิมพ์ไชน่าเดลี่สำหรับผู้อ่านชาวต่างชาติที่เขียนเป็นภาษาอังกฤษนั้นประกอบด้วยการนำเสนอเรื่องทั้งหมด 5 ลำดับดังนี้ การนำเสนอเรื่องที่ 1: การนำเสนอกรณีข่าวซาร์สที่เกิดขึ้น การนำเสนอเรื่องที่ 2: การถกเรื่องของซาร์สที่เกิดขึ้นตามพาดหัวข่าว การนำเสนอเรื่องที่ 3: การสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นข่าวซาร์สที่เกิดขึ้น การนำเสนอเรื่องที่ 4: การรายงานข้อมูลการติดต่อในประเทศจีน โดยมีขั้นตอนภายในดังนี้คือ ขั้นตอนที่ 1: การให้ข้อมูลเชิงบวกในประเด็นการควบคุมโรคซาร์สในประเทศจีน ขั้นตอนที่ 2: การเสนอแนะวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคซาร์ส ขั้นตอนที่ 3: การนำเสนอข้อมูลการอาศัยอยู่ในประเทศจีนได้อย่างปลอดภัย การนำเสนอเรื่องที่ 5: การเสนอแนะวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคซาร์ส
   ผลการวิจัยยังค้นพบว่า โครงสร้างของการนำเสนอเรื่องของข่าวทั้งสองประเภทมีความเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ขั้นตอนในการนำเสนอ รายงานข่าวที่เกี่ยวกับโรคซาร์สมีการนำเสนอรายละเอียดที่ต่างกันให้กับกลุ่มผู้อ่านที่ต่างกัน สำหรับผู้อ่านที่เป็นชาวจีนมีการรายงานข่าวในเชิงลบ เช่นจำนวนผู้เสียชีวิต ความตื่นตระหนกตกใจกลัวของประชาชน และความแปลกของโรคซาร์ส สำหรับผู้อ่านชาวต่างชาติมีการรายงานข่าวที่เน้นเรื่องของการการควบคุมโรคซาร์ส และการควบคุมจัดการแหล่งการกำเนิดเชื้อโรค รวมไปถึงความปลอดภัยในการอาศัยในประเทศจีน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bhatia, V. K. (1993). Analyzing genre: Language use in professional settings. London: Longman.

Dudley-Evans, T. (1986). Genre analysis: An investigation of the introduction and discussion sections of MSc dissertations. In M. Coulthard (Ed.), Talking about text. Discourse analysis monograph No. 13, University of Birmingham.

Holmes, R. (1997). Genre analysis, and the social sciences: An investigation of the structure of research article discussion sections in three disciplines. English for Specific Purposes. Vol. 16 (4) : 321-37.

Swales, J. (1990). Genre analysis: English in academic and research settings. Cambridge: Cambridge University Press.

Sun Xiang Yuan. (2004). On the Strategy and Criterion of Social Information Reporting: Taking SAES Reports as an Example (从SARS 报道看信息公开的“双刃剑”作用.News Center, Beijing TV Station, Beijing, 100089.

Zhao cai. (2009). Fight against SARS in 2003, 75. Retrieved from http://news.xilu.com/2009/0914/ news_112_15671.html.