ภาวะผู้นำกับประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย

Main Article Content

กันยพร ธีรเวคิน

บทคัดย่อ

  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์จากคำนิยามและคุณลักษณะของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบไปด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ กลุ่มนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ในเรื่องกิจการเพื่อสังคม และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของกิจการเพื่อสังคม การวิจัยครั้งนี้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก และการสังเกตการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์รายบุคคลกึ่งโครงสร้าง ที่มีประเด็นคำถามที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดการวิจัยที่พัฒนาขึ้นจากการศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
   ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ คือ ความสามารถในการแก้ไขปัญหาสังคมตามเป้าหมายขององค์การที่ได้กำหนดไว้ และความสามารถในการสร้างความตระหนักให้คนหันมาให้ความสำคัญในเรื่องการบริโภคอาหารอินทรีย์ ซึ่งในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ภาวะผู้นำองค์การมีความสำคัญอย่างมากและส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคม โดยคุณลักษณะของภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการกิจการเพื่อสังคมด้านอุตสาหกรรมอาหารอินทรีย์ในประเทศไทย ได้แก่ 1) ภาวะผู้นำที่รับผิดชอบต่อสังคม 2) ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม 3) ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ 4) ภาวะผู้เชิงวิสัยทัศน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2558). ตลาดเกษตรอินทรีย์ในต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2558. จาก http://www.organic.moc.go.th/th/market/market_abroad.

กระทรวงอุตสาหกรรม. (2558). สศอ.ผลักดันความเชื่อมั่น “ครัว”ไทย ด้วย Eat Safe Eat Smart รับกระแส Food Safety อาเซียน-โลก. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558. จาก http://www.industry.go.th/center_mng_gad/index.php.

Bornstein, D. (2004). How to change the world : Social entrepreneurs and the power of new ideas. New York: Oxford University Press.

Boyer et.al. (2008). Critical success factors and performance measures for start-upsocial and environmental enterprises. Gland : the SEED Initiative and International Institute for Sustainable Development.

Elkington, J., & Hartigan, P. (2008). The Power of Unreasonable People. Boston: Harvard Business Press.

The Benevolent Society. (2013). The benefits and challenges of running a social enterprise. Paddington : The Benevolent Society