แนวทางเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด เพื่อรองรับการขยายตัว ของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เขตเศรษฐกิจพิเศษ “นครแม่สอด” Guidelines for Tourism Development in Mae Sot District, Phop Phra District, and Mae Ramat District to Support the Expansion of the East-West Economic Corridor-EWEC the Special Economic Zone “Nakhon Mae Sot”

Main Article Content

หริรักษ์ จันทิมะ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาแนวทางเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ และอำเภอแม่ระมาด เพื่อรองรับการขยายตัวของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก                        เขตเศรษฐกิจพิเศษ “นครแม่สอด” โดยศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการท่องเที่ยว และปัจจัยส่วนประสม                ทางการตลาด ตลอดจนเปรียบเทียบพฤติกรรมการท่องเที่ยว จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว ตลอดจนแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชน และแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวของภาครัฐ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เขตเศรษฐกิจพิเศษ “นครแม่สอด” จำนวน 460 คน โดยใช้สูตรของ Weiers (2005) ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน (Proportion Sampling)


  ผลการวิจัย พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ทำงานต่ำกว่า 3 ปี รายได้ต่อเดือนต่ำกว่า 10,001 บาทต่อเดือน พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว พบว่า วัตถุประสงค์หลักในการท่องเที่ยว คือ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ มีสมาชิกร่วมเดินทางจำนวน 2-3 คน มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการเดินทางท่องเที่ยวต่อครั้ง ไม่เกิน 5,000 บาท ใช้เวลาเดินทางท่องเที่ยว 1-3 วัน หาข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวจากอินเทอร์เน็ต ระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครแม่สอดเกี่ยวกับ     ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับ                   ส่วนประสมทางการตลาดมากที่สุด คือ ด้านสินค้าและบริการ รองลงมา คือ ด้านกระบวนการให้บริการ                       ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ ด้านราคา ด้านบุคลากร ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด พิจารณารายด้าน พบว่า ด้านสินค้าและบริการ ด้านราคา ด้านที่ตั้ง ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านกระบวนการให้บริการ ด้านบุคลากร ด้านกายภาพ โดยรวมอยู่ในระดับมาก   


คำสำคัญ: พฤติกรรมการท่องเที่ยว  ส่วนผสมทางการตลาด  การมีส่วนร่วมของชุมชน  การพัฒนาการท่องเที่ยว  เขตเศรษฐกิจพิเศษ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Business Maps of India . (2015). Advantages of SEZ units in India. Form http://business.mapsofindia.com/sez/advantages-units-india.html. Retrieved 21 October 2016.

Department of tourism. (2015). THAILAND TOURISM STANDARD. Bangkok: Department of tourism, Ministry of Tourism and Sports.

Jitmongkol, D. (2016). ASEAN analysis Thai fashion plastic industry expands market penetration 'Cambodia'. From https://www.posttoday.com/aec/scoop/466683. Retrijved 17 August 2019.

Kitpreedasuth, B. (2008). Social sciences research methodology. Bangkok: Jamjuree Product.

Ministry of Tourism and Sports. (2017). Tourism statistics of Thailand 2017. Bangkok: Department of tourism, Ministry of Tourism and Sports.

Rijal K., Sapkota Anup K.C. (2015). “Role of ecotourism in environmental conservation and socioeconomic development in Annapurna conservation area, Nepal”. International Journal of Sustainable Development & World Ecology 22(3):251-258.

Tak Provincial Governoz's Office. (2014). Basic Information of TAK provinces. From

http://webcache.googleusercontent.com/ search?q=cache:z56YWpvybSoJ:

242.165.136/photo_gallery/files/ReportTak2557.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th.

Retrieved 20 August 2016.

Weier, M. Ronald. (2005). Introduction to business statistics, international student edition.

(5th ed.). Pennsylvania, USA: Duxbury Press.

(In Thai)

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. กรมการท่องเที่ยว. (2560). สถิติด้านการท่องเที่ยว ปี 2560 (Thailand Statistics 2017). กรุงเทพฯ: กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). มาตรฐานการท่องเที่ยวไทย (THAILAND TOURISM STANDARD). กรุงเทพฯ : กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์

ดวงใจ จิตต์มงคล. (2557). บทวิเคราะห์อาเซียน ไทยแฟชั่นพลาสติกอุตสาหกรรม ขยายตลาดเจาะ ‘กัมพูชา’.

จาก https://www.posttoday.com/aec/scoop/466683. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562.

สำนักงานพานิชย์จังหวัดตาก. (2556). ข้อมูลเศรษฐกิจการค้าจังหวัดตาก. ตาก: สำนักงานฯ.

สำนักงานจังหวัดตาก. (2557). ข้อมูลพื้นฐานจังหวัดตาก. จาก http://webcache.googleusercontent.com/

search?q=cache:z56YWpvybSoJ:123.242.165.136/photo_gallery/files/ReportTak2557.pdf+&cd=1&hl=th&ct=clnk&gl=th. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2559.