การพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการประสมคำ The Development of Capacity on Reading and Spelling of the 1st Grade Primary Students by Using Word Mixed Computer Aided Instruction (CAI)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการประสมคำ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในตำบลป่าอ้อดอนชัย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 โรงเรียน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ โรงเรียนบ้านสันกลาง โรงเรียนบ้านหนองหม้อ โรงเรียนบ้านห้วยทราย และโรงเรียนบ้านป่าอ้อ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม ความพึงพอใจ แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งได้ตรวจสอบความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.80-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.901 โดยผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบเรียนอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการอ่านออกเขียนได้ พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีระดับความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.36) และตอนที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการประสมคำ พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยในการทดสอบการอ่านออกเขียนได้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 หลังการใช้แบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการประสมคำสูงกว่าก่อนการใช้แบบเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .01 (P- value < 0.01) แสดงให้เห็นว่า การใช้แบบเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องการประสมคำทำให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ในด้านการอ่านและการเขียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
คำสำคัญ: การอ่านและการเขียน แบบเรียนอิเล็กทรอนิกส์ การประสมคำ
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Bureau of Academic Affairs and Educational Standards. (2015). Operation guide book: Read, write, read fluently, write fluently and communicate. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing Demonstrations of Thai. (in Thai)
Fongsri, P. (2011). Creating and developing research tools. 3nd ed. Bangkok: Damsutha Press.
(in Thai)
Ministry of Education. Office of the Education Council. (2010). National Education Act B.E. 2010 and Amendment (Third National Education Act B.E. 2010). Bangkok: Office of the Education Council, Ministry of Education. (in Thai)
Mookdadee, P. (2009). Comparison of abilities in reading and writing the words with final consonants of prathomsuksa 1 students using skill exercises in spelling with picture and mind mapping. Master’s thesis in Educational Administration: Mahasarakham University. (in Thai)
Phasi, J. (2007). Critical reading results Thai language learning group, grade 5, using skills training for cooperative group activities. Master’s thesis in Educational Administration: Mahasarakham University. (in Thai)
Ploysri, S. (2011). The developments of supplementary exercise for reading and writing skills of compound words in Thai basic reading Mae Koka for prathomsuksa 1 students. Master’s thesis in Curriculum and Instruction: Valayaalongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage. (in Thai)
Pungpong, P. (2013). The developments of reading and spelling ability taught achievement of the first grade students through strategy multiple intelligent, mind mapping, and supplementary practice material. Master’s thesis in Education: Silpakorn University. (in Thai)
Songthamsagul, M. (2007). The Construction of Thai word spelling writing exercises for the development of prathomsuksa four students’ word writing ability at Wat Bangwua (Saisermwit) School, Chachoengsao. Master’s thesis in Curriculum and Instruction: Rajabhat Rajanagarindra University. (in Thai)
(In Thai)
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
จุรีพันธ์ ภาษี. (2550). ผลการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้แบบฝึกทักษะประกอบการจัดกิจกรรมแบบกลุ่มร่วมมือ. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.
ประกายแก้ว มุกดาดี. (2552). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การเขียนคำที่มีตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วยการใช้แบบฝึกทักษะประสมคำด้วยภาพกับแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยมหาสารคราม.
พิสณุ ฟองศรี. (2554). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.
ไพรินทร์ พึ่งพงษ์. (2556). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านและเขียนสะกดคำที่มีสระประสมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้ยุทธวิธีพหุปัญญา แผนผังความคิดและแบบฝึกเสริมทักษะ. ปริญญาศึกษาศาตรมหาบัณฑิต
มานิตยา ทรงธรรมสกุล. (2553). การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบางวัว (สายเสริมวิทย์). วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สมบัติ พลอยศรี. (2554). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนคำประสมในแม่ ก กา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 . วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2558). หนังสือคู่มือการดำเนินงาน อ่านออกเขียนได้ อ่านคล่องเขียนคล่อง และสื่อสารได้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.