รูปแบบการบริหารคุณภาพสถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็ก : กรณีวิทยาลัยเชียงราย Quality Administration Pattern of Small Higher Education Institutions Case of Chiang Rai College

Main Article Content

ตุนท์ ชมชื่น

บทคัดย่อ

           


การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหา ศึกษารูปแบบและประเมินคุณภาพตามเกณฑ์ สกอ. โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วยขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดการศึกษา         2) การสร้างรูปแบบการบริหารคุณภาพ 3) การนำรูปแบบการบริหารคุณภาพไปใช้ และ 4) การประเมินคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยการวิเคราะห์ SWOT การระดมสมอง และการประเมินคุณภาพตามวิธีการประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการบันทึกข้อมูล การจัดหมวดหมู่       เรียบเรียงประเด็นและการประเมินคุณภาพด้วยกรรมการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการศึกษาที่ผ่านมามีจุดแข็ง (Strong) มากกว่าจุดอ่อน (Weak) มีปัจจัยเอื้อ       ที่เป็นโอกาส (Opportunity) มากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรค (Treat) 2) รูปแบบการบริหารคุณภาพที่สนองต่อสภาพปัญหาและทิศทางการจัดการศึกษาประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านโครงสร้างการบริหารคุณภาพ องค์ประกอบด้านยุทธศาสตร์/ขอบข่ายงานบริหารคุณภาพ และองค์ประกอบด้านกระบวนการบริหารคุณภาพและการประเมินผล 3) ผลการประเมินคุณภาพภายใน พบว่า คุณภาพการศึกษาทั้งในระดับหลักสูตรทุกหลักสูตร ระดับคณะ     ทุกคณะ รวมทั้งระดับสถาบันมีผลการประเมินคุณภาพโดยรวมในระดับดี


คำสำคัญ: การบริหารคุณภาพ  สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็ก       

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Arcaro, J. S. (1995). Quality in education: An implementation handbook. Florida, Delray Beach: St. Lucie Press.

Boonprasert, M. (2003). Model of new higher educational management. Bangkok: Office of the Educational Council. (in Thai)

Duangsuwan, S. (2015). “The model of specialty university administration”. Journal of Yala Rajabhat University 10(2): 3-19. (in Thai)

Goetsch, David L. and Davis, Stanley B. (2001). Total quality handbook. New Jersey: Prentice-Hall.

Kandecharak, S., T, Supaporn., Tichai, S. and Ronop, W. (2016). “The relationship between the strategic implementation plan of private university and the educational quality administration according to education criteria for performance excellence”. APHEIT Journal 22(1): 79-86. (in Thai)

Lewis, Ralph G. and Smith, Douglas H. (1994). Total quality in higher education. Florida: St.Louise Press.

Muangkaen, S., Mongkhonvanit, J. and Kunarak P. (2018). “High performance on

organizational management of private”. Thonburi University Academic

Journal. 12(28): 328-341. (in Thai)

National Institute of Standards and Technology. (2011). Baldrige education criteria for performance excellence. http://www.en.mahidol.ac.th/thai/policy/ edpex/edu_criteria_2011_2012.pdf. May 12, 2016.

National Productivity Institute. (2017). Thailand quality award. Bangkok: National Productivity Institute. (in Thai)

Office of the Higher Education Commission. (2014). Manual for the internal quality assurance for higher education B.E. 2557. Bangkok: Parbpim. (in Thai)

Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act, 1999 and Amended (No. 2) B.E. 2545. Bangkok: Office of the National Education Commission. (in Thai)

Preeyanuch Chaikongkiat, P. and Sarnswang, S. (2008). “A causal relationship model among intellectual capital management, knowledge management and organizational effectiveness of nursing colleges under the Ministry of Public Health”. Kasetsart Journal. 29(2): 140-153. (in Thai)

Seeon, K. (2004). A causal model for the effectiveness of internal quality assurance for health sciences area. Doctoral dissertation in Health Sciences: Chulalongkorn Univesity. (in Thai)

Sookvaree, E. (2010). Strategies for the development of an internal quality assurance system for performance excellence for higher education institutions. Bangkok: Chulalongkorn University.

Ueawong, S. (2014). Educational policies, planning and quality development. Nonthaburi: Sukhothai Thammathirat Open University Press.

(In Thai)

มานิตย์ บุญประเสริฐ และคณะ. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาแนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2560). รางวัลคุณภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.

สุรีรัตน์ ดวงสุวรรณ. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยเฉพาะทาง. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ และคณะ. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแผนปฏิบัติการเชิงกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งกับการบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. วารสารวิชาการ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. 22(1): 79 – 86.

เสาวภา เมืองแก่น และคณะ. (2561). องค์ประกอบของการจัดการองค์การแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(28): 328 – 341.

เอกธิป สุขวารี. (2553). ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.