การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครูที่เน้นให้ผู้เรียนสร้าง องค์ความรู้ด้วยตนเองของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา

Main Article Content

เกศราพรรณ พันธุ์ศรีเกตุ คงเจริญ

บทคัดย่อ

   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอน พัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครู และประเมินผลรูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครูที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดพะเยา รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหา การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเองของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดพะเยา โดยการสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและผู้บริหาร จาก 18 สถานศึกษา รวมจำนวน 1,000 คน เพื่อสร้างรูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครู ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครู โดยสังเคราะห์ข้อมูลจากแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่กี่ยวข้อง ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์และนักวิชาการ จำนวน 20 คน ระยะที่ 3 ประเมินผลรูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครูที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง โดยครูและนักเรียนจาก 18 สถานศึกษา จำนวน 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน (Median) ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ และค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สภาพปัจจุบันและปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มี 5 กระบวนการ คือ การวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบการสอน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ซึ่งปัญหาการจัดการเรียนการสอนที่พบ คือ ปัญหาความแตกต่างระหว่างผู้เรียน นักเรียนขาดทักษะและกระบวนการไม่สามารถเชื่อมโยงเนื้อหาไปเนื้อหาสาระอื่นๆ และปัญหาครูผู้สอน ได้แก่ การขาดทักษะการสอน เทคนิคและกระบวนการสอน รวมทั้งปัญหาความไม่ต่อเนื่องของการเรียนการสอน ดังนั้นสาระสำคัญคือ การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองนั้นความรู้ไม่ใช่มาจากการสอนของครูหรือผู้สอนเพียงอย่างเดียว แต่ความรู้จะเกิดขึ้นและถูกสร้างขึ้น โดยผู้เรียนเอง การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้ลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning by doing) 2) รูปแบบสมรรถนะด้าน การสอนของครู มีองค์ประกอบสำคัญ 4 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน และการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน เอกสารประกอบได้แก่ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างสมรรถภาพการสอนตามแนวคิด การการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง 3) ผลการประเมินรูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครู พบว่า ครูผู้สอนที่ใช้รูปแบบสมรรถนะด้านการสอนของครูที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองมีค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบการสอน การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลสูงกว่าครูผู้สอนที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง พบว่า เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญหรือองค์การความรู้ใหม่ด้วยตนเอง อันเกิดจากการได้ศึกษาค้นคว้าทดลอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง ทำให้ผู้เรียนรักการอ่าน รักการศึกษาค้นคว้า ผู้เรียนเกิดทักษะในการแสวงหาความรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Collins A., Brown J.S. & Newman S.E. (1989). Cognitive apprenticeship: Teaching the craft of reading, writing and matematics. In L.B. Resnick (Ed.). Knowing, learning and instruction: Essays in honor of Robert Glaser. Hillsdale, NJ: Erlbaum..

Corlett . (2001). Work organization and ergonomics. Ireland, Durbin.

Kingfah Sinthuwong K. & Suwannoi P. (2010). Evaluation of Teaching and Learning Based on Real Condition. Khon Kaen: Faculty of Education Khonkaen University

Lickona T., Schaps E., & Lewis, C. (2002). Eleven principles of effective character education. Washington, DC: Character Education Partnership.

Martin. (2003). Predicting travel Patterns of Senior Citizens: How the Past May Provide a Key to the Future, Journal of Vacation Marketing, 7(4); 357 - 366.

Ministry of Education. (2002). National Education Act 1999 and amendments (Version 2) 2002. Bangkok: Sweet pepper graphic.

Office of the Basic Education Commission. (2006). Guidelines for actual assessment. Bangkok: Printing House, Agricultural Cooperative Assembly of Thailand.

Office of the National Education Commission. (2002). Proposals for educational reform in the second decade (2009 - 2018). Bangkok: Sweet pepper graphic

Ormrod. (2000). Practical Research: Planning and Design. (9th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Schunk D.H. (2000). Learning theories: An educational perspective. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟิก.

กิ่งฟ้า สินธุวงษ์ และไพศาล สุวรรณน้อย. (2553). การประเมินผลการเรียนการสอนตามสภาพจริง. ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). แนวทางการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552 – 2561). กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค