ตัวแบบการจัดการพลังงานชุมชนตามแนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์

Main Article Content

สืบสกุล วัชรินทร์วงศ์

บทคัดย่อ

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินและถอดบทเรียนจากการจัดการพลังงานชุมชนของชุมชนต้นแบบที่มี การปฏิบัติเป็นเลิศด้านการจัดการพลังงานชุมชน และเพื่อนำบทเรียนที่ได้มาประยุกต์ร่วมกับแนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์สำหรับพัฒนาตัวแบบในอุดมคติเกี่ยวกับการจัดการพลังงานชุมชนที่ยั่งยืน ระเบียบวิธีวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญ และวิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และสรุปข้อมูลโดย การบรรยายเชิงพรรณนา
   ผลจากการประเมินและถอดบทเรียนจากการจัดการพลังงานชุมชนของชุมชนต้นแบบที่มีการปฏิบัติเป็นเลิศด้านการจัดการพลังงานชุมชน พบว่า การดำเนินการจัดการพลังงานชุมชนที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย 4 การดำเนินการหลักที่สำคัญ คือ (1) การดำเนินการผลิตพลังงานในระดับครัวเรือนที่มาจากความต้องการบริโภคหรือการใช้งานที่แท้จริงของแต่ละครัวเรือนทั้งในแง่ของประเภทพลังงานที่ต้องการใช้และปริมาณที่ต้องการใช้ (2) การดำเนินการติดตั้งระบบการผลิตพลังงานชุมชนที่ออกแบบให้พอดีหรือใกล้เคียงกับปริมาณการใช้งานที่แท้จริงมากที่สุด เพื่อลดค่าใช้จ่ายการติดตั้งระบบและการบำรุงรักษาที่ไม่จำเป็น เพราะค่าใช้จ่ายด้านระบบผลิตพลังงานจะผันแปรตามกำลังการผลิตที่ผลิตได้ (3) การดำเนินการที่มีกระบวนการทำงานที่ได้รับการยอมรับจากส่วนรวมโดยกำหนดให้เป็นกฎระเบียบ ประกอบด้วย กระบวนการการจัดการพลังงาน 5 ขั้นตอน คือ การสำรวจข้อมูล การวางแผนผลิตพลังงาน การปฏิบัติด้านการผลิตพลังงาน การประเมินผลการผลิตพลังงาน และการสรุปผลการผลิตพลังงาน และ (4) การดำเนินการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการผลิตพลังงานชุมชนที่มีระบบสาธิตการผลิตพลังงานทดแทนครบทุกประเภท ที่ชุมชนต้องการ เพื่อใช้ถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกในชุมชน
   จากการบูรณาการแนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์ร่วมกับบทเรียนของการจัดการพลังงานชุมชนในปัจจุบันถูกพัฒนาจนมาเป็นตัวแบบการจัดการพลังงานชุมชน 4Cs ซึ่งเป็นตัวแบบการจัดการพลังงานชุมชนตามแนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์ที่นำข้อดีของแนวทางพุทธเศรษฐศาสตร์มาบูรณาการร่วมกับบทเรียนของการจัดการพลังงานชุมชนในปัจจุบันโดยเน้นการดำเนินการจัดการพลังงานชุมชนโดยปลูกฝังให้เกิดปัญญา ประกอบไปด้วย 4 ส่วนสำคัญ ได้แก่ (1) การปฏิบัติอย่างต่อเนื่องในการผลิตพลังงานชุมชน (2) การพัฒนาความพยายามตั้งใจในการผลิตพลังงานชุมชน (3) การพัฒนาปัญญาในการผลิตพลังงานชุมชน และ (4) การพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้ในการผลิตพลังงานชุมชน

Article Details

บท
บทความ

References

กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2558). แผนพลังงานที่สำคัญ. 7 ตุลาคม 2558, จาก http://www.eppo.go.th/engy/

กระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน. (2551). รายงานติดตามประเมินผลโครงการจัดทำแผนพลังงานในระดับชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน

กองบรรณาธิการมติชน-ประชาชาติธุรกิจ. (2550). 10 มหัศจรรย์พลังงานทดแทนกู้วิกฤตโลกร้อน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กระทรวงพลังงาน. (2558). คู่มือหลักสูตรการจัดระบบการจัดการพลังงาน. 10 พฤศจิกายน 2558, จากhttp://www.energyvision.co.th/14258361/คู่มือหลักสูตรการจัดระบบการจัดการพลังงาน.pdf

อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Schumacher, E. F. (1973). Small is beautiful. London: Blond and Briggs.