การพัฒนาผลิตภัณฑ์เปลือกเสาวรสแช่อิ่มอบแห้ง และการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค ในเขตชุมชน เทศบาลตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย A product development of osmotically dehydrated passion fruit peels: and a study of consumer satisfaction in the Community of Mae Kham Municipality area, Mae Chan district, Chiang Rai Province

Main Article Content

ธีรพล ฟ้าคำตัน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          การศึกษาวิทยานิพนธ์ เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์เปลือกเสาวรสแช่อิ่มอบแห้งและการศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคในเขตชุมชน เทศบาลตำบลแม่คำ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงรายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตเปลือกเสาวรสแช่อิ่มอบแห้ง ศึกษาอายุการเก็บรักษา และการทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ จากการศึกษาพบว่าวิธีการที่เหมาะสมในการผลิตเปลือกเสาวรสแช่อิ่มอบแห้ง ด้วยความเข้มข้นของน้ำเชื่อมในการแช่อิ่มแบบช้าร้อยละ 30 40 และ 50 ด้วยความเข้มข้นของน้ำเชื่อมเริ่มต้นที่ระดับร้อยละ 30 ให้ผลิตภัณฑ์สุดท้ายมีลักษณะปรากฏ สี และกลิ่น ได้รับคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ดังนั้นจึงเลือกวิธีการแช่อิ่มแบบช้าที่ระดับความเข้มข้นร้อยละ 30 ในการศึกษาอายุ การเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ เป็นเวลา 0-4 สัปดาห์ ตรวจไม่พบจุลินทรีย์เกินมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผักและผลไม้แช่อิ่ม 161/2558 และจากการทดสอบความพึงพอใจของผู้บริโภคในผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคส่วนใหญ่ให้การยอมรับผลิตภัณฑ์


คำสำคัญ:  เปลือกเสาวรส   เปลือกเสาวรสแช่อิ่มอบแห้ง  การแช่อิ่ม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bunpluem, N. (2007). The assessment of nutritional value and antioxidants in waste materials from passion juice. Master of Science Thesis: Chiang Mai University. (in Thai).

Changchup, L., & Lertsorirakun, S. (2011). Process Development of Osmotic dehydrated lemon albedo. Proceeding of 49th Kasetsart University Annual Conference: Agro – Industry. Bangkok: Kasetsart University. 1-4 February 2011. 589 – 596. (In Thai)

Jiramongkolkan, U. (2004). Garden fruits. Bangkok: House and garden. (in Thai).

Khumsab, A. (2001). Processed Fruit. Bangkok: Kid Suksa Trading. (in Thai).

Phapharat, K. (2016). Product Development of Osmotically Dehydrated banana peels. Master thesis of Home Economics: Rajamangala University of Technology Phra Nakhon. (in Thai).

Phreaphilai, P. (n.d.). The processing of fruit and vegetable to eat for a long time for save expenses. Bangkok: Prae Tham. (in Thai).

Rebello, B. (2007). “Effect of a peel passion fruit flour (Passiflora edulis f. flavicarpa) extract on the labeling of blood constituents with technetium-99m and on the morphology of red blood cells. Brazilian Archives of Biology and Technology, 50: 153-159.

Sriphui, C. (2003). “The processing pickled of Fruit and vegetable”, Journal of Academic Service Center, 11(1): 58-64. (in Thai).

Tachotirot, D., & Peerapachara, J. (2009). The development of product and packaging from pineapples for Hup Kapong Agriculture Cooperative Limited. Bangkok: National Research Council of Thailand. (in Thai).

Thai Industrial Standards Institute (TISI). (2015). The standard of vegetable group and fruit preserve. Community product standards 161/2558, September 3rd 2015. (in Thai).

Yapo and Koffi, (2006). “Yellow Passion Fruit RindA Potential Source of Low-Methoxyl Pectin”, Journal of Agricultural and Food Chemistry, 54(7): 2738-44.

(In Thai)

จินตนา ศรีผุย. (2546). “การแปรรูปผักและผลไมแ้ช่อิ่ม”. วารสารศูนย์บริการวิชาการ, 11(1): 58-64.

ณัชชา บุญปลื้ม. (2550). การประเมินคุณค่าทางโภชนาการและสารต้านโภชนะในวัสดุเหลือทิ้งจากการทำน้ำเสาวรส. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดวงสุดา เตโชติรส และจุฑามาศ พีรพัชระ. (2552). การพฒันาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากสับปะรด สำหรับกลุ่มสหกรณ์การเกษตรหุบกะพงจำกัด. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

ลัดดาวัลย์ ช่างชุบ และเสาวณีย์ เลิศสรศิริกุล. (2554). การพัฒนากรรมวิธีการผลิตเปลือกมะนาวแช่อิ่มอบแห้ง แบบออสโมซิส. รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 49: สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วันที่ 1 – 4 กุมภาพันธ์ 2554. หน้า 589-596.

สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2558). มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนผักและผลไม้แช่อิ่ม. มผช. 161/2558. 3 กันยายน 2558.

อร่าม คุ้มทรัพย์. (2544). ผลไม้แปรรูป.กรุงเทพมหานคร:กิจศึกษาเทรดดิ้ง.

อุไร จิรมงคลการ. (2547). ผลไม้ในสวน.กรุงเทพมหานคร: บ้านและสวน.