การจัดระเบียบชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย Community Ordering of Ethnics Group in Wawee Sub District, Mae Suai, Chiang Rai Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์เขตตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (2) เพื่อศึกษาการจัดระเบียบชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย (3) เพื่อวิเคราะห์แนวทางการสร้างบรรทัดฐานในการจัดระเบียบชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ เขตตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
ข้อมูลที่ได้จากงานวิจัยมาจากการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มเฉพาะ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูล เป็นตัวแทนจาก 7 กลุ่มชาติพันธุ์ในเขตตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
จากการวิจัย พบว่า ในการกำหนดกฎระเบียบชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขต ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายนั้น ในอดีตแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ยังคงมีการรักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี กฎระเบียบตามบรรพบุรุษของตน แต่ในปัจจุบันกฎระเบียบดังกล่าว ได้มีการปรับปรุง ให้สอดคล้องกับกฎหมายในปัจจุบันมากขึ้น ดังเช่นกฎหมายแพ่ง โดยเฉพาะเรื่องของกฎหมายครอบครัว ที่เกี่ยวข้องกับ การหมั้น การสมรส การหย่าร้าง การแบ่งสินสมรส และการแบ่งมรดก รวมทั้งการกำหนดโทษที่สอดคล้องกับกฎหมายอาญาด้วย เช่น การทะเลาะวิวาท การทำร้ายร่างกาย การลักทรัพย์ การบุกรุกป่า การพกพาอาวุธและยาเสพติด ซึ่งแม้ว่าผู้ที่ทำการฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ หรือบทลงโทษทางสังคมและถูกดำเนินคดี แต่ยังขาดบรรทัดฐานในการลงโทษของแต่ละกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน
นอกจากนี้ ในการวิจัยดังกล่าวยังได้แนวทางการสร้างบรรทัดฐานในการจัดระเบียบชุมชนของกลุ่มชาติพันธ์ โดยพิจารณาจากการกระทำความผิดซ้ำร่วมกันระหว่างกลุ่มชาติพันธ์ทั้งในเรื่อง ป่าไม้ ทะเลาะวิวาท ยาเสพติด และลักทรัพย์ ซึ่งแนวทางดังกล่าวหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สามารถทำการรวบรวมระเบียบและกฎเกณฑ์ในท้องถิ่นทั้งหมด เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจต่อสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์และนำมาจัดระเบียบชุมชนให้สอดคล้องกับการพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในพื้นที่ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย และนำกฎระเบียบที่รวบรวมมาสร้างบรรทัดฐาน เพื่อนำออกเป็นข้อบังคับตำบล หรือเทศบัญญัติต่อไป
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
“กลุ่มชาติพันธุ์ในเชียงราย.” สืบค้น 12 พฤษภาคม 2559. http://www.chiangraifocus.com/
forums/index.php?topic=115.0
“ชาวเขาเผ่าต่างๆ ในประเทศไทย.” สืบค้น 12 พฤษภาคม 2559. http://www.sawadee.co.th/
thailand/hilltribes
“ฐานข้อมูลงานวิจัยทางชาติพันธุ์ในประเทศไทย.” สืบค้น 12 พฤษภาคม 2559. http://www.sac.or.th/databases/ethnicredb
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. “แผนแม่บทการพัฒนากลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย (พ.ศ.2558-2560).” 9 กรกฎาคม 2557.
จิราวรรณ ไชยยะ. “การเปลี่ยนแปลงปรับตัวทางสังคมของชาวเขาเผ่าอาข่า หมู่บ้านผาหมี อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.” การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
ฉลาดชาย รมิตานนท์. “สถานภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและ วัฒนธรรมของสังคม หมู่บ้าน ชนบทกับการมีส่วนร่วมของประชาชน : วิเคราะห์กรณีหมู่บ้าน ภาคเหนือ. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์, 2527.
ปทุมรัตน์ ต่อยอดวงค์. “การจัดการความขัดแย้งของชุมชนชนบทเชียงใหม่.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2539.
ปนัดดา บุณยสาระนัย. อาข่าหลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่ : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2547.
ปรีชา อุปโยคิน, พลวัฒ ประพัฒน์ทอง, และภัทรา ชลดำรงค์กุล. “ความหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ กับการพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.” วารสารสังคมศาสตร์ 47, ฉ.1 (2560): 87-105.
สิทธิเดช วงศ์ปรัชญา. “พระราชดำรัสกับสันติวิถีธุรกิจชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย: กรณีชาวไทยภูเขาเผ่ามูเซอ จังหวัดตาก.” วารสารสมาคมนักวิจัย 21, ฉ.3 (2559): 13-17.
สุปราณี จันทร์ส่ง. “การพัฒนาทุนทางสังคมเพื่อสร้างชุมชนเข็มแข็ง.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต รัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์, 2558.