การจัดการโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมด้วยชีวิตวิถีใหม่ เพื่อคุณภาพความปลอดภัยอาหารกลางวันในโรงเรียนสาธิต

Main Article Content

ธงชัย ลาหุนะ

บทคัดย่อ

      งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของบริการแนะแนวในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39 (พิษณุโลก อุตรดิตถ์) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบชั้นภูมิ รวมจำนวนทั้งสิ้น 435 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามการศึกษาระดับความต้องการจำเป็นของบริการแนะแนวในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็นด้วยการเรียงลำดับคะแนนด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า เมื่อนำบริการแนะแนวรายข้อทั้งหมดของทุกด้านบริการมาทำการจัดเรียงลำดับ ตามการประเมินความต้องการจำเป็น ด้วยคะแนนประเมิน PINModified โดยทำการคัดสรรเฉพาะข้อที่มีคะแนนประเมิน PINModified สูงสุด 5 ข้อ พบว่า นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความต้องการจำเป็นสูงสุดอันดับหนึ่ง คือ ด้านบริการจัดวางตัวบุคคลเกี่ยวกับการมีทุนการศึกษาที่เพียงพอกับความต้องการของนักเรียน อันดับสอง คือ ด้านบริการศึกษารวบรวมข้อมูลเป็นรายบุคคลเกี่ยวกับการสำรวจความต้องการความช่วยเหลือในการประกอบอาชีพ อันดับสาม คือ ด้านบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการมีห้องให้คำปรึกษาจัดเป็นสัดส่วนเฉพาะ อันดับสี่ คือ ด้านบริการสนเทศการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการอยู่ร่วมกันในสังคม และอันดับที่ห้า
คือ ด้านบริการติดตามผลเกี่ยวกับการติดตามผลนักเรียนที่จะมาขอคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น เรื่องการเรียนต่อ การประกอบอาชีพและเรื่องส่วนตัว

Article Details

บท
บทความวิจัย