ระเบียบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ระเบียบการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการปฏิบัติร่วมกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ส่งเสริมให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งท่องเที่ยวอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้มีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน และสร้างระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอำเภอลับแล ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของจังหวัดอุตรดิตถ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างประเทศ ผู้นำ/ผู้ทรงคุณวุฒิ ของอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ผู้นำชุมชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงแรม และภัตตาคาร ในพื้นที่ เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยมีทั้งแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางด้านสถิติ
ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการแหล่งท่องเที่ยว นักท่องเที่ยว
ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ทำให้ได้ระเบียบว่าด้วยความร่วมมือทางด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ประกอบด้วย 11 หมวด ได้แก่ 1) การจัดสร้างและการจัดการปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยว
2) การรักษาคุณภาพและสิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว 3) การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว 4) การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว 5) การพัฒนาการบริการท่องเที่ยว 6) การจัดบริการที่พัก 7) การพัฒนาบุคลากร
ที่ปฏิบัติงานด้านการท่องเที่ยว 8) การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ทางการท่องเที่ยว 9) การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว 10) การสร้างสินค้าทางการท่องเที่ยว 11) การรักษาความปลอดภัยของการท่องเที่ยว และบทเฉพาะกาล
Article Details
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
วิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Marvin E.Olsen.1978. The process of social organization: Power in social systems .(2nd ed.).USA: Holt, Rinehart and Winston.).
Yamane, Taro (1973). Statistics : an introductory analysis. New York :Harper&Row.