การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนสาธิต ระดับมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Hammond

Main Article Content

ศานิตย์ ศรีคุณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนสาธิต ระดับมัธยมศึกษา พุทธศักราช 2563 โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรของ Hammond ใน 3 มิติ คือ มิติด้านการเรียนการสอน มิติด้านสถาบัน และมิติด้านพฤติกรรม นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและรองผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 2 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนสาธิต ระดับมัธยมศึกษา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 5 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ห้องเรียนที่ 1 และ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 70 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามออนไลน์การประเมินหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เป็นแบบวัดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) และ       2) แบบสัมภาษณ์การประเมินหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) การวิจัยเชิงปริมาณ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS และ 2) การวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัย พบว่า การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา


1) มิติด้านการเรียนการสอน สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.62, SD.=0.32) ประกอบด้วย วิธีการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.93, SD.=0.12) และสิ่งอำนวยความสะดวก อยู่ในระดับมาก ( =4.00, SD.=0.58) สำหรับนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.74, SD.=0.89) ประกอบด้วย เนื้อหาวิชา อยู่ในระดับมาก ( =3.82, SD.=0.74) และวิธีการสอน อยู่ในระดับมาก ( =3.60, SD.=1.08)


2) มิติด้านสถาบัน สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.39, SD.=0.44) ประกอบด้วย ครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.75, SD.=0.43) และผู้บริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.67, SD.=0.58)


3) มิติด้านพฤติกรรม สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.41, SD.=0.24) ประกอบด้วย พฤติกรรมด้านเจตคติ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.89, SD.=0.19) และพฤติกรรมด้านทักษะ     อยู่ในระดับมาก ( =4.12, SD.=0.35) สำหรับนักเรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.97, SD.=0.67) ประกอบด้วย พฤติกรรมด้านความรู้ อยู่ในระดับมาก ( =4.04, SD.=0.77) และพฤติกรรมด้านทักษะ อยู่ในระดับมาก ( =3.91, SD.=0.56)


โดยสรุป พบว่า การประเมินหลักสูตร สำหรับผู้บริหารและครูผู้สอนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =4.47, SD.=0.33) และสำหรับผู้เรียนโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( =3.86, SD.=0.78)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ:
กระทรวงศึกษาธิการ.
ชุติมา วงษ์พระลับ. (2563). การประชุมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน รายวิชาภาษาอังกฤษ
โรงเรียนสาธิต ระดับมัธยมศึกษา. ขอนแก่น.
ธนภัทร มีนาและคณะ. (2561). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสาร
การศึกษา (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2555) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยธนบุรี 12(27): 24-36.
ปองทิพย์ เทพอารีย์. (2561). การประเมินหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ฉบับ
ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ 11(1): 1868-1882.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ:
เจริญผล.
รุ่งนภา พรมปั๋น. (2554). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถม
ศึกษาโรงเรียนเทศบาลวัดท่าสะต๋อย เทศบาลนครเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนครเชียงใหม่.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2543). กระบวนทัศน์ใหม่การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคล. กรุงเทพฯ:
เอสอาร์พริ้นติ้ง.
สมหวัง พิธิยานุวัฒน์. (2544). วิธีวิทยาการประเมินทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สิทธิพล อาจอินทร์. (2561). การพัฒนาหลักสูตร (Curriculum Development). พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น:
โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรรถพล ศิริมูล และสุนทรพจน์ ดํารงค์พานิช. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้การประเมินหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏลําปาง ตามรูปแบบของ Hammond. วารสารครุศาสตร์
อุตสาหกรรม 15(3): 29-36.
Hammond, R. L. (1972). Evaluation at the Local Level. In P.A. Taylor and D.M. Cowley,
Readings in Curriculum Evaluation. Dubugne, Lowa: W.M.C. Brown. Company
Publishers.
Rossi, P. H. & Freeman, H. E. (1982). Evaluation: A Systematic Approach. Beverly Hills, California:
Sage Publication.
Tyler, R. W. (1950). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of
Chicago Press.