การพัฒนาทักษะชีวิตด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษา หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ที่พักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย

Main Article Content

ภีราวิชญ์ ชัยมาลา
สิริโฉม พิเชษฐบุญยเกียรติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการดำเนินชีวิตของนักศึกษาและเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของนักศึกษาหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ที่พักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ จำวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสำรวจข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก 3) แบบสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม และ 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และทักษะชีวิต สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติในการวิเคราะห์เชิงพรรณนาวิเคราะห์ (Analytical Description)


ผลการศึกษา พบว่า


1) การวิเคราะห์พฤติกรรมของนักศึกษา พบว่า พฤติกรรมและลักษณะนิสัยของนักศึกษาก่อนที่จะเข้าศึกษาหลักสูตรเตรียมวิศวกรรมศาสตร์ พบว่า พฤติกรรมที่เป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงและพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ วินัยทางการเรียน การจัดการการเงิน และการใช้ชีวิตอย่างมีความรับผิดชอบ สำหรับคุณลักษณะเชิงบวกที่พบ คือ การเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ความมีน้ำใจต่อผู้อื่น และความรู้สึกผูกพันกับเพื่อนและครอบครัว


2) การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของนักศึกษา พบว่า หลังจากนักศึกษาได้เข้าพักในหอพัก นักศึกษามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางบวก ได้แก่ การเคารพซึ่งกันและกัน มีความรับผิดชอบ มีการจัดการการเงินและมีการปรับตัว สำหรับการวิเคราะห์พฤติกรรมนักศึกษาผ่านการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะชีวิตด้วยเทคนิค R-C-A พบว่า นักศึกษาที่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้ในทางบวก โดยสามารถสะท้อนความรู้และประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะทำกิจกรรม แล้วสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งที่เรียนรู้กับประสบการณ์ใหม่ได้ รวมทั้งสามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตที่ดีมีประสิทธิภาพในอนาคตได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaithiranuwattsiri, M. (2000). Dormitories and Student Development in Higher Education. Research report. Nakhon Pathom: Faculty of Social Sciences and Humanities Mahidol University. (in Thai)

Djoko Murdowo. (2017). Student Dormitory as a Character-Based Education in Higher Schools (A Case Study at Telkom University Dormitory – Bandung). International Journal of Humanities and Social Science. 7(12), 108 – 114. (in Thai)

Kongkachuai, S. & Kaewwongsiri, M. (2011). A Study of Students’ Life style at Faculty of

Home Economics Technology. Rajamangala University of Technology Phra Nakhon.

(in Thai)

Office of the National Economic and Social Development. Board Office of the Prime Minister.

(2017). National Strategy 20 Year (2018 - 2037). National Strategy Secretariat Office.

Office of the National Economic and Social Development Board. (in Thai)

Panya, K. (2009). Creating a life skills measurement model for students in Mathayom 6.

Thesis, M.A. Chiang Mai: Chiang Mai University. (in Thai)

Pomsema, C. (2006). Using life Skills Activities to Develop the Self-Concept of Mathayom 3 Students. Independent research. Master of Education Department of Educational Psychology and Guidance, Chiang Mai University. (in Thai)

Supachaiwat, J., et al. (2016). Lifestyle patterns of students at Roi Et Rajabhat University. ICMSIT 2016: International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2016. (in Thai)

Watcharin, K. (2004). Development of A Life skills Measurement Model for Students in Grades 1-3. Kasetsart University: Bangkok. (in Thai)

Wiangchan, N. (2010). A Study of Activities Practiced in Free Time of Dorm Students in Maha Sarakham Province. Master of Arts Thesis. Field of social sciences for development. Faculty of Humanities and Social Sciences. Graduate School: Maha Sarakham Rajabhat University. (in Thai)

Yunu, T. (2012). Living Behavior of Male Students in Prince of Songkla University Dormitories. Pattani Campus. Academic Journal of the Faculty of Humanities and Social Sciences. p. 227 – 248. (in Thai)