การจัดการความรู้และถอดบทเรียนห้องเรียนสาธิตเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย

Main Article Content

สิริโฉม พิเชษฐบุญยเกียรติ
นิวัตร มูลปา
พัชรี ไชยยงค์
ภีราวิชญ์ ชัยมาลา
ปองสุข ศรีชัย
รจนา บุญลพ
สายสมร ติ๊บมา
อำนวย คำบุญ

บทคัดย่อ

             การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้ของบุคลากรห้องเรียนสาธิตเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ และ 2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องเรียนสาธิตเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน ครูพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ดูแลนักศึกษา จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลวิจัย คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient)


ผลการศึกษา พบว่า


            1) ศึกษาระดับการจัดการความรู้ของบุคลากรห้องเรียนสาธิตเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน (  = 4.13) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีระดับการจัดการความรู้อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การบ่งชี้ความรู้ การเรียนรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ และการสร้างและแสวงหาความรู้


            2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องเรียนสาธิตเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย จากระดับการจัดการความรู้ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรที่มีหน้าที่รับผิดชอบห้องเรียนสาธิตเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ภายใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย พบว่า ในภาพรวมของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับมากทุกด้าน (x ̅    = 4.18) โดยเรียงลำดับจากมากที่สุดไปหาน้อย คือ ด้านเวลาของการปฏิบัติงาน ด้านวิธีการ/กระบวนการดำเนินงาน ด้านคุณภาพของการปฏิบัติงาน ด้านปริมาณงาน และด้านต้นทุนของการดำเนินงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Best, John W. (1981). Research in Education. New Jersey: Prentice–Hall.

Butnoi, N. (2011). Factors Affecting Knowledge Management of Lampang Rajabhat

University. (Thesis Master of Education). Sukhothai Thammathirat Open University.

(In Thai)

Intra, C. (2021). The Effects of Knowledge Management in The Office of The Permanent Secretary for Defense. Journal of Development Management Research,

Vol. 11 No. 2 (April-June 2021). (In Thai)

Jansawang, N, (2016). Knowledge Management and Job Performance Efficiency of Staff

from Science Center for Education in North Region under the Office of Non-Formal

and Informal Education. Master of Education Degree Field of Study: Educational

Administration Technology Faculty of Industrial Education. Rajamangala University of

Technology Thanyaburi. (In Thai)

Kongmuang, A. (2023). Knowledge Management Affecting to Staffs Performance of the

Subdistrict Municipality in KhokPho District, Pattani Province. the Degree of Master

of Public Administration Prince of Songkla University. (In Thai)

Hansapiromchoke, P. (2007). Knowledge Management Model Development for

Government Agencies. (Doctor's thesis). Chulalongkorn University. (In Thai)

Nonaka, I., & Takeuchi, H. (1995). The knowledge-creating company. Oxford, NY: Oxford

University Press. (In Thai)

Office of the Secretariat of the Council of Education. (2018). Annual Report 2018. Bangkok.

(In Thai)

Office of Academic Promotion and Registration (2021). A Guide for Graduate Professional

Practitioners using Technology. Rajamangala University of Technology Lanna,

Chiang Mai. (In Thai)

Puntavungkool, J. & Deeya, K. (2020). Knowledge Management in Higher Education

Institutions. Academic and research Journals Northeastern University. Vol. 10

No. 3 (2020): September - December 2020. (In Thai)

Sakonset, S. (2018). Knowledge Management of Office of the National Economic and

Social Development Board. A Thesis Submitted in Partial Fulfillment of the

Requirements for the Degree of Master of Public Administration School of

Management Science. Sukhothai Thammathirat Open University. (In Thai)

Srisa-an, W. (2017). Cooperative Education Innovation 4.0. Retrieved [2017, 27 March.]

From https://www.wu.ac.th/th/news/10869. (In Thai)