การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของจังหวัดเชียงรายสู่เกษตรมูลค่าสูงเชิงสร้างสรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของจังหวัดเชียงรายสู่เกษตรมูลค่าสูงเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง 2) ออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ 3) การพัฒนาช่องทางทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไยอบแห้ง จังหวัดเชียงราย เครื่องมือการวิจัย คือ การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม
ผลการศึกษาพบว่า เอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไยอบแห้ง จังหวัดเชียงราย พบว่าเป็นลำไยพันธุ์อีดอซึ่งเป็นพันธุ์ที่เหมาะกับการอบแห้งมากที่สุด เนื้อสัมผัสดีกว่าสายพันธุ์อื่น ลักษณะมีเนื้อหนา เม็ดเล็ก เนื้อล่อน เมื่ออบแห้งมีสีสวย ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดเชียงราย มีลำไยอบแห้งแบบอบทั้งเปลือก และลำไยอบแห้งแบบคว้านเมล็ด มีเอกลักษณ์เป็นลำไยอบแห้งที่มีลักษณะสีเหลืองทอง มีกลิ่นหอมหวาน เนื้อหนาและชิ้นใหญ่ มีลักษณะแห้งสนิทไม่ติดกันเป็นก้อน รสชาติหวานละมุนไม่หวานแหลม
ด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไยอบแห้ง จังหวัดเชียงราย คณะผู้วิจัยได้ออกแบบฉลากผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง ที่ประกอบด้วยรายละเอียดที่แสดงความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งจังหวัดเชียงราย สีฉลากใช้สีทองออกส้มอิฐ เนื่องจากการผสมผสานระหว่างสีของลำไยอบแห้งกับสีดอกพวงแสด ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย มีการกล่องบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้ง และกระบอกบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งแบบใส เมื่อบรรจุแล้วมองเห็นผลิตภัณฑ์ภายในได้ชัดเจน
การพัฒนาช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไยอบแห้ง จังหวัดเชียงราย โดยใช้การตลาดออนไลน์เป็นสื่อกลางประชาสัมพันธ์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักผลิตภัณฑ์ลำไยอบแห้งจังหวัดเชียงราย เสริมสร้างช่องทางในการติดต่อระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค และส่งเสริมศักยภาพความเข้มแข็งของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนลำไยอบแห้ง จังหวัดเชียงราย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
รายละเอียดของลิขสิทธ์
References
Chaikaew, N., Saribut, U., Debunmee, Na Chumphae, S., Phuphat, Ph. (2013). The study and development of package design for dried longan of Lamphun Province. Art and Architecture Journal Naresuan University, 3(2): 86-95. (in Thai)
Chiang Rai Provincial Strategic Office. (2020). Chiang Rai Province Development Plan 2018-2022. Strategy Group and Provincial Development Chiang Rai Province. (in Thai)
Daengprok, W., Warasawat, P. (2008). Product Development of Longan-Fortitied Cereal Yoghurt. research report Maejo University. (in Thai)
Isor, A., Choaarong, P., Rattanapiphat, S., Taemasa, R. (2022). Development of distribution channels for OTOP products in the Yala province according to the Royal Initiative Project for Local Development Yala Rajabhat University. research report Yala Rajabhat University. (in Thai)
Land Development Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2023). Appropriate agricultural promotion guidelines according to the Agri-Map proactive agricultural map database, Chiang Rai Province. Land Development Department Ministry of Agriculture and Cooperatives. (in Thai)
Mahatthanachai, B., Mahattanachai Ch. (2023). Development of a digital marketing system to promote marketing of longan products Ban Hong District, Lamphun Province. Journal of Science and Technology Buriram Rajabhat University, 7(1): 79-94. (in Thai)
Pila, W. (2011). The decision-making process for purchasing golden-fleshed dried longans of consumers in Mueang District, Chiang Mai Province. Independent study. Master of Business Administration, Maejo University. (in Thai)