การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วรลักษณ์ วรรณโล
สุชาติ ลี้ตระกูล
วัฒนา ยืนยง
ชูศรี สุวรรณ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก ในจังหวัดเชียงราย (2) การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนของชุมชนที่มีการปฏิบัติที่ดี (3) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก และ (4) การติดตามและประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็กผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็ก พบว่าส่วนใหญ่เป็นบุคคลธรรมดาและเป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร จัดทำบัญชีด้วยตนเอง ผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางบัญชีสำเร็จการศึกษาส่วนใหญ่เป็นสาขาอื่นๆ และไม่เคยเข้ารับการฝึกอบรมการจัดทำบัญชีอยู่ในระดับมาก ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เป็นด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ วิธีปฏิบัติงานและด้านงบประมาณ ตามลำดับ

2. การจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนที่มีการปฏิบัติที่ดี พบว่า ด้านการพัฒนาผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางบัญชี สนับสนุนให้มีการพัฒนาผู้ปฏิบัติหน้าที่ทางบัญชีเข้าร่วมอบรม และให้ได้รับการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น มีการบันทึกรายการ งบการเงินที่จัดทำคืองบทดลองงบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะการเงิน ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ทางบัญชี การบันทึกรายการด้วยมือ ด้านวิธีการปฏิบัติงานมีการบันทึกรายการทางบัญชีทุกวันจัดเรียงเอกสารก่อนบันทึกรายการ มีคู่มือการปฏิบัติงาน รายงานที่ได้ใช้ประโยชน์ในการวางแผนได้ทันเวลาในเรื่องเงินทุนหมุนเวียน การควบคุมดูแลสินค้าคงเหลือและกำหนดราคาขาย

3. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็กโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนพบว่าหลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย หลักการเหตุผล แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ผู้เข้าอบรมมีพัฒนาการเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำบัญชีธุรกิจชุมชนขนาดเล็กสูงขึ้น โดยที่ความพึงพอใจของผู้เข้าอบรมที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.การติดตามและประเมินผลการใช้หลักสูตรฝึกอบรมหลังฝึกอบรม 2 สัปดาห์พบว่า รายงานที่จัดทำสามารถออกแบบและรายงานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนสอดคล้องตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลและกิจการสามารถจัดทำรายงานต่างๆได้อย่างรวดเร็วทันเวลาต่อการใช้ข้อมูล และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลได้อย่างยืดหยุ่น

 

The Development of Small Community Enterprise Training Courseon Accounting by Community Participation in Chiang Rai Province

The research aimed (1) to study the conditions and problems on accounting activities of small community enterprises in Chiang Rai province (2) to study the best practice in accounting of the community enterprises in Chiang Rai province (3) to develop the accounting training course for the small community enterprises by the participation of the community, and (4) to monitor and evaluate the training course by undertaking the community participation.

The results showed that:

1. Conditions and problems of the small community enterprises found thatprovince were individual community business, and majority of the entrepreneurs performed both food products manufacturing and accounting activity by themselves. The accounting staff did not hold the degree in accounting and had never attended any accounting training, in the overall, it was shown at the high level. The aspect holding the highest mean was personnel, while the subsequent aspects were management, working protocol, and budget respectively.

2. The best practices in accounting of the community enterprises were: Development of the accounting staff involved promoting the accounting staff to receive the training and pursue higher education; Documents needed for accounting activities should be provided such as forms for bookkeeping, financial statements showing profit and loss, and statement of financial; Financial equipment included manual bookkeeping; Working protocol involved daily bookkeeping by arranging documents in chronological order, accounting handbook, report for financial and cash flow planning, and inventory control and pricing scheme.

3. The developed accounting training course for small community enterprises by the community participation, foundation concepts in developing the curriculum, objectives, and curriculum structure. The course consisted of 3 learning modules: analyzing transactions, bookkeeping using forms, and reporting. The training covered 12 hours and the handbook was supplied for the use of reference and guidelines in learning activities. Regarding the monitoring and evaluation of the course, the findings indicated that the IOC index (Item-Objective Congruence) was at the high level (0.8-1.0), and the appropriateness degree was reported at the high level. The trial-out of the course also revealed that the participants demonstrated the higher progress in knowledge and understanding of the accounting activity for community enterprise. For the satisfaction of the participants over the training course, it was found that, in the overall, the satisfaction was rated at the very high level.

4. Regarding the monitoring and evaluation of the 2-week training curriculum, the findings showed that the accounting report held accuracy in the design and the reporting pattern which concurred with the needs of the data users. The accounting report was handled quickly and in a timely manner for the data users. The data was also adjustable and flexible to meet the needs of the data users.

Article Details

บท
บทความ