การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ของธุรกิจชุมชน ในจังหวัดเชียงราย

Main Article Content

วรินทรีย์ เยาว์ธานี
สุชาติ ลี้ตระกูล
ทศพล อารีนิจ
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาสภาพและปัญหาการสื่อสารการตลาดของธุรกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย 2.ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย 3.การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย และ 4.การทดลองรูปแบบการสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจชุมชนในจังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างคือ กลุ่มผู้ผลิตสินค้าธุรกิจชุมชนที่ขึ้นทะเบียนต่อสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงราย จำนวน 248 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามและเทคนิคการประชุมกลุ่มย่อย ใช้สถิติพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า

1.สภาพและปัญหาการสื่อสารการตลาดพบว่าการสื่อสารการตลาดที่มีความสำคัญมากที่สุดคือ การขายโดยบุคคล (ผู้ประกอบการขายสินค้าเอง) รองลงมาเป็นการใช้การโฆษณา (ป้ายไวนิล ป้ายโฆษณา ป้ายแขวนหน้าร้าน) การประชาสัมพันธ์ (นามบัตร แผ่นพับ ถุงใส่สินค้า) และการจัดงานแสดงสินค้า (ออกบูทขายตามงานต่างๆ) ปัญหาการสื่อสารการตลาดมี 3 ด้านคือ 1.ปัญหาด้านผู้ประกอบการ 2.ปัญหาด้านข้อมูล และ 3.ปัญหาด้านลูกค้า การดำเนินงานด้านการสื่อสารการตลาดพบว่าประสิทธิภาพด้านความเป็นกันเองของผู้ประกอบการทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจกลับมาซื้อซ้ำและเกิดความน่าเชื่อถือ การออกบูทแสดงสินค้าทำให้เป็นที่รู้จักของลูกค้า และการมีเครือข่ายส่งผลให้จำนวนลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจชุมชนมากที่สุดได้แก่ ปัจจัยด้านการผลิต ปัจจัยด้านผู้นำ และปัจจัยด้านเงินทุน

3.การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ธุรกิจชุมชนประกอบด้วย 1) การขายโดยบุคคล 2) การโฆษณา 3) การประชาสัมพันธ์และ 4) การจัดกิจกรรมทางการตลาด

4.ผลการทดลองด้านการสื่อสารการตลาดพบว่า ระดับประสิทธิภาพการสื่อสารการตลาดของธุรกิจชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับที่มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ 1) ด้านการจัดกิจกรรมทางการตลาดซึ่งพบว่า กิจกรรมที่ลูกค้าชื่นชอบคือกิจกรรมชิมก่อนซื้อ ทำให้ลูกค้าเกิดการตัดสินใจซื้อสินค้า 2) ด้านการขายโดยบุคคลพบว่า เจ้าของสินค้ามีทักษะการสื่อสารที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจง่าย 3) ด้านการโฆษณาพบว่า การใช้โทนสี ตัวอักษร ของป้ายโฆษณา ทำให้มองเห็นได้ชัดเจน และป้ายที่ออกแบบมีความทันสมัยทำให้ลูกค้าชอบและ 4) ด้านการประชาสัมพันธ์ ซึ่งพบว่าตัวมาสคอต (น้องเห็ดหอม) สร้างความประทับใจให้กับลูกค้า

 

The Development of Marketing Communication Model forincreasing the Efficiency of Community Business Implementation in ChiangRai Province

This study aimed to: 1) examine the state and problems of marketing communication of the community business, 2) investigate the factors influencing the community businessimplementation; 3) develop the marketing communication model for community business; and 4) experiment the marketing communication model of the community business in Chiang Rai Province. The sample group included 248 respondents from the community business production group who registered with the Department of Community Development, Chiang Rai Province. The instrumentscomprised a series of questionnaire and focus group. The obtained data were analyzed by percentage, mean and standard deviation. The findings of the study are as follows.

1. On the state and problems of the marketing communication of the community business in Chiang Rai Province, it appeared that personal selling(entrepreneurs sell the products by themselves), using advertisement (bill-board, ad-board, and shop hanging sign), public relations (business card, brochure, and goods bag), and product exhibition (product booth stand) were ranked from higher to lower respectively. On the problems of marketing communication, it appeared that the most found included entrepreneur problem, information sources problem, and customer problem. On the marketing communicationimplementation, it appeared that the following aspects boostedthe efficiency. These included entrepreneurs’ good relationship manner that impressed the customersto return and trust, booth stand exhibition to familiarize the customers, and increasing networking.

2. The factors mostly influencing the community business implementation included : production, leadership, and financial capital.

3. On the development of marketing communication model forincreasing the efficiency, the obtained data were analyzed and formed the models. These models included: 1) individual selling, 2) advertisement, 3) public-relations, and 4) marketing activity presentation.

4. The results from the experiment on the efficiency of marketing communication implementation overall appeared at a high level. When considering in each aspect, it was found that: 1) event marketing was ranked on top in which the most favorite activities for the customers to make decision to buy the product, for example, “taste before buy” activity, while 2) personal selling in which the product owners have effective communication skills in assisting customers to understand the product easily, 3) advertising in which the use of colors to updated the features and to assist the viewers to see the ad-board clearly, and 4) public relations in which the mascot (NongHed-Hom (fragrant mushroom mascot)) impressed the customers.

Article Details

บท
บทความ