ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรม

Main Article Content

ทวีศักดิ์ ตั้งวัฒนธรรม
พรนภา เตียสุธิกุล
บุญเลิศ ไพรินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรมและ 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการเสริมสร้างคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรมโดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยประชากรที่ศึกษา คือ กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการบริหารงานภาครัฐ จำนวน 6 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจงตามจำนวนโควตาที่กำหนด และใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้

ผลการวิจัย พบว่า

1.องค์ประกอบของคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรม ประกอบด้วย23 ประการคือ 1) ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2) มีความเป็นวิชาชีพนิยม 3) ยึดจรรยาบรรณโดยมุ่งเน้นการกำกับตนเองเป็นหลัก 4) มีศรัทธาในวิชาชีพและศักดิ์ศรีของความเป็นข้าราชการ 5) มีค่านิยมต่อต้านการทุจริตปกป้องและรักษาเกียรติของข้าราชการ 6) มีจิตสาธารณะในการให้บริการประชาชนโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีและความเท่าเทียม การมีส่วนร่วม ความมีน้ำใจ คุณภาพงาน และให้ความช่วยเหลือโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน 7) มีความเป็นผู้นำแบบประชาธิปไตย 8) มีจิตสำนึกพิทักษ์ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ 9) คำนึงถึงประโยชน์ของคนส่วนใหญ่และยึดหลักการปกป้องดูแลประชาชน 10) เป็นแบบอย่างเชิงคุณธรรมและให้คำชี้แนะผู้อื่นได้ 11) มีเมตตาธรรมกับประชาชน และผู้ใต้บังคับบัญชา 12) ส่งเสริมความร่วมมือและความสามัคคีมีการสร้างทีมงานและมีความคิดสร้างสรรค์ 13) มีความรู้ความสามารถ ความชำนาญ ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และเสนอแนะแนวทางที่ถูกต้องในการแก้ปัญหา 14) มีความเที่ยงธรรม ยึดถือข้อเท็จจริงและเด็ดเดี่ยวในการตัดสินใจ 15) รู้บทบาทและหน้าที่ในการทำงานมีวุฒิภาวะ 16) มีจิตสำนึกยับยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้องมีความตระหนักในผลของการกระทำอยู่เสมอและไม่แสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ทั้งในทางตรงและทางอ้อม 17) มีคุณธรรมซื่อสัตย์สุจริต 18) มีความยุติธรรม 19) มีความรับผิดชอบและเสียสละ 20) มีวิสัยทัศน์และมีการวางแผน 21) ยึดหลักความโปร่งใสและตรวจสอบได้ 22) ยึดหลักการและมีความแน่วแน่ทำในสิ่งที่ถูกต้อง 23) ยึดหลักนิติธรรม

2.ปัจจัยที่มีผลต่อคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรมประกอบด้วย 16 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสร้างความเข้าใจและการตระหนักรู้ในจรรยาบรรณวิชาชีพ 2) การยึดถือจรรยาบรรณวิชาชีพที่มุ่งเน้นการกำกับตนเอง 3) การฝึกอบรมด้านจริยธรรม 4) การตรวจสอบทางจริยธรรม โดยสำรวจระดับธรรมาภิบาลของส่วนราชการต่างๆ อยู่เสมอ 5) มีคณะกรรมการจริยธรรมคอยกำกับดูแล 6) มีผู้นำเชิงจริยธรรมในการขับเคลื่อนจริยธรรมของหน่วยงานและเป็นแบบอย่างแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 7) มีระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นระบบคุณธรรมและจริยธรรม8)การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นจริยธรรม 9) ความเข้มแข็งและอำนาจการตรวจสอบของภาคประชาชนบทบาทของเครือข่ายภาคประชาชนในการแจ้งเบาะแสการรายงานการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่รัฐ 10) มีระบบการควบคุม ตรวจสอบ และลงโทษผู้กระทำการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ 11) บทบาทของสื่อสารมวลชนในการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ 12) มีหน่วยงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ 13) มีข้อกำหนดในหลักการวิชาชีพเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริต 14) ส่งเสริมการยึดถือค่านิยมที่ถูกต้อง การพัฒนา มาตรฐานจริยธรรมและการให้บริการในระดับสากล โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อยู่เสมอ 15) กระบวนการขัดเกลาทางสังคมเสริมสร้างจิตสำนึกที่ดีตั้งแต่ในวัยเด็ก 16) สถาบันศาสนา

3. แนวทางในการเสริมสร้างคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรมได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐควรเร่งสร้างความเข้าใจ การตระหนักรู้ในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน รวมถึงประมวลจริยธรรมของหน่วยงาน 2) ส่งเสริม ผลักดันให้เจ้าหน้าที่มีจิตสำนึกและยึดถือมาตรฐานจรรยาวิชาชีพอย่างจริงจัง 3) ควรเร่งปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง พัฒนาและยกระดับจิตใจให้มีคุณธรรมและจริยธรรมในระดับสูง มีวินัยกำกับตนเอง เพื่อครองตนในจรรยาวิชาชีพอย่างมั่นคง 4) มุ่งเน้นการฝึกอบรมด้านคุณธรรมจริยธรรมเพื่อสร้างภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในข้าราชการทุกระดับ 5) เสริมสร้างและสนับสนุนระบบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มุ่งเน้นจริยธรรมและระบบคุณธรรมภายในหน่วยงาน 6) รณรงค์เผยแพร่/ประชาสัมพันธ์ให้เกิดการตระหนักรู้ถึงพฤติกรรมที่แสดงให้เห็นถึงการมีคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในหน่วยงานภาครัฐ 7) ควรมีแผนงานบูรณาการการทำงานร่วมกันเชิงเครือข่ายของทุกภาคส่วนเพื่อเสริมศักยภาพในการขับเคลื่อนคุณธรรมและจริยธรรมของข้าราชการให้เกิดประสิทธิผล

 

The objectives of this research are: 1) to study the component of desirable characteristics of Civil Servant in Ethical Standard, Factors Affecting Desirable Characteristics of Civil Servant in Ethical Standard and to study the supporting Guidelines ofDesirable Characteristics of Civil Servant in Ethical Standard. This study was conducted by using Qualitative Research. The Population arethe group of public administration advisory who are full of knowledge, expertise and experience. The Sampling are selected by purposive samplingas quota proportion. Data were collected by Structured Interview Questionnaire and Using Content Analysis Technic for Analyzing data.

The research finding of the study are as follows

1. The Component of desirable characteristics of Civil Servant in Ethical Standard have twenty three principles: 1) Holding Sufficiency Economy Philosophy 2) Professionalism 3) HoldingProfessional Morality by Self-Discipline4)Having Faithin Profession and Dignity of Civil Servant 5) Having Anti CorruptionValue,Protecting of Civil Servant Dignity 6) HavingPublic Consciencewith regarding to people dignity, equity, participation, spirit, job quality, and helping people without regarding to benefit return 7) Democratic Leadership 8) Conscious of Protection King Institution 9)Regarding to Public Interest 10) To be Role Model and Give Advices to people 11) Having Mercy for people and subordinate 12) Supporting to Coorperativeness, Concord, Team Building, Creative 13) Having Knowledge, Competence, Expertise and could be work under standard criteria and advising correct guideline for solutions. 14) Impartiality, Objectivity and make decision firmly 15) Realizing Role and Duty of Working and having maturity 16) Self Conscious for Control misconduct 17) Moral and Honesty 18) Justice 19) Responsibility and Sacrifice 20) Vision and Planning 21) Holding Transparency and Accountability 22) Ideology and make the right thing firmly 23) Rule of Law

2. Factors Affecting Desirable Characteristics of Civil Servant in Ethical Standard: To create a common understanding and awareness in code of conduct 2) Holding and Realizing Code of Conduct by Self-Discipline 3) Ethical Training 4) Ethics Audit 5) Ethics Committee 6) Moral Leader 7) Human Resource Management focus on Ethics 8) Supporting Organization culture focus on Ethics 9) Power and Strength of People Accountability Sectors 10) The Efficiency System of Control ,Accountability and Punishment 11) Role of the media for protect Public Interest 12) The Efficiency Agency for Preventive and Deterrence Corruption 13) Professional Principle for Corruption Prevention 14) To Promotion of holding Ethical Values, Development of Ethical Standard and Public Service move forward to InternationalStandard including dissemination 15) Socialization for supporting Public Conscience and should be begin to childhood Stage 16) Religious Institution.

3. The Supporting Guidelines for Desirable Characteristics of Civil Servant in Ethical Standard: 1) Public Agency should create a Common Understanding and Awareness to Code of Conduct for Civil Servant and Individual Agency. 2) Promoting and Pushing of Public Conscience and holding on Code of Conduct for Public Official. 3) Cultivating the Integrity Values, Mental Development for Increasing high ethical and result in making self-discipline, Protect corruption Problem. 4) Focus on Ethical Training for making Moral Leader in all civil servant levels. 5) Promoting and Supporting Human Resource Management Systemfocus on Ethics and Merit 6) Campaign and Public Relation for making Realizing of Integrity and Good Governance behavior 7) Having Integrated Plan of Social Networking for add competence of driving civil servant ethics effected. Key Words :Ethical Standard Factor, The Desirable Characteristics of Civil Servant

Article Details

บท
บทความ