ยุทธศาสตร์การส่งออกข้าวของประเทศไทยสู่อาเซียน

Main Article Content

ดิศวรบุตร เหล่าสุนทร
รณิดา ปิงเมือง
วรรณะ รัตนพงษ์
นาวิน พรมใจสา

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านการส่งออกข้าวของประเทศไทยไปสู่อาเซียนในปัจจุบัน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการส่งออกข้าวของประเทศไทยสู่อาเซียน และกำหนดข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการส่งออกข้าวของประเทศไทยสู่อาเซียน ประชากร คือ ข้าราชการจากกรมการข้าว กรมการค้าต่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย รวมจำนวน 12 ท่าน และ ตัวแทนจากบริษัทเอกชนผู้ส่งออกข้าวไทยไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน จำนวน 80 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ส่วนการวิเคราะห์เนื้อหารวบรวมได้จากข้อมูลเอกสาร และการสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ SWOT

ผลการวิจัยสถานการณ์ข้าวพบว่า ด้านปัจจัยภายนอกประเทศนั้นประเทศผู้ส่งออกข้าวในอาเซียนส่วนใหญ่ไม่มีมาตรการการกีดกันการนำเข้าข้าว ส่วนประเทศนำเข้าข้าวมีมาตรการกีดกันการนำเข้าข้าวทั้งในรูปของภาษี และมาตรการที่มิใช่ภาษี แม้ว่าเดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 เริ่มเปิดประชาคมอาเซียน แต่บางประเทศก็ยังไม่ลดภาษีการค้าข้าวเป็นศูนย์ หรือมีมาตรการที่มิใช่ภาษีมาใช้กับการนำเข้าส่งออกข้าว เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมเกษตรภายในประเทศ ด้านปัจจัยภายในประเทศ พบว่า การเสริมศักยภาพการส่งออกข้าวของไทยควรปรับปรุง ระบบชลประทาน คุณภาพดิน และการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรอย่างจริงจัง เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวของไทยให้สามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้สูงขึ้น

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการส่งออกข้าวของประเทศไทยสู่อาเซียน ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ การต่างประเทศ โรงงาน และ การเงิน โดยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระในกลุ่มปัจจัยต่างๆทั้ง 9 ด้านมีความสัมพันธ์ต่อการส่งออกข้าวของประเทศไทยสู่อาเซียน กับตัวแปรตาม ผลสัมฤทธิ์ของการส่งออกข้าว พบว่ามีตัวแปรอิสระ ที่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของการส่งออกข้าวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกทั้งหมด ประกอบด้วย การเมือง, เศรษฐกิจ, การต่างประเทศ, โรงงาน และ การเงิน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .461 .424 .469 .466 และ .451 ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ด้านการส่งออกของประเทศไทยสู่อาเซียน คือ

1. ประเทศที่มีมาตรการการกีดกันทางการค้าควรสร้างความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศผู้นำเข้า นำเสนอข้าวพิเศษของไทย และจัดกิจกรรมกระตุ้นการตลาดอย่างต่อเนื่องในประเทศผู้นำเข้า ส่วนประเทศที่ไม่มีมาตรการการกีดกันการค้าควรเข้าไปทำตลาดให้มากขึ้น

2. ข้าวขาวควรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มปริมาณการผลิตและคุณภาพของข้าว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยเน้นการสร้างตราสินค้า และสร้างสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภค และลดการปลอมปนของข้าว ข้าวหอมปทุมควรมีการประชาสัมพันธ์ และ ทำการตลาดเพื่อแข่งขันกับข้าวหอมเวียดนาม และข้าวพิเศษอื่นๆควรประชาสัมพันธ์ และทำการตลาดในประเทศผู้นำเข้าข้าวอย่างต่อเนื่อง

 

Strategy of Thailand's Rice Exports to ASEAN

The objectives of this study were: 1) to investigate the current situation of exporting Thai rice to ASEAN; 2) to examine the factors relation the export of Thai rice to ASEAN; and 3) to formulate strategic recommendations involving the export of Thai rice to ASEAN. The population were 12 Thai Rice Exporters Association and government officials from Rice Department of Thailand, Department of Foreign Trade, Department of International Trade Promotion, Department of Trade Negotiations, and 80 representatives from the companies dealing with exporting Thai rice to ASEAN. Data collection and analysis involved documentary analysis, interview, SWOT Analysis, and questionnaire. Statistical analysis was percentage, mean, standard deviation, and correlation analysis.

The findings showed that: Countries exporting rice in ASEAN showed no countermeasures for rice import; however, countries importing rice showed various forms of the countermeasures for rice import including tax and non-tax measures. Potentiality enhancement of Thai rice export should focus on fixing the issues involving irrigation system, quality of soil, and strongly empowering the knowledge for the farmers in order to strengthen the potentiality in rice production of Thailand and maintain the competitive advantages against the global competition. In the meantime, ASEAN countries are approaching the full-mode of integration by the December 2015, but many ASEAN countries still do not implement zero tax policy or employ other non-tax measures for rice trading to protect the agricultural industry of the country.

The factors relation Thai rice export to ASEAN country were politics, economics, foreign affairs, factory, and financial.

Recommendations for application of the findings were:

1. Countries holding the countermeasures in trading should build good ambassador relationship with the importing countries, offer special types of Thai rice, and run the marketing campaign in the importing countries to stimulate the market consistently. While in countries without the countermeasures, there should be more implementation of marketing activities by means of offering special types of Thai rice and expanding the branch offices in the importing countries for marketing purpose and approaching variety of the target groups. Marketing campaign should also be organized consistently to trigger the needs of the consumers.

2. The white rice should reduce the cost of manufacturing and increase the volume of production as well as the quality. The Mali brand focused on brand creation and confidence of the consumers on eliminating rice contamination. Khao Hom Pathum should increase the public relations and boost the marketing activity to compete against Khao Hom Vietnam. The other special types of rice should concentrate on public relations and employ consistent marketing activities in the rice importing countries.

Article Details

บท
บทความ