เกี่ยวกับวารสาร
วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์: จัดทำโดย คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ISSN: 3056-946X (Print) 3056-9524 (Online)
กำหนดออกเผยแพร่: 2 ฉบับ / ปี (ฉบับที่1 มกราคม-มิถุนายน และ ฉบับที่2 กรกฎาคม-ธันวาคม)
ขอบเขตของเนื้อหา: บทความวิจัยและบทความวิชาการทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ได้แก่ สาขาจิตวิทยา สังคมวิทยา มานุษยวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และสาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์:
1) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษา และผู้ที่สนใจทั่วไป ได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงานทางวิชาการและผลงานวิจัย
2) เป็นแหล่งในการเสนอผลงานรวมทั้ง แลกเปลี่ยนข่าวสารข้อมูล ความคิดเห็นทางวิชาการและวิจัย อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาและการวิจัยในสาขาสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์
ประเภทบทความที่เปิดรับ: 1) บทความวิจัย 2) บทความวิชาการ 3) บทความพิเศษ และ 4) บทแนะนำหนังสือและบทวิจารณ์หนังสือ
ภาษา: 1) ภาษาไทย และ 2) ภาษาอังกฤษ
กระบวนการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ: บทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-review) 3 ท่าน ตามเกณฑ์ที่กำหนดในลักษณะปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-blind peer review) โดยบทความจำเป็นต้องผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ใน 3 ท่าน จึงถือได้ว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินการตีพิมพ์บทความ และจำเป็นต้องปรับแก้บทความตามข้อคิดเห็นของทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและกองบกฯ จนกว่าบทความเสร็จสมบูรณ์ ทางกองบกฯ จึงดำเนินการออกใบตอบรับการตีพิมพ์และนำบทความเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์วารสารฯ
*ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์*
ผู้สนับสนุน:
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เว็บไซต์คณะสังคมศาสตร์)
หมายเหตุ
*กองบรรณาธิการทรงไว้ซึ่งสิทธิในการพิจารณาและตัดสินการลงตีพิมพ์ในวารสาร
**ทัศนะและข้อคิดเห็นดังปรากฎในบทความต่างๆของวารสารฉบับนี้เป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ ผู้ประสงค์จะนำข้อความจากบทความไปเผยแพร่ต่อ ต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียน.
ที่อยู่:
คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
แขวงลาดยาว เขตจตุจักร
กรุงเทพมหานคร 10900
โทรศัพท์ 0-2561-3480 ต่อ 223,0-2561-3484 โทรสาร 0-2561-2738,0-2942-8430
............................................................................................................................................................................................................................................................
ข้อควรทราบ: หลักจริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวารสารฯ
ส่วนที่หนึ่ง หลักจริยรรมของกองบรรณาธิการวารสารฯ
1) กองบรรณาธิการต้องพิจารณาและตรวจสอบทุกบทความที่ส่งมาเพื่อเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์กับทางวารสารฯ โดยพิจารณาเนื้อหาบทความที่สอดคล้องกับเป้าหมายและขอบเขตของวารสาร รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพบทความในกระบวนการประเมินและคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
2) กองบรรณาธิการต้องตรวจสอบบทความในด้านความซ้ำซ้อนหรือในด้านการคัดลอกผลงานวิชาการ (Plagiarism) หากตรวจสอบพบความซ้ำซ้อนหรือการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ บรรณาธิการต้องหยุดกระบวนการประเมิน และติดต่อผู้นิพนธ์หลักทันทีเพื่อขอคำชี้แจง เพื่อประกอบการ “ตอบรับ” หรือ “ปฏิเสธ” การตีพิมพ์บทความนั้น ๆ
3) กองบรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความทุกครั้ง โดยปราศจากอคติที่มีต่อบทความและผู้นิพนธ์ในด้านเชื้อชาติ เพศ ศาสนา วัฒนธรรม การเมือง และสังกัดของผู้นิพนธ์
4) กองบรรณาธิการต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความหรือผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ไม่นำบทความหรือวารสารไปใช้ประโยชน์ในเชิงธุรกิจหรือนำไปเป็นผลงานทางวิชาการของตนเอง
5) กองบรรณาธิการต้องไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาบทความและผลประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ รวมถึงไม่ปิดกั้นหรือแทรกแซงข้อมูลที่ใช้แลกเปลี่ยนระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์
6) กองบรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
7) กองบรรณาธิการต้องรักษามาตรฐานของวารสารฯ รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่สม่ำเสมอ
8) กองบรรณาธิการต้องเก็บข้อมูลทั้งตัวผู้เขียนบทความและผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความไว้เป็นความลับ ตามหลักมาตรฐานการปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-blind peer review)
ส่วนที่ 2 หลักจริยธรรมของผู้เขียนบทความ
1) ผลงานของผู้เขียนบทความต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน รวมถึงไม่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใด
2) ผู้เขียนบทความต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น (Plagiarism) และต้องมีการอ้างอิงทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมานำเสนอหรืออ้างอิงในเนื้อหาบทความของตนเอง
3) หากผลงานทางวิชาการของผู้เขียนบทความเกี่ยวข้องกับการใช้สัตว์ ผู้เข้าร่วม หรืออาสาสมัคร ผู้เขียนบทความจำเป็นต้องตรวจสอบให้แน่ชัดว่าได้ดำเนินการตามหลักจริยธรรมการวิจัย ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมถึงต้องได้รับความยินยอมก่อนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลทุกครั้ง
4) ผู้เขียนบทความต้องปฏิบัติตามหลักและข้อปฏิบัติของทางวารสารฯ อย่างเคร่งครัด
5) ชื่อเขียนบทความและสังกัดที่มีการระบุอย่างชัดเจนในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในผลงานวิชาการนี้จริง
ส่วนที่ 3 หลักจริยธรรมของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพบทความเป็นหลัก พิจารณาบทความภายใต้หลักการและเหตุผลทางวิชาการโดยปราศจากอคติหรือความคิดเห็นส่วนตัว และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียนบทความ
2) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากผลงานทางวิชาการที่ตนเองได้ทำการประเมิน
3) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องตระหนักว่าตนเองมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของผลงานวิชาการที่รับประเมินอย่างแท้จริง
4) หากผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความตรวจสอบพบว่าบทความที่รับประเมิน เป็นบทความที่คัดลอกผลงานชิ้นอื่น ๆ (Plagiarism) ผู้ทรงคุณวุฒิต้องแจ้งให้กองบรรณาธิการทราบทันที
5) ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความต้องรักษาระยะเวลาประเมินตามกรอบเวลาประเมินที่กำหนด รวมถึงไม่เปิดเผยข้อมูลของบทความให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับรู้
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง: ประยุกต์จากวารสารธรรมศาสตร์ ที่มา: หลักจริยธรรมในการตีพิมพ์ วารสารธรรมศาสตร์ )
............................................................................................................................................................................................................................................................