การส่งบทความ
เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
โครงสร้างของบทความประกอบด้วย
1. หลักเกณฑ์ทั่วไป
1.1 บทความที่จะเสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต้องเป็นบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย หรือผลงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับสาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ไม่เคยตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
1.2 บทความจะได้รับการตีพิมพ์ เมื่อผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการ (ยกเว้นบทความพิเศษ)
1.3 ผู้เขียนบทความจะต้องแนบผลการตรวจอักขราวิสุทธิ์มาพร้อมกับการส่งต้นฉบับของบทความ เพื่อประกอบการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และกองบรรณาธิการ -
2. การเตรียมต้นฉบับ
กองบรรณาธิการจะรับพิจารณากลั่นกรองเฉพาะต้นฉบับที่เป็นไปตามข้อกำหนดดังต่อไปนี้
2.1 ต้นฉบับ เป็นต้นฉบับพิมพ์ใช้ภาษาไทยอย่างเดียว หรือภาษาอังกฤษอย่างเดียว ภาษาที่ใช้ควรถูกต้องตามหลักภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่กั้นหลังตัวอักษร ความยาวไม่เกิน 15 หน้า A4 ระบุเลขหน้าให้ชัดเจนบริเวณด้านบนขวาของหน้ากระดาษ
- บทความภาษาไทยใช้ตัวอักษร TH SarabanPSK ขนาด 16
- บทความภาษาอังกฤษใช้ตัวอักษร TH SarabanPSK ขนาด 16
*ให้ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ข้อ 4 รูปแบบการพิมพ์
2.2 ชื่อเรื่อง ควรกระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง
2.3 ชื่อผู้เขียน ใช้ชื่อเต็ม ไม่ต้อง ระบุคำนำหน้า หรือ ตำแหน่งทางวิชาการ
2.4 สถานที่ทำงานของผู้เขียน ระบุจังหวัดและรหัสไปรษณีย์ ระบุสถานที่ทำงานของผู้เขียนที่สามารถติดต่อได้สะดวก
2.5 บทคัดย่อ ให้ทำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยสรุปสาระสำคัญของบทความอย่างครบถ้วน โดยมีเนื้อหาหลักประกอบด้วย วัตถุประสงค์ของการวิขัย วิธีการวิจัย ผลการวิจัยที่ตอบตรงตามวัตถุประสงค์ และมีความยาวไม่เกิน 300 คำ ระบุคำสำคัญ (Keyword) จำนวนไม่เกิน 5 คำ
2.6 เนื้อหา การนำเสนอเนื้อหางานวิจัย ควรสอดคล้องกับกระบวนทัศน์การวิจัยและครอบคลุมดังนี้
บทนำ : อธิบายความสำคัญของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการวิจัย สมมติฐาน(ถ้ามี) หรือคำถามการวิจัย อาจรวมถึงการตรวจเอกสารไว้ในการอธิบายความสำคัญของปัญหา
การตรวจเอกสาร : เป็นการสังเคราะห์สาระจากวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงแนวความคิด ทฤษฎี และข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับเรื่องที่วิจัย และสรุปออกมาเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย
วิธีดำเนินการวิจัย : ระบุวิธีการเก็บข้อมูลและวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล รวมไปถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ปี พ.ศ.ที่ทำการวิจัย
ผลของการวิจัย : แสดงผลของการวิจัยและข้อมูลต่างๆที่ได้จากการศึกษาวิจัยนั้นๆ อาจมีภาพตารางและแผนภูมิประกอบ ทั้งนี้อาจวิจารณ์ผลการวิจัยด้วยแนวคิดที่ได้จากการตรวจเอกสารได้
บทสรุป วิจารณ์ และข้อเสนอแนะ : เป็นการสรุปผลที่ได้รับจากการวิจัยที่ตอบตรงตามวัตถุประสงค์ทางการวิจัย รวมถึงการอภิปรายผลด้วยแนวคิดที่ได้จากการตรวจเอกสาร และให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลงานวิจัย
2.7 ภาพประกอบและตาราง ควรมีเฉพาะที่จำเป็น และมีหมายเลขกำกับภาพตามลำดับ ภาพจะต้องชัดเจนแสดงเนื้อหาสำคัญของเรื่อง ควรเป็นภาพที่สื่อความหมายได้ เมื่อพิมพ์เป็นขาว-ดำ คำอธิบายภาพประกอบและตารางให้ใช้ข้อความกะทัดรัด ชัดเจน
2.8 การอ้างอิงและบรรณานุกรม การอ้างอิงในเนื้อหาและบรรณานุกรมท้ายบทความทุกรายการ จะต้องตรงกัน โดยอ้างอิงเฉพาะส่วนที่มีความสัมพันธ์โดยตรง วิธีการเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรมจะต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการเขียนอ้างอิงตามที่กำหนด จะต้องมีรายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับเอกสารไว้ครบถ้วน เพื่อความสะดวกในการติดตามเอกสารที่ผู้เขียนได้อ้างอิงไว้
*การอ้างอิงในเนื้อหาควรใช้รูปแบบเดียวกันโดยสม่ำเสมอ โดยใช้ระบบนามปี
2.8.1 การเรียงลำดับเอกสาร เรียงตามลำดับอักษรชื่อผู้เขียนโดยไม่ต้องมีเลขกำกับ เริ่มด้วยรายชื่อเอกสารภาษาไทย และต่อด้วยรายชื่อเอกสารภาษาต่างประเทศ ใช้คำว่า บรรณานุกรม
2.8.2 บรรณานุกรมที่เป็นภาษาไทย ชื่อผู้เขียนใช้ชื่อเต็ม-นามสกุล และให้แปลบรรณานุกรม
จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษเพิ่มเติมต่อท้ายในหัวข้อ TRANSLATED THAI REFERENCES
โดยเขียนแบบเดียวกับข้อ 2.8.3 และ 2.8.4
*ดูตัวอย่างในข้อที่ 5 การแปลบรรณานุกรมจากภาษาไทยเป็นอังกฤษ
2.8.3 บรรณานุกรมที่เป็นภาษาต่างประเทศ ชื่อผู้เขียนให้อ้างนามสกุลก่อน โดยเขียนเป็นคำเต็มและตามด้วยชื่ออื่นๆ ซึ่งย่อเฉพาะอักษรตัวแรกในกรณีชื่อที่มีคำขึ้นต้น ด้วยคำว่า Van de, der, von ให้เขียนเติมนำหน้าชื่อสกุล
2.8.4 การอ้างอิงและบรรณานุกรมที่เป็นภาษาต่างประเทศ ใช้รูปแบบ APA style (American Psychological Association) ซึ่งผู้เขียนสามารถเลือกใช้ APA Sixth Edition ได้จาก Reference ใน Microsoft Word 2007 หรือสูงกว่า
2.9 ข้อเสนอแนะในการใช้ภาษา
2.9.1 ใช้ภาษาที่ถูกต้อง เข้าใจง่ายและกะทัดรัด
2.9.2 ใช้คำศัพท์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานและประกาศของราชบัณฑิตยสถาน
2.9.3 การใช้ศัพท์บัญญัติทางวิชาการ ควรใช้ควบคู่กับศัพท์ภาษาอังกฤษ
2.9.4 การเขียนชื่อเฉพาะหรือคำแปลจากภาษาต่างประเทศที่ปรากฏเป็นครั้งแรกในบทความ หากจำเป็นก็ควรพิมพ์ภาษาเดิมของชื่อนั้นๆกำกับไว้ในวงเล็บ เช่น ไทรบุรี (Kedah) เคปเวอร์ด (Cape Verde) เป็นต้น
2.9.5 ไม่ควรใช้ภาษาต่างประเทศในกรณีที่มีคำไทยใช้แพร่หลายอยู่แล้ว
2.9.6 รักษาความสม่ำเสมอในการใช้คำศัพท์การใช้ตัวย่อโดยตลอดทั้งบทความ
2.9.7 การตรวจแก้ไขต้นฉบับ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ตรวจแก้ไขต้นฉบับที่ส่งมาพิมพ์ทุกเรื่องตามแต่จะเห็นสมควร ในกรณีที่จำเป็นจะส่งต้นฉบับเดิมหรือฉบับที่แก้ไขแล้วกลับคืนมายังผู้เขียนเพื่อขอความเห็นชอบ
2.9.8 ระยะเวลาในการดำเนินงาน กองบรรณาธิการจะดำเนินการตั้งแต่รับเรื่องจนถึงพร้อมตีพิมพ์ ใช้เวลาประมาณ 3 เดือน (ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ผู้เขียนใช้ในการแก้ไขตามข้อคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิด้วย) -
3. เงื่อนไขการตีพิมพ์
3.1 ผลงาน หรือ บทความวิชาการที่จะเสนอเพื่อตีพิมพ์ต้องเป็นผลงานที่ไม่เคยลงตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน (ยกเว้นเป็นการรวบรวมผลงานที่ได้เสนอในการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตร ศาสตร์) และจะไม่ส่งผลงานนี้เพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นระหว่างพิจารณา
3.2 ผู้เสนอบทความต้องดำเนินการแก้ไข หรือปรับปรุงผลงานตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งคืนกองบรรณาธิการวารสารภายในเวลาที่กำหนด หากผู้เสนอไม่ดำเนินการหรือดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือต้องการยกเลิกการตีพิมพ์บทความ ต้องทำหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรต่อบรรณาธิการวารสารฯ
3.3 กองบรรณาธิการฯจะไม่คืนต้นฉบับและแผ่นบันทึกข้อมูลให้แก่เจ้าของบทความ -
4. รูปแบบการจัดพิมพ์ มีการกำหนดรูปแบบการพิมพ์ ดังนี้ (โปรดดูในตาราง)
4.1 บทความภาษาไทย ให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK
4.2 บทความภาษาอังกฤษ ให้ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK
รายการ ลักษณะตัวอักษร รูปแบบการพิมพ์ ขนาดตัวอักษร
ชื่อบทความ เน้น กลางหน้ากระดาษ 18
ชื่อผู้แต่ง เอน ชิดขวา 16
บทคัดย่อ เน้น กลางหน้ากระดาษ 18
หัวข้อแบ่งตอน เน้น ชิดซ้าย 18
หัวข้อย่อย เน้น ใช้หมายเลขกำกับ 16
บทความ ปกติ ไม่มี 16
การเน้นความในบทความ เน้น ไม่มี 16
ข้อความในตาราง ปกติ ไม่มี 14
ข้อความอ้างอิง เอน ไม่มี 14
เอกสารอ้างอิง เน้น กลางหน้ากระดาษ 20
4.3 การจัดพิมพ์ กำหนดระยะขอบกระดาษ ดังนี้
ด้านบน 1.5 นิ้ว (3.81 เซนติเมตร)
ด้านล่าง 1.5 นิ้ว (3.81 เซนติเมตร)
ด้านซ้าย 2.0 นิ้ว (5.08 เซนติเมตร)
ด้านขวา 1.0 นิ้ว (2.54 เซนติเมตร) -
5. การส่งบทความเพื่อตีพิมพ์
ส่งทางเว็บไซต์ (website) : https://www.tci-thaijo.org/index.php/socku
หรือทางเพจเฟสบุ๊ค (facebook) : Journal of Social Sciences and Humanities
หรือทางอีเมล์ (email) : sockujournal@gmail.com -
การติดต่อสอบถาม
เพื่อการเข้าถึงเรื่องที่ท่านติดต่ออย่างรวดเร็วและไม่ซ้ำซ้อน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ โดยแยกเป็น
ประเภทไว้ดังนี้
6.1 ติดต่อขอส่งบทความเพื่อรับการพิจารณา สอบถามและขอรับหลักเกณฑ์
คุณนันท์นภัส อุดมละมุล (ผู้จัดการวารสารฯ)
โทร. 0 2561 3480 ต่อ 269, sockujournal@gmail.com
กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ห้องปฏิบัติการวิจัยและบริการวิชาการ อาคาร 4 ชั้น 7 คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
6.2 ติดต่อรับ-ส่งบทความเพื่อแก้ไข ติดตามงานระหว่างแก้ไข รับจดหมายยืนยันการตีพิมพ์
คุณนันท์นภัส อุดมละมุล (ผู้จัดการวารสารฯ)
โทร. 0 2561 3480 ต่อ 223, sockujournal@gmail.com
กองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ห้องปฏิบัติการวิจัยและบริการวิชาการ อาคาร 4 ชั้น 7 คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เลขที่ 50 ถนนงามวงศ์วาน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
6.3 ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ขอรับ / ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการส่งบทความ
เพจเฟสบุ๊ค: Journal of Social Sciences and Humanitie
อีเมล์: (sockujournal@gmail.com) -
ตัวอย่างการอ้างอิงและการเขียนบรรณานุกรม (Reference format) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
https://drive.google.com/file/d/1XydcbEle98IwifSCqD9bifOXX2RL9Ct2/view?usp=sharing